Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65325
Title: การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจในบริการ E-Banking ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย
Other Titles: Media exposure, knowledge, attitude, perceived uses and satisfaction with E-Banking service of Thai commercial banks
Authors: พรพรรณ ประจักษ์เนตร
Advisors: พัชนี เชยจรรยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Subjects: ทัศนคติ
ธนาคารและการธนาคาร -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
ธนาคารและการธนาคาร -- เครื่องมือและอุปกรณ์
Attitude (Psychology)
Banks and banking -- User satisfaction
Banks and banking -- Equipment and supplies
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจในบริการ E-Banking ของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษามีจำนวนทั้งสิ้น 461 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการ เก็บข้อมูล การวิเคราะห์ขอมูลใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน t-test และ One-way ANOVA ซึ่งประมวลผลโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากหนังสือพิมพ์, นิตยสาร, พนักงานของธนาคาร, ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถโดยสารประจำทาง, เอกสารเผยแพร่, แผ่นพับ, โปสเตอร์, สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารทางตู้ATM, สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารในเวบไซต์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความรู้เกี่ยวกับบริการ E-Banking 2. การเปิดรับข่าวสารจากบริการ E-Banking จากหนังสื่อพิมพ์พนักงานของธนาคาร, เพื่อน, ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถโดยสารประจำทาง, สื่อโฆษณา บริการต่าง ๆ ของธนาคารทางตู้ATM, สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารในเวบไชต์ และสื่อโฆษณาผ่านทางสลิป ATM มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อบริการ E-Banking 3. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากโทรทัศน์, หนังสือพิมพ์. นิตยสาร, เพื่อน, บุคคลภายในครอบครัว, ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถ โดยสารประจำทาง, เอกสารเผยแพร่, แผ่นพับ,ลื่อโฆษณาบริการต่างๆของธนาคารทางตู้ATM,ลื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารในเวบไชต์และสื่อ โฆษณาผ่านทางสลิป ATM มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการรับรู้ประโยชน์จากข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking 4. การเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากป้ายโฆษณาที่ป้ายรถโดยสารประจำทาง, สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารทางตู้ATM และสื่อโฆษณาผ่านทางสลิป ATM มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความพึงพอใจในบริการ E-Banking 5. ความรู้เกี่ยวกับบริการ E-Banking มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์และความพึงพอใจในบริการ E-Banking 6. ทัศนคติต่อบริการ E-Banking มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในบริการ E-Banking 7. ผู้ใช้บริการที่มีเพศต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากโทรทัศน์, นิตยสาร, บุคคลภายในครอบครัว, ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถโดยสารประจำทาง, เอกสารเผยแพร่, แผ่นพับ,โปสเตอร์, สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารทางตู้ ATM และบูธของแต่ละธนาคารที่จัดขึ้นในนิทรรศการต่าง ๆ แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีอายุต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากหนังสื่อพิมพ์, พนักงานของธนาคาร, เพื่อนบ้าน, สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารทางตู้ ATM. สื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารในเวบไชต์แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากหนังสือพิมพ์, เพื่อนบ้าน, บริการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ และสื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารในเวบไชต์แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีอาชีพต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากเพื่อนบ้าน, บุคคลภายในครอบครัว, ป้ายโฆษณาที่ป้ายรถโดยสารประจำทาง, เอกสารเผยแพร่, แผ่นพับ, บริการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์ และสื่อโฆษณาบริการต่าง ๆ ของธนาคารในเวบไชต์ แตกต่างกัน ผู้ใช้บริการที่มีรายได้ต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับบริการ E-Banking จากวิทยุ, พนักงานของธนาคาร, เพื่อนบ้านและบริการให้คำแนะนำทางโทรศัพท์แตกต่างกัน 8. ผู้ใช้บริการที่มีอายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่างกัน มีความรู้ การรับรู้ประโยชน์ และความพึงพอใจในบริการ E-Banking แตกต่างกัน 9. ผู้ใช้บริการที่มี เพศ อายุ รายได้ ต่างกันมีทัศนคติต่อบริการ E-Banking แตกต่างกัน
Other Abstract: The purpose of this research was to study the correlation among media exposure, knowledge, attitude, perceived uses and satisfaction with E-Banking service of Thai Commercial Banks. Questionnaires were used to collect the data from a total of 461 users’ samples. Frequency, Percentage, Mean, Pearson's Product Moment Correlation Coefficient, T-test, One-way ANOVA were employed for the test of the differences and the correlations among variables under study. SPSS program was used for data processing. The results of the study were as follows: 1. Exposure to information about E-Banking services from newspaper, magazines, bank's officials, bus stop ads pamphlets, folders, posters, ATM's ad. Thai commercial bank website, ATM slip positively correlated with knowledge. 2. Exposure to information about E-Banking services from newspaper, bank's officials, friend, bus stop ads, ATM’s ad , Thai commercial bank website, ATM slip positively correlated with attitude. 3. Exposure to information about E-Banking services from television, newspaper, magazines, friend, relatives, bus stop Ads, pamphlets, folders, ATM’s ad, Thai commercial bank website, ATM slip positively correlated with perceived uses. 4. Exposure to information about E-Banking services from bus stop ads, ATM’s ad, ATM slip positively correlated with satisfaction. 5. Knowledge about E-Banking services positively correlated with attitude, perceived uses and satisfaction on E-Banking services. 6. Attitude toward E-Banking services positively correlated with Satisfaction on E-Banking services. 7. Users differing in sex were exposure about E-Banking services from television, magazines, relatives, bus stop ads Pamphlets, folders, posters, ATM's ad and exhibition. Users differing in age were exposure about E-Banking services from newspaper, bank's officials, neighbor, ATM's ad and Thai commercial bank website. Users differing in education were exposure about E-Banking services from newspaper, neighbor, phone banking and Thai commercial bank website. Users differing in occupation were exposure about E-Banking services from neighbor, relatives, bus stop ads, pamphlets, folders, phone banking. Thai commercial bank website. Users differing in income were exposure about E-Banking services from radio, bank's officials, neighbor and phone banking. 8. Users differing in age, education, income is different in knowledge, perceived uses and satisfaction on E-Banking services. 9.Users differing in sex, age, income are different in attitude toward E-Banking services.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65325
ISBN: 9740306918
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pornpun_pr_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ867.9 kBAdobe PDFView/Open
Pornpun_pr_ch1_p.pdfบทที่ 1879.73 kBAdobe PDFView/Open
Pornpun_pr_ch2_p.pdfบทที่ 22.82 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_pr_ch3_p.pdfบทที่ 3806.01 kBAdobe PDFView/Open
Pornpun_pr_ch4_p.pdfบทที่ 42.27 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_pr_ch5_p.pdfบทที่ 52 MBAdobe PDFView/Open
Pornpun_pr_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.