Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66094
Title: การพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชาพื้นฐานดนตรี นาฏศิลป์และการละคร เพื่อพัฒนาสัมพันธภาวะของนักศึกษา : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ
Other Titles: A development of cooperative learning model on introduction to music, dance and drama course for developing student's interrelationships : a case study of Payap University
Authors: สมพันธ์ วงษ์ดี
Advisors: พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์
ปทีป เมธาคุณวุฒิ
Advisor's Email: Pansak.P@Chula.ac.th
mpateep@chula.ac.th
Subjects: การทำงานกลุ่มในการศึกษา--ไทย
การเรียนแบบมีส่วนร่วม--ไทย
ดนตรี--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Group work in education--Thailand
Active learning--Thailand
Music--Study and teaching--Thailand
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนแบบร่วมมือในรายวิชาพื้นฐานดนตรีนาฏศิลป์และการละคร เพื่อพัฒนาสัมพันธ์ภาวะของนักศึกษา และเพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของนักศึกษาระหว่างกลุ่มที่ใช้รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นและกลุ่มที่ใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามปกติในด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะสังคม และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือที่สร้างขึ้นมีลักษณะเด่นคือ การแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อยเริ่มจากการแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มละ 2 คน หลังจากนั้นมีการเปลี่ยนกลุ่ม โดยแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มละ 3, 4 และ 5 คน ตามลำดับ ส่วนการประเมินผล ใช้วิธีการที่หลากหลาย รวมทั้งการใช้วิธีการสอบแบบร่วมมือ รูปแบบการเรียนแบบร่วมมือที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นได้รับการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ และนำไปทดลองใช้จริงกับนักศึกษากลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษามหาวิทยาลัยพายัพ ปีการศึกษา 2543 จำนวน 76 คน มีการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนแบบร่วมมือ 3 ด้านคือ ด้านสัมพันธภาพระหว่างบุคคลประเมินโดยใช้แบบวัดระดับการยอมรับซึ่งกันและกัน และแบบวัดลักษณะส่วนบุคคล ด้านทักษะสังคมใช้แบบวัดลักษณะการพึ่งพาทางสังคม แบบวัดภาวะผู้นำ แบบวัดพฤติกรรมการจัดการกับความขัดแย้งและแบบวัดพฤติกรรมการสื่อสารด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนใช้แบบทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมจากแบบวัดและแบบ ทดสอบโดยใช้สถิติทดสอบ ที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมืคะแนนเฉลี่ยสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ทักษะสังคมและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สูงกว่านักศึกษากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2. หลังการทดลองนักศึกษากลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยสัมพันธภาพระหว่างบุคคล และทักษะสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3. นักศึกษากลุ่มทดลองมีความกระตือรือร้นในการเรียน มีสัมพันธภาพที่ดีระหว่างกัน มีการช่วยเหลือกัน มีความรับผิดชอบในการเข้าชั้นเรียน มีความเข้าใจและสามารถจดจำสาระวิชาได้ดี มีความกล้าในการแสดงความคิดเห็น และมีความคิดสร้างสรรค์
Other Abstract: The purpose of this research were to develop a cooperative learning model for an introductory course in Music, Dance, and Drama for developing student's interrelationships and for comparing the interpersonal relationships, social skills, and learning achievements of students who were taught by traditional method with those of students who were taught by cooperative learning model. The unique characteristics of the cooperative learning model are the grouping of students for small group learning starts from a group of 2 students then a group of 3, 4 and 5 students consequently and the using of variety of evaluation methods including the cooperative test-taking. The learning model was verified by experts and was implemented with students of Payap University in the academic year 2000-2001. The sample group consisted of 76 students. The effectiveness of the model was evaluated in 3 aspects; The personal Interrelationships were evaluated by using the Level of Acceptance and the Personal Patterns inventories. The social skills were evaluated by using the Social Independent, the Leadership Action, the Behavior in Controversies and the Communication Behavior inventories. The learning achievement was evaluated by using the Midterm and Final Examinations. The data that was collected from the inventories and the examinations were analyzed by t- test. The research results were as follows: 1. The experimental group obtained significantly higher scores than the control group on interpersonal relationships, social skills, and learning achievement (pc. 001) 2. In the experimental group, post-test scores on interpersonal relationships and social skills were significantly higher than pre-test scores (p<. 001) 3. The students in the experimental group were enthusiastic in learning, had good relationships among the classmates, helped each other, were responsible for class attendance, had well understanding and were able to retain the content of the subject, had courage in giving opinions and were creative.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66094
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.604
ISBN: 9740306381
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.604
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompan_wo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.04 MBAdobe PDFView/Open
Sompan_wo_ch1_p.pdfบทที่ 12.03 MBAdobe PDFView/Open
Sompan_wo_ch2_p.pdfบทที่ 24.15 MBAdobe PDFView/Open
Sompan_wo_ch3_p.pdfบทที่ 31.91 MBAdobe PDFView/Open
Sompan_wo_ch4_p.pdfบทที่ 44.12 MBAdobe PDFView/Open
Sompan_wo_ch5_p.pdfบทที่ 51.91 MBAdobe PDFView/Open
Sompan_wo_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.