Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62776
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorจุมพล รอดคำดี-
dc.contributor.authorสิริวิมล ชาญเวชช์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-23T04:11:44Z-
dc.date.available2019-08-23T04:11:44Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745775363-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62776-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย 4 ชื่อฉบับ โดยจำแนกเป็น หนังสือพิมพ์เน้นคุณภาพ (มติชน, สยามรัฐ) และหนังสือพิมพ์เน้นประชานิยม (ไทยรัฐ, เดลินิวส์) สาเหตุที่เลือกศึกษาจากหนังสือพิมพ์ 4 ชื่อฉบับนี้ เนื่องจากเป็นหนังสือพิมพ์ที่แพร่หลายและมียอดจำหน่ายสูงทั่วประเทศ ช่วงเวลาที่ศึกษา 1 ปีเต็ม โดยแบ่งเป็นช่วงก่อนการรณรงค์เรื่องโรคเอดส์ (1 เม.ย.30 – 30 ก.ย. 30) และช่วงหลังการรณรงค์ (1 ต.ค. 30 – 31 มี.ค. 31) ในระยะเวลา 1 ปี หรือ 365 วัน สุ่มศึกษา 84 วัน ได้กลุ่มตัวอย่างจากหนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ชื่อฉบับรวมทั้งสิ้น 149 ตัวอย่าง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างหนังสือพิมพ์เน้นคุณภาพและหนังสือพิมพ์เน้นประชานิยมด้านความถี่ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องโรคเอดส์เปรียบเทียบช่วงก่อนและหลังการรณรงค์, รูปแบบ, เนื้อที่ (Space), ทิศทางการพาดหัวข่าวสาร, แหล่งข้อมูล (sources) และเนื้อหาสาระที่เน้นถึงเรื่องโรคเอดส์ ผลการวิจัยพบว่า การเปรียบเทียบความแตกต่างด้านความถี่ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องโรคเอดส์ระหว่างหนังสือพิมพ์เน้นคุณภาพและหนังสือพิมพ์เน้นประชานิยม ช่วงก่อนและหลังการรณรงค์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านรูปแบบจำแนกเป็นข่าว, บทความ, คอลัมน์สังคมซุบซิบ, การ์ตูน, คอลัมน์ถามตอบปัญหาทางการแพทย์, บทบรรณาธิการ และโฆษณา พบว่า หนังสือพิมพ์ทั้งสองประเภทนำเสนอไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านเนื้อที่ก็เช่นกันพบว่า หนังสือพิมพ์ทั้งสองประเภทนำเสนอไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านทิศทางการพาดหัวข่าวสารจำแนกเป็นทิศทางบวก, กลาง, ลบ พบว่า หนังสือพิมพ์ทั้งสองประเภทนำเสนอไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ด้านแหล่งข้อมูลจำแนกเป็น แหล่งข้อมูลของทางราชการ, แหล่งข้อมูลของเอกชน และไม่ระบุแหล่งข้อมูลพบว่า หนังสือพิมพ์ทั้งสองประเภทนำเสนอไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนด้านเนื้อหาสาระที่เน้นถึงเรื่องโรคเอดส์จำแนกเป็น อาการของโรค, การติดต่อ, การค้นพบผู้ป่วย, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ, ผลกระทบทางสังคม และการป้องกันแก้ไข พบว่า เนื้อหาที่เน้นถึง อาการของโรค, การติดต่อ, การค้นพบผู้ป่วย, ผลกระทบทางเศรษฐกิจ และการป้องกันแก้ไขของหนังสือพิมพ์ทั้ง 2 ประเภทนำเสนอไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนเนื้อหาที่เน้นถึงผลกระทบทางสังคมพบว่า หนังสือพิมพ์ทั้ง 2ประเภทนำเสนอแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยพบว่า หนังสือพิมพ์เน้นคุณภาพนำเสนอเนื้อหาที่เน้นถึงเรื่องโรคเอดส์ในด้านผลกระทบทา[ง]สังคมมากกว่าหนังสือพิมพ์เน้นประชานิยม-
dc.description.abstractalternativeThis research uses the content analysis in Thai daily newspapers. The newspapers are classified in two types. The first one is popular newspaper (Thairat, Dailynews) and the second one is quality newspapers (Mathichon, Siamrat) because they are popular and high circulation through the country. It takes one-year researching the newspapers. And the time for this is [divide] into two periods which are before AIDS campaign (1 April 87 – 30 September 87) and after AIDS campaign (1 October 87 – 31 March 88). These one-year newspapers are randomly chosen only 84 days. The sample size from 4 newspapers is about 149 samples. The objective of this research is to study the difference of popular and quality newspapers about AIDS in terms of frequencies of AIDS before and after AIDS campaign, forms, spaces, dimensions of headline, sources and content of AIDS. The results of this study show that frequencies of AIDS presentation between popular and quality newspapers compared before and after AIDS campaign are not significantly different. Moreover it was found that the forms which are classified as news, articles, gossip column, cartoon, questions about health, editorial and advertising, are not significantly different. And spaces are also unsignificantly different. Besides, dimensions of [headline] which are positive, neutral and negative are not significantly different. Furthermore sources are classified as governmental sources, private individual sources and uninformed sources are not significantly different. For the content analysis of AIDS are classified as syndrome, route of contact, discover of AIDS patients, economical impact, social impact and prevention, it was found that syndrome, route of contact, discover of AIDS patients, economical impact and prevention are also unsignificantly different where as social impact are significantly different. It was found that quality newspapers present social impact of AIDS more than popular newspaper.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโรคเอดส์-
dc.subjectการวิเคราะห์เนื้อหา-
dc.subjectหนังสือพิมพ์-
dc.subjectAIDS (Disease)-
dc.subjectContent analysis (Communication)-
dc.subjectNewspapers-
dc.titleการวิเคราะห์เนื้อหาเรื่องโรคเอดส์ในหนังสือพิมพ์รายวันภาษาไทย-
dc.title.alternativeContent analysis of AIDS coverage in Thai newspapers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineการประชาสัมพันธ์-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirivimol_ch_front_p.pdf7.9 MBAdobe PDFView/Open
Sirivimol_ch_ch1_p.pdf9.44 MBAdobe PDFView/Open
Sirivimol_ch_ch2_p.pdf16.4 MBAdobe PDFView/Open
Sirivimol_ch_ch3_p.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open
Sirivimol_ch_ch4_p.pdf43.03 MBAdobe PDFView/Open
Sirivimol_ch_ch5_p.pdf17.94 MBAdobe PDFView/Open
Sirivimol_ch_back_p.pdf15.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.