Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62861
Title: การหาปริมาณยูเรเนียมตามธรรมชาติในตัวอย่างดิน หญ้า และน้ำรอบๆ บริเวณศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายาก โดยวิธีนิวตรอนแอกติเวชัน และฟิชชันแทร็ก
Other Titles: Determination of natural uranium in soil, grass and water samples around the rare earth research and development center by neutron activation and fission track methods
Authors: สุดใจ สิรินันทวิทย์
Advisors: สิรินาฎ เลาหะโรจนพันธ์
นเรศร์ จันทน์ขาว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: ยูเรเนียม
การวิเคราะห์เชิงก่อกัมมันตภาพรังสีนิวเคลียร์
Uranium
Nuclear activation analysis
Fission track dating
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อหาข้อมูลพื้นฐานของปริมาณยูเรเนียม ในสิ่งแวดล้อมรอบๆ ศูนย์วิจัยและพัฒนาธาตุหายาก ที่ตำบลคลองห้า อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี ตัวอย่างดิน หญ้า และน้ำ ตามตำแหน่งต่างๆ รอบบริเวณศูนย์ฯ ถูกเก็บและใช้เป็นตัวแทนสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ปริมาณยูเรเนียมได้ใช้วิธีนิวตรอนแอกติเวชัน และฟิชชันแทร็ก แล้วเปรียบเทียบผลกันโดยที่ตัวอย่างดิน และหญ้าได้วิเคราะห์โดยวิธีนิวตรอนแอกติเวชันแบบไม่ทำลายตัวอย่าง ตัวอย่างน้ำได้ใช้วิธีเรดิโอเคมี-นิวตรอน-แอกติเวชัน วิธีฟิชชันแทร็กได้ใช้แผ่นไมกาเป็นดีเทดเตอร์สำหรับตัวอย่างทั้ง 3 ประเภท จากการทดลองพบว่า การวิเคราะห์ปริมาณยูเรเนียมโดยวิธีทั้งสองให้ผลที่ใกล้เคียงกันปริมาณยูเรเนียมในตัวอย่างน้ำในฤดูร้อนมียูเรเนียมในช่วง 0.87-2.00 ppb ในฤดูฝนและหนาวมีค่าใกล้เคียงกันคืออยู่ในช่วง 0.71-0.93 ppb ส่วนน้ำบาดาลมีปริมาณยูเรเนียมสูงกว่าน้ำตามลำคลอง คือ ฤดูร้อนมีค่าอยู่ในช่วง 6.60-7.25 ppb ในฤดูฝนแลหนาว มีค่าอยู่ในช่วง 3.74-4.92 ppb ตัวอย่างหญ้ามีปริมาณยูเรเนียม ในรูปเถ้าเท่ากับ 0.43-1.32 ppm ในฤดูร้อน ในฤดูฝนและหนาวมีค่าใกล้เคียงกันคืออยู่ในช่วง 0.17-0.48 ppm สำหรับตัวอย่างเดิม และดินตะกอนใต้น้ำมีค่าอยู่ในช่วง 3.03-9.72 ppm และไม่พบความแตกต่างอย่างชัดเจนในแต่ละฤดูกาล
Other Abstract: The purpose of this study was the determination of the background level of uranium in the environment around The Rare-Earth Research and Development Center. The information obtained will be used for the future environmental impact database. Soil grass and water around this center were chosen as representative environmental sample. In this work two techniques were exploited to determine uranium content. One was neutron activation analysis and the another was fission track method. Soil and grass samples were analysed by Instrumental Neutron Activation Analysis (INAA) while the water samples were analysed by Radiochemical Neutron Activation Analysis (RNAA) For fission track method, mica was used as detector. It was found that the uranium content determined by the two techniques were comparable. In surface water sample contain uranium in the range of 0.87-2.00 ppb in summer and 0.71-0.93 ppb in rainy and cold seasons. Groundwater was found to have a higher level of Uranium, i.e. 6.60-7.25 ppb in summer, 3.74-4.92 ppb in rainy and cold seasons. Uranium level in grass (ash) was 0.43-1.32 ppm in summer, 0.17-0.48 ppm in rainy and cold seasons. Uranium level in soil and sediment showed no seasonal variation and the concentration was between 3.03-9.72 ppm.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62861
ISBN: 9745796492
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudchai_si_front_p.pdf2.74 MBAdobe PDFView/Open
Sudchai_si_ch1_p.pdf2.33 MBAdobe PDFView/Open
Sudchai_si_ch2_p.pdf6.48 MBAdobe PDFView/Open
Sudchai_si_ch3_p.pdf4.79 MBAdobe PDFView/Open
Sudchai_si_ch4_p.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open
Sudchai_si_ch5_p.pdf2.52 MBAdobe PDFView/Open
Sudchai_si_back_p.pdf1.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.