Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63240
Title: การศึกษาคุณลักษณะที่ว่างของตรอกบริเวณชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
Other Titles: A study of spatial quality of Trok in Trok Sin-Trok Tuek Din community, Phra Nakhon district, Bangkok
Authors: วิสุทธิ์ นุชนาบี
Advisors: วาริชา วงศ์พยัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาคุณลักษณะที่ว่างของ “ตรอก” ในเขตชุมชนเมืองเก่า ผ่านกรณีศึกษาชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการอยู่อาศัยทางสังคมของมนุษย์ ผ่านทฤษฎีทางจิตวิทยาสถาปัตยกรรมและการอยู่อาศัยสถาปัตยกรรมเป็นกรอบในการวิเคราะห์ งานวิจัยเริ่มต้นจากการศึกษาประวัติศาสตร์เรื่องราวของของย่านและชุมชน สู่การศึกษาการใช้สอยที่ว่างภายในตรอก โดยอาศัยข้อมูลภาคสนามจากแผนที่แสดงการใช้สอยที่ว่างของตรอกในฐานะ “ทางแห่งการเชื่อมโยง” และ “ที่แห่งการปฏิสัมพันธ์” ด้วยการบันทึกพฤติกรรมการสัญจรบนตรอกโดยวิธีการสะกดรอยและการบันทึกพฤติกรรมการครอบครอบที่ว่างบนตรอกโดยวิธีการจับภาพชั่วขณะตามลำดับ ผ่านมิติของผู้ใช้งานตรอกประกอบด้วยคนในพื้นที่และคนนอกพื้นที่ และมิติของเวลาทั้งในวันธรรมดาและวันสุดสัปดาห์ เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างมิติทางกายภาพและการใช้สอยที่ว่างภายในตรอกในบทบาท “ทางแห่งชีวิต” และ “ที่แห่งชีวิต” ผ่านแผนที่แสดงความเข้มข้นของการใช้สอยที่ว่างภายในตรอก สู่การสังเคราะห์คุณลักษณะที่ว่างของตรอกในฐานะ “พื้นที่รองรับชีวิต” ซึ่งส่งผลให้ตรอกในชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดินเป็นพื้นที่รองรับการอยู่อาศัยทางสังคมที่มีชีวิตชีวา โดยสรุป สาระสำคัญของคุณลักษณะที่ว่างของตรอกบริเวณชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน ประกอบด้วย ที่ว่างที่ให้ประสบการณ์อันหลากหลาย ที่ว่างที่มีปฏิสันถารกับชีวิต ที่ว่างที่ซ่อนอยู่ในที่ว่าง ที่ว่างที่รองรับมิติการใช้สอยอันหลากหลาย และที่ว่างที่มีการหมุนเวียนผลัดเปลี่ยนการใช้สอย
Other Abstract: This research is a study of spatial quality of alleyways in an urban community, named Trok Sin- Trok Tuek Din community, located in Phra Nakhon District, Bangkok. Grounded in the framework of architectural psychology and dwelling, it aims to examine the collective mode of dwelling of these alleyways. The research began with a historical study of the community and its inhabitants. Next, it focused on the spatial usage of the trok. Base on field surveys, i.e. tracking and taking snap shots, the research collected movement activities and static activities of different types of users, i.e. insiders and outsiders, during weekdays and weekends. Accordingly, it analyzed the relationship between physical and spatial aspects of the trok, in terms of “path of life” and “place of life” through the overlayed movement and static activities maps. Finally, the research synthesized the spatial quality of the case study that could help enhance the liveness of collective dwelling of the city. In conclusions, the essential attributes of trok at Trok Sin-Trok Tuek Din community consist of the multi-experiential space, the dialogical space, the spaces within space, the multifunctional space, and the polychronic space.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63240
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1406
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1406
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6073338925.pdf19.19 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.