Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67009
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ วงษ์ทิม-
dc.contributor.advisorเกียรติ รักษ์รุ่งธรรม-
dc.contributor.authorนภัทร เขียวอ่อน-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-07-13T06:58:29Z-
dc.date.available2020-07-13T06:58:29Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9745325767-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67009-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractความสำคัญและที่มา : การศึกษาในอดีตพบว่าผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีมีอุบัติการณ์ของโรคระบบทางเดินหายใจมากกว่าประชากรปกติทั่วไปอันมีสาเหตุมาจากโรคติดเชื้อและโรคไม่มีการติดเชื้อและมีความสัมพันธ์กับระดับซีดีสี่ที่ลดลง ในประชากรผู้ใหญ่ไทยที่มีประวัติหอบหืด 8-15% แม้ว่าจะมีผู้ติดเชื้อเอชไอวีจำนวนเพิ่มขึ้น แต่มีการศึกษาเกี่ยวกับโรคหืดในผู้ป่วยกลุ่มนี้มีน้อย ตลอดจนยังไม่มีข้อมูลของความไวเกินของหลอดลมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประชากรไทยแต่อย่างใด วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบความไวเกินของหลอดลมระหว่างผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่น้อยกว่า 500 เซลล์ต่อไมโครลิตรกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี การออกแบบการวิจัย : เปรียบเทียบ, ในช่วงเวลาเดียวกัน เครื่องมือและวิธีวิจัย : อาสาสมัครที่ร่วมโครงการนี้ประกอบด้วยผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่น้อยกว่า 500 เซลล์ต่อไมโครลิตรที่มารับบริการผู้ป่วยนอกที่คลินิกภูมิคุ้มกันได้ถูกคัดเลือกแบบสุ่ม อาสาสมัครที่มีสุขภาพดีประกอบด้วยนิสิตแพทย์ แพทย์ประจำบ้านและบุคคลที่สมัครใจ โดยทั้งสองกลุ่มต้องไม่มีข้อห้ามในการทำการทดสอบ (ภาวะหลอดลมอุดกั้นอย่างรุนแรง, โรคหัวใจขาดเลือดหรือสมองขาดเลือดในช่วงเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา, ความดันโลหิตสูงเกินไป SBP>200 หรือ DBP>100 mmHg, โรคหลอดเลือดแดงใหญ่โป่งพอง, ไม่สามารถทำการตรวจสอบสมรรถภาพทางปอด หรือทำแล้วไม่สามารถแปลผลได้, มีโรคของกล้ามเนื้อที่เป็นอุปสรรคต่อการทดสอบ, ผู้ที่ใช้ยายับยั้งโคลินเอสเตอเรส และตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร) ผู้ที่ได้รับการทดสอบต้องเซ็นต์ยินยอมรับการทดสอบด้วยความสมัครใจ รวมมีอาสากลุ่มละ 105 คน ซึ่งได้รับการตรวจสมรรถภาพปอดด้วยการเป่ามาตรการหายใจและทดสอบความไวหลอดลมโดยใช้วิธีหายใจ 5 ครั้งผ่านทางเครื่องกำหนดขนาดยา ความเข้มข้น ของเมธาโคลีนที่ใช้ คือ 0, 1, 4 และ 6 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ผลการวิจัย : ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่น้อยกว่า 500 เซลล์ต่อไมโครลิตรจำนวน 105 คน เป็นเพศชาย 71 คน เพศหญิง 34 คน (68%, 32%) อายุเฉลี่ย 39.84±9.31 ปี, จำนวนคนที่สูบบุหรี่คิดเป็น 31.4% ได้รับยาต้านไวรัส 99 คน (ได้สูตรที่มีเนวิลาปีน 19 คน และ 80 คน ที่เหลือได้ยาสูตรที่มีเอฟาไวเรนซ์หรือโปรตีนเอสอินฮิบิเตอร์) มีประวัติเคยเป็น วัณโรคปอด 24.7%, ปอดอักเสบจากเชื้อนิวโมซีสติกแครินิไอ 10.5% และอื่นๆ 46.6%, ประวัติภูมิแพ้ของระบบทางเดินหายใจ (หอบหืด1.9% และภูมิแพ้ 14.2%) สำหรับกลุ่มอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีจำนวน 105 คน เป็นเพศชาย 64 คน เพศหญิง 41 คน (61%, 38%) อายุเฉลี่ย 36.04±12.69 ปี จำนวนคนที่สูบบุหรี่คิดเป็น 15.2% มีประวัติโรคหืด 6.6% และภูมิแพ้ 22.8% ผลการทดสอบความไวหลอดลมพบมีการตอบสนองไวเกิน 8 คนใน 105 คน (7.6%) ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ และ 12 คนใน 105 คน (11.4%) ในกลุ่มอาสาสมัครปกติ (p = 0.395) ในกลุ่มย่อยของผู้ติดเชื้อเอชไอวีแบ่งตามระดับซีดีสี่น้อยกว่า 200 และมากกว่าหรือเท่ากับ 200 คน แต่ไม่เกิน 500 เซลล์ต่อไมโครลิตร พบว่ามีการตอบสนองไวเกิน 2/38 (5.2%) และ 6/67 (8.9%) ตามลำดับ(p=0.531) สรุปผลการวิจัย : ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันระหว่างผลการทดสอบความไวหลอดลมในกลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่น้อยกว่า 500 เซลล์ต่อไม่โครลิตร กับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดี-
dc.description.abstractalternativeBackground : Previous studies have reported that HIV-infected individuals had higher incidence of respiratory problems than general population either infections or non-infectious causes and it was correlated with low CD4 cell counts. Approximately 8-15% of Thai adults have history of asthma. The prevalence of HIV-infected individual is on the rise however few studies investigated the issue of asthma in this population. There was no data on bronchial hyperresponsive (BHR) in HIV-infected Thai patient. Objective : To compare BHR between HIV-infected individuals with CD4<500 cells/µl and healthy volunteers. Study design : Analytic, cross-sectional study. Materials and methods : HIV-seropositive individuals with CD4<500 cells/µl were randomly enrolled from the Immune clinic of the King Chulalongkorn Memorial Hospital. Healthy volunteers were medical students, residents and others. All of them signed inform consent. A total of 105 per group were evaluated for pulmonary function test with spirometry and bronchial challenge test. Five breaths dosimeter method was used with a sequence of methacholine concentration of 0, 1, 4 and 16 mg/ml. Result : In the HIV-infected group (n=105): male: female = 71:34, mean age 39.84±9.31, history of smoking 31.4%. The healthy control (n=105):male: female = 64:41, mean age 36.04±12.69, history of smoking 15.2%. Combined antiretroviral therapy was taking in 94.2% (EFV and any PI based 80, NPV based 19). The HIV-infected patients had previous history of tuberculosis (TB) 24.7%, Pneumocystis carinii pneumonia (PCP) 10.5% and other 46.6%. Airway allergy was found more common in healthy volunteer (asthma 6.6% and allergy 22.8%) than in the HIV-infected subjects (asthma 1.9% and allergy 14.2%). BHR was detected in 7.6% of HIV-infected individuals and 11.4% of healthy volunteers (p = 0.395). In the subgroup analysis stratified by CD4+ cell count of <200 and ≥200-500cell/µl BHR was detected in 5.2% and 8.9%, respectively (p=0.531). Conclusion : There was no significant difference in the prevalence of BHR among HIV-infected volunteers compared to healthy volunteers.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผู้ติดเชื้อเอชไอวีen_US
dc.subjectหลอดลมen_US
dc.subjectตัวรับไวรัสen_US
dc.subjectซีดี4แอนติเจนen_US
dc.subjectHIV-positive personsen_US
dc.subjectBronchien_US
dc.subjectAcquired Immunodeficiency Syndromeen_US
dc.subjectCD4 antigenen_US
dc.subjectBronchial spasmen_US
dc.subjectViruses -- Receptorsen_US
dc.titleความไวของหลอดลมในผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่มีระดับซีดีสี่น้อยกว่า 500 เซลล์ต่อไมโครลิตรเปรียบเทียบกับอาสาสมัครที่มีสุขภาพดีen_US
dc.title.alternativeBronchial hyperresponsiveness in HIV-infected individuals with CD4<500 cells/microliter as compared to healthy volunteersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomkiat.W@Chula.ac.th-
dc.email.advisorkiat.r@chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nabhathara_kh_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ985.28 kBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_ch1_p.pdfบทที่ 1770.11 kBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_ch2_p.pdfบทที่ 21.75 MBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_ch3_p.pdfบทที่ 3895.22 kBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_ch4_p.pdfบทที่ 4985 kBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_ch5_p.pdfบทที่ 5678.7 kBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_ch6_p.pdfบทที่ 6717.68 kBAdobe PDFView/Open
Nabhathara_kh_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก1.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.