Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66399
Title: | การตัดสินใจเชิงจริยธรรมของวัยรุ่น ที่สื่อสารในห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต |
Other Titles: | Ethical decision-making of teenagers communicating in the Internet chat room |
Authors: | พิเชษฐ์ เวชพลรักธรรม |
Advisors: | สุกัญญา สุดบรรทัด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาลตร์ |
Subjects: | จริยธรรม การตัดสินใจ ค่านิยม กลุ่มสนทนาออนไลน์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของวัยรุ่น ที่สื่อสารในห้องสนทนาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรวมไปถึงการศึกษาตัวแปรต่าง ๆ ว่ามีความสัมพันธ์ในลักษณะใดกับการตัดสินใจกระทำของวัยรุ่นต่อ สถานการณ์จำลองโดยใช้แบบสอบถามเพื่อการสำรวจ และการสัมภาษณ์ลึกเชิงกลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า ความแตกต่างระหว่างวัยรุ่นชายและวัยรุ่นหญิงมีผลต่อการตัดสินใจในแต่ละสถานการณ์ โดยวัยรุ่นชายจะมีการตัดสินใจยอมรับหรือปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์โดยอาศัยความพึงพอใจ และไม่ได้คำนึงถึงสังคมและคนรอบช้าง ในขณะที่วัยรุ่นหญิงจะมีการตัดสินใจยอมรับหรือปฏิบัติในแต่ละสถานการณ์โดยอาศัยความถูกผิดที่วัฒนธรรมและสังคมเป็นผู้กำหนด อย่างไรก็ตามวัยรุ่นส่วนใหญ่นิยมใช้ค่านิยมของการมีอิสรภาพอย่างไร้ขอบเขต ซึ่งก่อให้เกิดค่านิยมร่วมกัน ที่มุ่งเน้นไปในเรื่องของการแสวงหาความรักและความสัมพันธ์ทางเพศ |
Other Abstract: | This research, which uses both quantitative and qualitative approaches, has the following objectives: to analyze ethical decision-making of teenagers who converse in a chat room on the Internet, and to study the relationship between different variables and the decision-making of the sampled teenagers in a simulated scenario. The study employs questionnaires and in-depth interviews for the data collection. The study has the following main findings: 1) gender difference has an influence on the teenagers’ decision-making in a certain setting. While male teenagers use personal satisfaction as the main criteria in their ethical decision-making with little consideration about the surrounding social environment, female teenagers will base their ethical decision-making in the simulated scenarios upon commonly accepted social and cultural norms. 2) most of the studied teenagers display the value of unlimited freedom in their ethical decision-making. This has led to a formation of a common value which emphasizes the seeking of love and sexual relations. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66399 |
ISBN: | 9740309488 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pichet_ve_front_p.pdf | 1.01 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichet_ve_ch1_p.pdf | 918.98 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichet_ve_ch2_p.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichet_ve_ch3_p.pdf | 805.78 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichet_ve_ch4_p.pdf | 3.05 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichet_ve_ch5_p.pdf | 1.4 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pichet_ve_back_p.pdf | 849.7 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.