Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65171
Title: บทบาทสตรีในฐานะอาจารย์สอนศิลปะและศิลปิน : กรณีศึกษา ลาวัณย์ ดาวราย
Other Titles: Roles of women as art teachers and artists : a case study of Lawan Doarai
Authors: สุธาสินี ทองชั้น
Advisors: ปิยะชาติ แสงอรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Piyacharti.s@chula.ac.th
Subjects: ลาวัณย์ อุปอินทร์, 2478-
สตรีนิยม
สตรีศึกษา
สตรี -- ภาวะสังคม
Feminism
Women's studies
Women -- Social conditions
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาบทบาทสตรีในฐานะอาจารย์สอนศิลปะและศิลปินเป็นกรณีศึกษาของ ลาวัณย์ ดาวราย โดยแบ่งประเด็นที่จะศึกษาออกเป็น 3 ประเด็นคือ ประวัติชีวิตโดยทั่วไป บทบาทของการเป็นอาจารย์สตรีที่สอนศิลปะในระดับมหาวิทยาลัย และบทบาทของการเป็น ศิลปินสตรี วิธีการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวกับประวิติชีวิต การให้กรณีศึกษาอธิบายและให้ความหมายเกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของตน และทัศนคติของกรณีศึกษาต่อการเป็นผู้หญิงในวงการศิลปะ การวิจัยครั้งนี้ใช้การศึกษาเชิงเอกสารด้วย เช่น จากข่าว บทความ บทสัมภาษณ์ และสูจิบัตรแสดงงานศิลปะเป็นต้น ผลการวิจัยพบว่า ด้านบทบาทของการเป็นอาจารย์สตรีที่สอนศิลปะในระดับมหาวิทยาลัยลาวัณย์มีบทบาทที่โดดเด่นมากที่สุดคือบทบาทในการสอน ลาวัณย์เป็นอาจารย์สตรีคนแรกในคณะจิตกรรมและประติมากรรมมหาวิทยาลัยศิลปากร นอกจากนี้ยังเผยแพร่ความทางศิลปะผ่านการสอนทาง โทรทัศน์และเขียนบทความเกี่ยวกับศิลปะในนิตยสารด้วย ในส่วนของบทบาทการเป็นศิลปินสตรี ลาวัณย์เป็นศิลปินสติรีรุ่นบุกเบิกของประเทศไทยที่เข้ามามีบทบาทในวงการศิลปะอย่างเด่นชัด ลาวัณย์ได้การยอมรับเป็นอย่างดีในฐานะศิลปินวาดภาพเหมือนบุคคล ในเรื่องประเด็นความแตกต่างระหว่างเพศพบว่าลาวัณย์เคยประสบกับเหตุการณ์ดัง กล่าวบ้างในระหว่างที่ศึกษาที่มหาวิทยาลัยศิลปากร แต่ไม่เป็นอุปสรรคสำคัญในการประกอบอาชีพศิลปินแต่อย่างใด
Other Abstract: This study focused on the roles of Lawan Doarai, emphasizing on the role of art teacher and artist in the position she holds within her gender. Using qualitative interview as a tool for data collecting. The interviews were particularly concerned with life history, the way the subject described and accounted for her career experiences and the attitude of being a woman in the art world. This study also applied documents research from newspaper, magazine, exhibition catalogue. Being an art teacher, Lawan was considered the most outstanding as the first woman lecturer in faculty of painting and sculpture of Silpakorn University. She also taught art on television broadcasting and wrote articles about art as well as critics. For the role of artist, Lawan was recognized as one of the women artists who were the pioneer groups in art community of Thailand. Lawan is fully accepted as a portrait artist. There was a fact that Lawan encountered some problems concerning gender differences during her study at Silpakorn University, however, those was not considered as an obstacle for her career.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65171
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.600
ISBN: 9741701721
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.600
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sutasinee_th_front.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ254.63 kBAdobe PDFView/Open
Sutasinee_th_ch1.pdfบทที่ 1267.67 kBAdobe PDFView/Open
Sutasinee_th_ch2.pdfบทที่ 21.54 MBAdobe PDFView/Open
Sutasinee_th_ch3.pdfบทที่ 3184.81 kBAdobe PDFView/Open
Sutasinee_th_ch4.pdfบทที่ 42.4 MBAdobe PDFView/Open
Sutasinee_th_ch5.pdfบทที่ 5839.62 kBAdobe PDFView/Open
Sutasinee_th_back.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก4.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.