Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61423
Title: อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่
Other Titles: The identity of adapted Isan music in the new age of Isan culture
Authors: ปาณิส โพธิ์ศรีวังชัย
Advisors: ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: เทคโนโลยีเปลี่ยนโลก
วัฒนธรรม
ดนตรี -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
เอกลักษณ์ (จิตวิทยา)
Disruptive technologies
Culture
Music -- Thailand, Northeastern
Identity (Psychology)
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)  เพื่อศึกษาการเคลื่อนตัวของสื่อเพลงจากวัฒนธรรมอีสานสู่วัฒนธรรมส่วนกลาง  2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอัตลักษณ์เพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่และ 3) เพื่อศึกษาบทบาทของสื่อดิจิทัลในฐานะ Disruptive Technology ในการเคลื่อนตัวของวัฒนธรรมอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยดังนี้ วิเคราะห์ตัวบท เพลงอีสานประยุกต์จำนวน 20 เพลง ที่มียอดรับชมสูงเกิน 50 ล้านวิว หรือเคยเผยแพร่ในต่างประเทศ ที่เริ่มต้นทำเพลงเองจากค่ายเพลงขนาดเล็ก สัมภาษณ์เชิงลึกนักร้อง ศิลปินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเพลงอีสานประยุกต์ ที่มีประสบการณ์การทำงานมากกว่า 2 ปีจำนวน 5 คน และจัดสนทนากลุ่ม กลุ่มผู้ฟังเพลงอีสานจำนวน 8 คน อายุระหว่าง 20-40 ปี และไม่ใช่คนที่มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคอีสาน ผลการวิจัยสรุปว่า อัตลักษณ์ของเพลงอีสานประยุกต์ในยุคอีสานใหม่ คือ เพลงที่มีเนื้อร้องภาษาอีสานเป็นหลัก ผสมผสานด้วยภาษาอื่น เช่นอังกฤษ ไทยกลาง เขมร มีวิธีการนำเสนอผ่านดนตรีที่หลากหลาย ผสมทั้งเครื่องดนตรีพื้นบ้านและเครื่องดนตรีสากล ขับร้องโดยคนอีสาน โดยมากนักร้องในยุคอีสานใหม่มีอายุประมาณ 20-25 ปี ซึ่งถ่ายทอดความคิดออกมาในเนื้อหาเพลงที่พูดถึงเรื่องความรัก และฉายภาพชนบทอีสานยุคใหม่ ที่ไม่ได้มีแต่ความยากลำบาก ทุ่งนาแตกระแหงอีกแล้ว แต่เป็นวิถีชีวิตที่เข้าถึงความเจริญของเขตเมือง ตัวละครในเพลงมีความมั่นใจในตัวเอง ไม่ตีอกชกตัว ทั้งยังภูมิใจในความเป็นคนอีสาน และพยายามแสดงออกมาอย่างเด่นชัด เก็บสุนทรียะแบบอีสานที่มีความสนุกสนาน ขำขัน ขี้เล่น เอาไว้ในเพลงอยู่เสมอ ซึ่งทั้งหมดนี้เผยแพร่ไปสู่คนส่วนมากด้วยการใช้สื่อใหม่เป็นตัวกลาง มีการทำค่ายเพลงขนาดเล็กเองในต่างจังหวัด โดยใช้อินเตอร์เน็ตเป็นตัวเผยแพร่
Other Abstract: This research aims for 3 objectives, to study the movement of Isan music to main culture, to study the change of adapted Isan music in the age of New Isan Culture and lastly, to study the digital media as a disruptive technology in the movement of Isan culture. To gather the needed data, difference methods are used in the study including, textual analysis of 20 Isan songs, in-dept interviews of 5 singers, artists and creators of adapted Isan song, and focus group of 8 Isan music listeners. Adapted Isan songs sang mainly by Isan singers, with Isan dialect, added with some other dialects or languages. There are diversified kinds of musical instruments used in the songs, both traditional Thai and western musical instruments. Age range of the singers is approximately 20-25 years old. The lyrics mostly are about love story, or describe life of rural Isan people in modern world. Unlike in the past, people in Isan these days, which are main characters of adapted Isan songs, no longer have to struggle with impoverished lives or harsh environmental problems. They rather satisfy with their lives, and take pride in being Isan people. The next identity is that adapted Isan music still maintains what is all-time well known identity of Isan aesthetics, humor. Adapted Isan music are produced by independent music companies in the provinces. The music then become big hit all over Thailand, thanks to the help of internet as a main streaming channel.
Description: วิทยานพินธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/61423
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.840
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.840
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6084871828.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.