Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63666
Title: ผลกระทบของลักษณะพื้นผิววัสดุและสภาวะการเดินระบบต่อประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมัน ของสกิมเมอร์แบบลูกกลิ้ง
Other Titles: Effects of surface characteristic and operating conditions on oil recovery efficiency of drum skimmer 
Authors: รัฐกานต์ จำรูญรัตน์
Advisors: พิสุทธิ์ เพียรมนกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Pisut.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบของชนิดวัสดุพื้นผิวและสภาวะการเดินระบบที่เหมาะสมต่อประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมันของอุปกรณ์สกิมเมอร์แบบลูกกลิ้ง  โดยใช้น้ำมันปาล์มน้ำมันหล่อลื่น SAE 10W-40 และ SAE 20W-50  ในการศึกษาผลกระทบของชนิดวัสดุพื้นผิว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของสกิมเมอร์ ความหนาน้ำมันต่อระยะที่จมของสกิมเมอร์ และความเร็วรอบต่อประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมัน รวมไปถึงสร้างสมการทางคณิตศาสตร์ทำนายอัตราการนำกลับน้ำมัน ผลการศึกษาพบว่าสภาวะการเดินระบบที่เหมาะสมต่อการนำกลับน้ำมันของอุปกรณ์สกิมเมอร์แบบลูกกลิ้ง แบ่งตามชนิดน้ำมัน ได้แก่ 1) น้ำมันปาล์ม มีประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมันสูงสุด 97% และอัตราการนำกลับน้ำมัน 24.28 มิลลิลิตรต่อวินาที ด้วยวัสดุพอลิโพรไพลีน 2) น้ำมันหล่อลื่น SAE 10W-40 มีประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมันสูงสุดที่ 97% มีอัตราการนำกลับน้ำมัน 24.31 มิลลิลิตรต่อวินาที ด้วยวัสดุพอลิไวนิลคลอไรด์ และ 3) น้ำมันหล่อลื่น SAE 20W-50 มีประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมันสูงสุดที่ 98% มีอัตราการนำกลับน้ำมัน 24.50 มิลลิลิตรต่อวินาที ด้วยวัสดุพอลิไวนิลคลอไรด์ การวิเคราะห์ผลการทดลองด้วยแนวคิด DOE และการสร้างความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ พบว่า พารามิเตอร์ที่ทำการศึกษาทั้งหมดส่งผลต่อประสิทธิภาพการนำกลับน้ำมัน  โดยสมการคณิตศาสตร์ที่สร้างขึ้นสำหรับทำนายอัตราการนำกลับน้ำมันมีความคลาดเคลื่อนจากผลการทดสอบการนำกลับน้ำเสียปนเปื้อนน้ำมันปาล์มที่ผ่านการใช้งานแล้วด้วยสภาวะการเดินระบบแบบพื้นผิวพอลิไวนิลคลอไรด์และพื้นผิวพอลิโพรไพลีนเท่ากับ 32% 23% ตามลำดับ และ 16% 24% สำหรับน้ำมันหล่อลื่นตามลำดับ
Other Abstract: This work aims to investigate effects of material types and operating condition on the oil recovery performance of drum skimmer. Palm oil and two lubricants (SAE10W-40 and SAE20W-50) were applied to determine effects of material types, drum size, ratio of oil thickness to submerged drum, and rotating speed. The results were analyzed to identify parameter affecting the performance as well as construct a mathematical for predicting oil recovery rate.  The optimal condition for effective oil recovery was different for each oil type as (1) palm oil with 97% oil recovery and 24.28 ml/s by PP; (2) SAE10W-40 with 97% oil recovery and 24.31 ml/s by PVC; and (3) SAE20W-50 with 98% and 24.50 ml/s by PVC. The analysis by DOE shows that all interested parameters can affect the oil recovery efficiency, which correspond to the application of Buckingham Pi theorem in constructing a mathematical correlation for predicting oil recovery rate. The accuracy of the correlation was examined by comparing the predicted results to those obtained from real samples of rejected palm oil and spent lubricant. The discrepancy in the oil recovery rate between predicted and experimental values of 32% and 23% was found for recovering used palm oil with PVC and PP, respectively. Likewise, the error of 16% from PVC and 24% from PP was acquired for recovering spent lubricant oil by drum skimmer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/63666
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2018.1296
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2018.1296
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070288621.pdf4.94 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.