Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62785
Title: คุณสมบัติและภาระหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กร
Other Titles: Qualifications and responsibilities of public relations practitioners in organization
Authors: สุเทพ เดชะชีพ
Advisors: อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: นักประชาสัมพันธ์
การประชาสัมพันธ์
ส่วนราชการ -- การประชาสัมพันธ์
รัฐวิสาหกิจ -- การประชาสัมพันธ์
ธุรกิจ -- การประชาสัมพันธ์
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงสถานภาพของงานด้านประชาสัมพันธ์ รวมทั้งคุณสมบัติ และภาระหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์ในองค์กรรัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์กรรัฐวิสาหกิจ ตลอดจนแนวโน้มในอนาคตของงานประชาสัมพันธ์ในองค์กร ผลการวิจัยปรากฏว่า ผู้บริหารองค์กรส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มากกว่าเพศชาย ไม่เคยผ่านงานด้านการประชาสัมพันธ์ เป็นผู้จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านสังคมศาสตร์ เคยผ่านการฝึกอบรมและส่งพนักงานของตนเองเข้ารับการฝึกอบรมบ้าง ผู้บริหารส่วนใหญ่เห็นว่างานด้านการประชาสัมพันธ์นั้นมีความสำคัญมาก ควรที่จะมีฐานะงานเป็นแผนกอิสระขึ้นตรงกับผู้บริหาร แต่ในความเป็นจริงแล้ว ฝ่ายประชาสัมพันธ์ส่วนมากยังอยู่ร่วมกับฝ่ายอื่น ด้านการวางแผนการประชาสัมพันธ์นั้น องค์กรที่มีการวางแผนทุกครั้ง กับองค์กรที่มีการวางแผนบ้างบางโอกาสนั้นมีจำนวนใกล้เคียงกันและแผนประชาสัมพันธ์นั้นถูกนำมาใช้บ้าง ถึงใช้อย่างมากในบางองค์กร คุณสมบัติและภาระหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์นั้น ผู้บริหารองค์กรทั้ง 3 ประเภทมีความต้องการคุณสมบัติและการปฏิบัติภาระหน้าที่ไม่แตกต่างกัน ปัจจัยที่มีความสำคัญที่ทำให้ความต้องการคุณสมบัติของนักประชาสัมพันธ์แตกต่างกันได้แก่ ประสบการณ์การทำงานของผู้บริหาร, การให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์ของผู้บริหาร, นโยบายหลักด้านการประชาสัมพันธ์, จำนวนพนักงานของฝ่าย, การนำแผนประชาสัมพันธ์ที่วางไว้มาใช้ปฏิบัติ ในด้านภาระหน้าที่ของนักประชาสัมพันธ์นั้น ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ในการกำหนดความแตกต่างของภาระหน้าที่ของฝ่ายประชาสัมพันธ์คือ ประสบการณ์การทำงานของผู้บริหาร, การเข้ารับการฝึกอบรมของผู้บริหาร, การศึกษาจากตำราเอกสารของผู้บริหาร,การส่งพนักงานเข้ารับการฝึกอบรม การให้ความสำคัญกับงานประชาสัมพันธ์ของผู้บริหาร, การมีนโยบายหลักด้านการประชาสัมพันธ์, การมีแผนงานประชาสัมพันธ์, การนำแผนมาใช้ปฏิบัติ, ฐานะงานประชาสัมพันธ์ในองค์กร, การเข้าร่วมประชุมกับระดับนโยบายขององค์กร, จำนวนพนักงานของฝ่าย, จำนวนโสตทัศนูปกรณ์ แนวโน้มงานประชาสัมพันธ์ในอนาคตนั้น กล่าวได้ว่า งานด้านการประชาสัมพันธ์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น มีการเพิ่มจำนวนบุคลากรอีกเกือบทุกองค์กร มีการขยายหน้าที่ความรับผิดชอบ เพิ่มจำนวนโสตทัศนูปกรณ์ งบประมาณ กิจกรรมด้านการประชาสัมพันธ์จะขยายตัวมากขึ้นและแนวโน้มผู้บริหารส่วนใหญ่ต้องการผู้ที่สำเร็จการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ หรือวารสารศาสตร์โดยตรงเข้าทำงานด้านการประชาสัมพันธ์
Other Abstract: This research is conducted to explore the status and qualifications and responsibilities of Public Relations practitioners in governmental, state enterprise, and private sectors. This research also includes the futures trend of public relations activities in organizations. The results show that most of the PR directors studied were female obtaining bachelor's degrees in Social Sciences without former experience in public relations. Nonetheless, these executives actively participated in training programs. Thses PR directors agreed that PR department was very important to any organizations and should be transformed into an independent department reporting directly to high level executives. However, PR job today could not reach such idealism. In the area of PR planning, the ratio of organizations which practiced PR planning habitually and irregularly was almost equal. The planning execution ranged from routine practice to periodic one. In the case of qualifications and responsibilities of PR practitioners, all PR directors had similar requirements. There were, however, some factors which varied the requirements of PR qualifications. Those factors were : 1. Job experience of these directors. 2. PR significance in the organization. 3. PR policy. 4. Number of PR personnel in the departments. 5. Execution of PR planning. In addition, the variables which explained differences in assigning PR reponsibilities were : 1. Job experience of PR directors 2. Participation in training programs of these directors, 3. Self-study of these directors, 4. Assigning PR personnel in the department to training programs, 5. PR significance in an organization 6. PR policy 7. PR planning 8. Execution of PR planning 9. Status of PR department. 10. Participation in high-level executive decision-making. 11. Number of PR personnel in the department. 12. The quantity of audio-visual devices. In the near future, the directors agreed that PR would play a significant role every organization. The need of PR practitioners who graduates in Communication Arts would increase sharply. Woreover, organizations would enhance the responsibilities of PR department and also increase the audio-visual equipment and budget.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62785
ISBN: 9745760994
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suthep_da_front_p.pdf9.62 MBAdobe PDFView/Open
Suthep_da_ch1_p.pdf5.82 MBAdobe PDFView/Open
Suthep_da_ch2_p.pdf24.13 MBAdobe PDFView/Open
Suthep_da_ch3_p.pdf5.83 MBAdobe PDFView/Open
Suthep_da_ch4_p.pdf51.91 MBAdobe PDFView/Open
Suthep_da_ch5_p.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open
Suthep_da_back_p.pdf36.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.