Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62571
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจินตนา ยูนิพันธุ์-
dc.contributor.advisorประนอม รอดคำดี-
dc.contributor.authorศิริรัตน์ จันทร์แสงรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-01T06:59:38Z-
dc.date.available2019-08-01T06:59:38Z-
dc.date.issued2538-
dc.identifier.isbn9746315668-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62571-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข หากความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กิจการนักศึกษาและสภาพแวดล้อมกับคุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล และศึกษากลุ่มตัวแปรที่สามารถร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล 367 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 เป็นแบบวัดคุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล กิจการนักศึกษาและสภาพแวดล้อม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง คะแนนเฉลี่ยหมวดครอบครัว สุขภาพ และจิตใจและวิญญาณ อยู่ในระดับสูง ส่วนหมวดสังคมและเศรษฐกิจ หน้าที่ และชีวิตประจำวันอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง 2. ทัศนคิตต่อวิชาชีพ สภาพครอบครัว งานหอพัก งานวินัยและพัฒนานักศึกษา งานกิจกรรมนักศึกษา สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือของอาจารย์และนักศึกษา สภาพทางกายภาพของแหล่งฝึกปฏิบัติสภาพทางกายภาพของวิทยาลัยพยาบาล มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง ส่วนการเป็นผู้นำในกิจกรรมในฐานะกรรมการ และจำนวนนักศึกษาในห้องเรียน มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ชั้นปีที่ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การเป็นผู้นำในกิจกรรมในฐานะประธาน รายได้นักศึกษา รายได้ครอบครัว จำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาล และขนาดพื้นที่ห้องพัก ในหอพักต่อนักศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาล 4. ตัวแปรที่ร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตโดยรวมของนักศึกษาพยาบาล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มีความสำคัญตามลำดับ ดังนี้ ทัศนคติต่อวิชาชีพ สัมพันธภาพเชิงช่วยเหลือของอาจารย์และนักศึกษา สภาพครอบครัว งานหอพัก ชั้นปีที่ศึกษา จำนวนนักศึกษาในวิทยาลัยพยาบาลและการเป็นผู้นำในกิจกรรมในฐานะกรรมการ โดยร่วมกันพยากรณ์คุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาลได้ร้อยละ 40.04 (R²=.4004)-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to study the quality of life of nursing students in nursing colleges, the Ministry of Public Health, and to investigate the relationships between personal factors, student affairs, environmental conditions and quality of life of nursing students, affairs, environmental conditions and quality of life of nursing students, and to search for the variables that would be able to predict the quality of life of nursing students. The subject consisted of 367 nursing students selected by multi-stage random sampling. Research instruments developed by the researcher were questionnaires which were tested for their validity and reliability. Major findings were as follows: 1. Mean scores of quality of life of nursing students in total and in the aspects of socio-economy, functions and daily life were at the medium to slightly high level. While, in the aspects of family, health, and psychological and spirit were at the high level. 2. Attitude toward nursing profession, family circumstance, residential tasks, student discipline and development, student activities, helping relationships between teachers and students, physical environment in clinical placement, physical environment in clinical placement, physical environment in nursing colleges were positively and significantly related at the medium level. Whereas, membership in student activity committee and number of students in classroom were positively and significantly related, at the low level to quality of life of nursing students, at the .01 level. 3. There were no significant relationships between, class and academic achievement of nursing student, leader of student activity committee, student’s income, income of student’s family, number of students in nursing colleges, size of room in residential building and the quality of life of nursing students. 4. Factors significantly predicted quality of life of nursing students were attitude toward nursing profession, helping relationships between teachers and students, family circumstance, residential tasks, class and number of students in colleges and membership of student activity committee. These predictors accounted for 40.04 percent (R²=.4004) of the variance.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectคุณภาพชีวิต -- ไทย-
dc.subjectนักศึกษาพยาบาล -- ไทย-
dc.subjectQuality of life -- Thailand-
dc.subjectNursing students -- Thailand-
dc.titleความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล กิจการนักศึกษา และสภาพแวดล้อมกับคุณภาพชีวิตนักศึกษาพยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข-
dc.title.alternativeRelationships between personal factors, student affairs, environmental conditions, and quality of life of nursing students, nursing colleges under the jurisdiction of the Ministry of Public Health-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการพยาบาลศึกษา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirirat_ch_front_p.pdf6.52 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_ch_ch1_p.pdf6.77 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_ch_ch2_p.pdf29.3 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_ch_ch3_p.pdf8.82 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_ch_ch4_p.pdf12.91 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_ch_ch5_p.pdf11.09 MBAdobe PDFView/Open
Sirirat_ch_back_p.pdf12.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.