Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62914
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรพล จิวาลักษณ์-
dc.contributor.authorสุพจน์ เจียมจรัสรังษี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-09-05T03:31:36Z-
dc.date.available2019-09-05T03:31:36Z-
dc.date.issued2532-
dc.identifier.isbn9745760439-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62914-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาวิธีการคาดคะเนการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยใช้สมการของคลื่น ในการศึกษานี้ได้เก็บรวบรวมเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงตอกในดินกรุงเทพที่มีข้อมูลการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มจนถึงน้ำหนักวิบัติของมวลดิน ข้อมูลสภาพและคุณสมบัติทางวิศวกรรมของดิน และข้อมูลการตอกเสาเข็มและอุปกรณ์ที่ใช้ขณะตอกเสาเข็มนั้น ครบทั้ง 3 รายการนี้ จำนวนทั้งสิ้น 48 ต้น เป็นเสาเข็มหน้าตัดรูป I, รูปกลมกลวง, รูปสี่เหลี่ยมตัน และรูปสี่เหลี่ยมกลวง ความยาวอยู่ในช่วง 20.00 – 30.00 เมตร ตอกโดยลูกตุ้มยกโดยกว้าน และเครื่องตอกดีเซล จากข้อมูลอุปกรณ์การตอกเสาเข็ม และข้อมูลสภาพดินได้คำนวณหาน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มนั้น โดยใช้สมการของคลื่น ซึ่งน้ำหนักที่คำนวณได้นี้เป็นน้ำหนักที่ได้รับขณะตอก ได้แปลงให้เป็นกำลังรับน้ำหนักในสภาพสถิตย์ โดยใช้ค่า SOLL SET UP FACTOR ของดินเหนียวอ่อนเท่ากับ 2.0 ดินเหนียวแข็ง เท่ากับ 1.3 และของทรายเท่ากับ 1.0 แล้วนำค่าน้ำหนักบรรทุกสภาพสถิตย์นี้ไปเปรียบเทียบกับกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็มที่คำนวณโดยใช้สูตรสแตติค ผลปรากฏว่า น้ำหนักบรรทุกที่คำนวณได้ โดยใช้สมการของคลื่นมีค่าเท่ากับ 0.867 เท่าของน้ำหนักบรรทุกที่คำนวณได้จากสูตรสแตติค และเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับน้ำหนักบรรทุกจากการทดสอบเสาเข็ม ปรากฏว่ามีค่าเท่ากับ 1.053 เท่าของน้ำหนักบรรทุกจากการทดสอบเสาเข็ม เมื่อทดลองแปรเปลี่ยนลักษณะของแรงเสียดทานที่กระทำต่อเสาเข็มจากลักษณะที่ได้จากสูตรสแตติคไปเป็นลักษณะที่กระทำเฉลี่ยสม่ำเสมอเท่ากันตลอดความยาวเสาเข็ม กับอีกลักษณะหนึ่งที่เพิ่มขึ้นเมื่อความลึกเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งได้แปรเปลี่ยนสัดส่วนแรงต้านทานที่ปลายเสาเข็ม 0.25 และ 50% แล้วคำนวณหาน้ำหนักบรรทุกโดยใช้สมการของคลื่น นำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับน้ำหนักบรรทุกที่ได้ในกรณีที่ลักษณะแรงเสียดทาน และสัดส่วนของแรงต้านทานที่ปลายตามสภาพที่ได้จากสูตรสแตติค ผลปรากฏว่าเมื่อแรงเสียดทานกระทำเฉลี่ยสม่ำเสมอ ค่าน้ำหนักบรรทุกที่ได้จะอยู่ในช่วง 0.974 – 1.161 เท่าของน้ำหนักบรรทุกที่ลักษณะแรงเสียดทานและแรงต้านทานที่ปลายตามสภาพที่ได้จากสูตรสแตติค และเมื่อแรงเสียดทานที่กระทำเพิ่มขึ้นเมื่อความลึกเพิ่มขึ้น ค่าน้ำหนักบรรทุกที่ได้จะอยู่ในช่วง 0.961 – 1.127 เท่าของน้ำหนักบรรทุกที่ลักษณะแรงเสียดทานและต้านทานที่ปลายตามสภาพที่ได้จากสูตรสแตติค และจากการวิเคราะห์ทั่วไปพบว่า เมื่อใช้ค่าคงที่หน่วงที่ปลายเสาเข็มของดินเหนียว 0.01 วินาที่ต่อฟุต ของทราย 0.15 วินาที่ต่อฟุต และค่าคงที่หน่วงที่ด้านข้างของเสาเข็มของดินเหนียว 0.20 วินาทีต่อฟุต ของทราย 0.05 วินาที่ต่อฟุตแล้ว ผลปรากฏว่าน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่คำนวณได้ให้ค่าใกล้เคียงกับค่าน้ำหนักบรรทุกจากการทดสอบเสาเข็มจากสูตรสแตติค-
dc.description.abstractalternativeThis thesis is to make use of the wave equation in order to predict the ultimate bearing capcities ties of piles. The scope of work was limited to the driving prestressed concrete piles in Bangkok soils. In the analysis, 48 p0iles with load test data were studied. The piles were different shapes, such as solid square, hollow square, round and I section with the length 20.00 to 30.00 metres. Method in placing piles were used the drop and diesel hammer. In Bangkok soils, the soil resistances at the time of driving were normally less than the long term capacities. The dynamic soil resistances were calculated by using the wave equation with the aid of the soil profiles and pile driving records. The method of calculation was chosen the soil set up factor equaled to 2.0, 1.3 and 1.0 for soft clay, stiff clay and sand load test and 0.867 time the static formula. The side friction which being calculated from the soil profile were varied to be the uniform, the triangular pattern and the percentages of end bearing were varied to 0, 25 and 50%. The result showed that the ultimate capacities of the uniform and the triangular were 0.974-1.161 and 0.961-1.127 time the capacities of the side friction which being calculated from the soil profile. The point and side damping constant of clay equaled to 0.01, 0.20 sec/ft and sand equaled to 0.15, 0.50 sec/ft respectively.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectเสาคอนกรีต -- ไทย -- กรุงเทพฯ-
dc.subjectความสามารถในการรับน้ำหนัก-
dc.subjectConcrete poles -- Thailand -- Bangkok-
dc.subjectBearing capacity-
dc.titleการคาดคะเนการรับน้ำหนักของเสาเข็มตอกในดินกรุงเทพ โดยใช้สมการของคลื่น-
dc.title.alternativePrediction of pile capacity in Bangkok soils by the wave equation-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supoj_ji_front_p.pdf5.91 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_ch1_p.pdf3.12 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_ch2_p.pdf27.13 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_ch3_p.pdf7.22 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_ch4_p.pdf10.52 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_ch5_p.pdf24.46 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_ch6_p.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Supoj_ji_back_p.pdf28.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.