Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66240
Title: การลดและควบคุมความสูญเสียจากการตัดในอุตสาหกรรมการขึ้นรูปโลหะแผ่น
Other Titles: Loss reduction and control of cutting in the sheet metal forming industry
Authors: พีระศักดิ์ ภู่อภิสิทธิ์
Advisors: วันชัย ริจิรวนิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: การควบคุมความสูญเปล่า
อุตสาหกรรมเครื่องครัว
โลหะ -- การตัด
การควบคุมการผลิต
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องครัวและอุปกรณ์เครื่องครัวเป็นอุตสาหกรรมขึ้นรูปโลหะแผ่น ซึ่งวัตถุดิบหลักที่ใช้ในการผลิตเป็นโลหะแผ่นประเภทแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิม ในสภาวะเหตุการณ์วิกฤตทางเศรษฐกิจและการลดค่าเงินบาทของประเทศไทย ราคานำเข้าสินค้าจึงสูงขึ้นมากส่งผลกระทบให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ส่งผลให้มีความจำเป็นต้องพัฒนาปรับปรุงกระบวน การตัดแผ่นเหล็กกล้าไร้สนิม เพื่อที่จะลดความสูญเสียของวัตถุดิบในกระบวน การผลิตและต้นทุนการผลิตการสูญเสียทางการผลิตนี้มีสาเหตุหลักมาจากการออกแบบชิ้นงาน การผลิตชิ้นงาน และจากการตรวจสอบชิ้นงานที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ต้องสูญเสียวัตถุดิบโดยไม่จำเป็น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อลดการสูญเสียวัตถุดิบ โดยการควบคุมการสูญเสีย จากการศึกษาพบว่า การสูญเสียวัตถุดิบนี้สามารถลดได้โดยการปรับปรุงการออกแบบและการใช้วัตถุดิบ การตัดวัตถุดิบ และการควบคุมการใช้เศษโลหะ ซึ่งส่งผลให้เกิดการปรับปรุงที่ดีขึ้น ดังนี้ 1. ค่าเปอร์เซ็นต์ของเศษวัสดุลดลงจาก 44.34% เป็น 30.17% 2. ตัวเลขของความผิดพลาดในกระบวนการตัดลดลงจาก 221 ครั้งเหลือ 165 ครั้ง
Other Abstract: Kitchen and Accessories manufacturing factory is a sheet metal forming industry whose raw materials are mainly stainless steel plate. Due to the recent economic crisis in Thailand and the devaluation of Thai currency, the price of imported items are increased tremendously, and result in higher cost of production. It is therefore necessary to improve the cutting process of stainless steel plates to reduce loss of material in the process and production cost. The loss of production is mainly from the inefficient work - design, production, and work-inspection resulted in unnecessary loss of raw material. The purpose of this study is to reduce loss of material by controlling. From the study, the material loss can be reduced by improving design and use of material, the material cutting method, and control the use of scrap. Improvement can be concluded as: 1. The percentage of scrap reduced from 44.34% to 30.17%. 2. The number of faulty of cutting operations reduced from 221 to 165 operations.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66240
ISBN: 9743463445
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerasak_ph_front_p.pdf836.58 kBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch1_p.pdf852.59 kBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch2_p.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch3_p.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch4_p.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch5_p.pdf3.17 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch6_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_ch7_p.pdf718.85 kBAdobe PDFView/Open
Peerasak_ph_back_p.pdf1.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.