Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61422
Title: การจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี
Other Titles: Crisis management & crisis communication in Thai promoter for Korean artists
Authors: ณัฐศักดิ์ โสภาเจริญ
Advisors: ธาตรี ใต้ฟ้าพูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: ผู้จัดคอนเสิร์ต
การสื่อสารความเสี่ยง
การจัดการภาวะวิกฤต
Concert agents
Risk communication
Crisis management
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ที่มีวัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อ 1) วิเคราะห์และอธิบายกระบวนการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี 2) วิเคราะห์และอธิบายปัจจัยในการสร้างความสำเร็จในการจัดการและการสื่อสารในภาวะของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี โดยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวกับการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลี ประกอบกับการใช้เครื่องมือการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) ศึกษาจากภาวะวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นจริงกับผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลีในประเทศไทย และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ที่ทำการเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ซึ่งแบ่งผู้ให้สัมภาษณ์ออกเป็น 4 กลุ่ม จากการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการจัดการและการสื่อสารในภาวะวิกฤตของผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลีจะถูกแบ่งออกเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.1 ช่วงก่อนการเกิดภาวะวิกฤต ผู้จัดจะเตรียมการป้องกันการเกิดภาวะวิกฤตจากการศึกษาภาวะวิกฤตที่เคยเกิดขึ้นแต่ไม่ได้บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร โดยการสื่อสารระหว่างผู้จัดการแสดงจากศิลปินเกาหลีและกลุ่มเป้าหมายจะเกิดขึ้นบนสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เท่านั้น 1.2 ช่วงการเกิดภาวะวิกฤต ผู้จัดนิยมแก้ไขภาวะวิกฤตด้วย 2 กลยุทธ์ ได้แก่ กลยุทธ์นิ่งเฉย (Refuse) และกลยุทธ์ในการขอโทษ ชี้แจง รวมถึงดำเนินการแก้ไขสิ่งที่เกิดขึ้น (Repentance) 1.3 ช่วงหลังการเกิดภาวะวิกฤต ผู้จัดส่วนใหญ่ไม่ได้บันทึกเหตุการณ์รวมถึงการแก้ไขภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นไว้เป็นลายลักษณ์อักษรและมีการทำกิจกรรมเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมายขององค์กร 2) ปัจจัยที่จะสร้างความสำเร็จ ได้แก่ การมีข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายขององค์กรที่มากพอ และ การสร้างความสัมพันธ์กับ Influencer 
Other Abstract: This research is a qualitative study which has two objectives; 1) To analyze and explain the management and communication process during crisis management of the Korean artists' promoters and 2) To analyze and explain factors to success in handling and communicating during the crisis of Korean artists' promoters. The research methodologies are documentary study that analyze information and case studies from crisis management and crisis communication of Thai promoters for Korean artists, and in-depth interview with four groups of key informants chosen by purposive sampling. This research findings are as follow; 1) The management and communication process during crisis management of the Korean artists' promoters can be divided into 3 periods. 1.1 Pre-crisis period- the promoters prevent any possible crisis that could happen based on past experiences. Social media is the main platform Korean artists' promoters use to communicate with their target audiences. 1.2 Crisis period- promoters tries to solve them with 2 commonly used strategies; refuse or repentance. 1.3 Post-crisis period - most of the protomers neither record the incident nor come up with activity to revitalize the relationship with the target audience. 2) Factors to success are availability of targeted information and relationships with the relevant influencers.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61422
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.836
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.836
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084861528.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.