Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6730
Title: ผลกระทบของการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ที่มีต่อผู้เกี่ยวข้อง : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Impact of the new entrance examination system on stakeholders
Authors: สุชาดา บวรกิติวงศ์
สุวิมล ว่องวาณิช
อวยพร เรืองตระกูล
เอมอร จังศิริพรปกรณ์
ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง
Email: bsuchada@chula.ac.th
wsuwimon@chula.ac.th
Auyporn.R@chula.ac.th
Aimorn.J@Chula.ac.th
Lawthong_n@hotmail.com
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: wnonglak@chulal.ac.th
Subjects: สถาบันอุดมศึกษา--การสอบคัดเลือก
สถาบันอุดมศึกษา--การรับนักศึกษา
การศึกษาขั้นอุดมศึกษา
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อจะศึกษาสภาพปัญหา ผลกระทบ และความพึงพอใจจากการใช้ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในปัจจุบัน และเพื่อเสนอรูปแบบการสอบที่เหมาะสมในการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 7 กลุ่มคือ (1) นักเรียนที่เข้าสอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ในเดือนเมษายน 2544 จำนวน 1,197 คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ปีการศึกษา 2544 จำนวน 3,090 คน (2) ผู้ปกครองนักเรียนที่สอบคัดเลือกเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ในเดือนเมษายน 2544 จำนวน 220 คน และผู้ปกครองของนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 ในปีการศึกษา 2544 จำนวน 842 คน (3) ครูในโรงเรียนที่สอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 545 คน (4) อาจารย์หรือผู้บริหารคณะวิชาในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ จำนวน 90 คน (5) นิสิตหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สังกัดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชน จำนวน 616 คน (6) ผู้ดำเนินการในสถาบันกวดวิชาที่เปิดสอนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน และ (7) นักการศึกษา จำนวน 25 คน การเก็บข้อมูล แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลจากนักเรียนและผู้ปกครองของนักเรียนที่มาสอบในเดือนเมษายน 2544 เพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการศึกษาในระยะที่ 2 ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลจาก 7 แหล่งประกอบด้วย (1) ข้อมูลนักเรียนที่กำลังเรียนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (2) ผู้ปกครองนักเรียน (3) ครู (4) อาจารย์/ผู้บริหารมหาวิทยาลัย (5) นิสิต/นักศึกษาชั้นปีที่ 1 (6) ผู้บริหารสถาบันกวดวิชา และ (7) นักการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 3 ชุดคือ (1) แบบสอบถามเกี่ยวกับปัญหา ผลกระทบ และความพึงพอใจของการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ที่มีต่อนักเรียน ผู้ปกครอง ครูในโรงเรียน อาจารย์มหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา และนิสิตหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (2) แบบสัมภาษณ์ปัญหา ผลกระทบ และความพึงพอใจของการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบใหม่ที่มีต่อสถาบันกวดวิชาและ (3) แบบสัมภาษณ์เพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงลึก เพิ่มเติมจากแบบสอบถาม จากกลุ่มนักเรียน ครูอาจารย์หรือผู้บริหารมหาวิทยาลัยหรือสถาบันอุดมศึกษา และนิสิตหรือนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย (1) วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและความคิดเห็นในด้านต่างๆ ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) วิเคราะห์การเท่ากันของสัดส่วน k สัดส่วน โดยใช้ X[superscript 2] - test (3) ทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างของค่ามัธยฐานระหว่างกลุ่ม โดยใช้สถิติ kruskal-Wallis test และทดสอบความแตกต่างของค่ามัธยฐานรายคู่ภายหลัง (Posthoc Comparision) ด้วยวิธีการของ Kruskal-Wallis test สำหรับข้อมูลไม่ต่อเนื่อง (4) ทดสอบความมีนัยสำคัญของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ภายหลัง (Posthoc Comparision) ด้วยวิธีการของ LSD สำหรับข้อมูลต่อเนื่อง (5) วิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และ (6) สังเคราะห์ข้อมูลจากทั้ง 7 แหล่งข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 6 กลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าปัญหาที่เกิดจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาขณะนี้ เป็นปัญหาในระดับปานกลาง ปัญหา 3 ลำดับแรก ได้แก่ เป็นระบบที่ก่อให้เกิดการเรียนที่มุ่งเน้นการสอบคัดเลือก เป็นระบบที่ก่อให้เกิดความเครียดแก่ผู้สอบและญาติพี่น้อง และเป็นระบบที่ทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการกวดวิชา ในขณะที่นักการศึกษาเป็นว่า ปัญหาที่เกิดจากการสอบคัดเลือกมากที่สุดคือ มาตรฐานของเกรดเฉลี่ยสะสม (GPAX) ของแต่ละโรงเรียนไม่เท่ากัน ปัญหารองลงมาได้แก่ ปัญหาความไม่ยุติธรรมจากการใช้ตำแหน่งเปอร์เซนต์ไทล์ (PR) เนื่องจากโรงเรียนที่มีขนาดเล็กจะได้เปรียบโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่และพบว่าข้อสอบแต่ละครั้งมีความยากง่ายไม่เท่ากัน ช่วงเวลาของการจัดสอบไม่สอดคล้องกับระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา และเกิดความสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเรียนกวดวิชา 2. ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 6 กลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าผลกระทบจากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่เกี่ยวกับระบบการศึกษา มีผลกระทบในระดับมาก ได้แก่ นักเรียนต้องแข่งขันกันเพื่อทำเกรด นักเรียนต้องเร่งเรียนให้ครบทุกเนื้อหาวิชาให้จบก่อนเดือนตุลาคม ครูต้องเร่งสอนให้ครบถ้วนตามหลักสูตรก่อนสอบเดือนตุลาคม และนักเรียนต้องตั้งใจเรียนทุกวิชา ส่วนผลกระทบที่มีผลต่อนักเรียนโดยตรง คือ สุขภาพทรุดโทรมลง เวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย ทำงานอดิเรก และการทำกิจกรรมในโรงเรียนน้อยลง ในขณะที่นักการศึกษาเห็นว่าการสอนคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาก่อให้เกิดผลกระทบในทางบวก ได้แก่ การสอบ 2 ครั้งทำให้เด็กมีโอกาสแก้ตัว ลดความเครียด แต่การสอบคัดเลือกระบบนี้ก่อให้เกิดผลกระทบในทางลบ ได้แก่ การเรียนที่มุ่งเน้นการสอบมากเกินไป 3. ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 6 กลุ่มมีความพึงพอใจต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระดับมาก 3 ลำดับแรกคือ การทราบคะแนนก่อนตัดสินใจเลือกคณะ การสอบมากกว่า 1 ครั้ง และการให้โอกาสผู้สมัครเลือกคะแนนครั้งที่ดีที่สุดจากการสอบมาใช้สมัคร ส่วนความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้องที่มีต่อการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระดับน้อย ได้แก่ ช่วงเวลาการจัดสอบในเดือนมีนาคมและตุลาคม ความยุติธรรมและความโปร่งใสของการสอบเอนทรานซ์ และการให้น้ำหนักความสำคัญขององค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือก 4. ปัจจัยที่ทำให้นักเรียนสอบผ่าน/ไม่ผ่านการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา จากการสอบถามจากนิสิตและนักศึกษา ได้แก่ การทราบคะแนนก่อนตัดสินใจเลือกคณะ การวางแผนการเรียน เกรดเฉลี่ยสะสม และการฝึกทำข้อสอบเก่า 5. ผู้เกี่ยวข้องทั้ง 6 กลุ่มมีความคิดเห็นเกี่ยวกับรูปแบบการสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในอนาคต ในด้านองค์ประกอบและน้ำหนักที่ใช้ในการคัดเลือกควรมี 5 องค์ประกอบได้แก่ คะแนนสอบวิชาหลัก น้ำหนัก 40% คะแนนสอบวิชาเฉพาะน้ำหนัก 20% คะแนนสอบวิชาความถนัดทางการเรียน (SAT) น้ำหนัก 18% เกรดเฉลี่ย (GPAX) น้ำหนัก 12% และตำแหน่งเปอร์เซนต์ไทล์ (PR) น้ำหนัก 10% และควรนำผลการประเมินด้านคุณธรรมเข้ามาใช้ในการคัดเลือก ส่วนในด้านการจัดการ มีความเห็นว่าผู้รับผิดชอบในการจัดสอบคัดเลือกควรเป็นส่วนกลางหรือทบวงมหาวิทยาลัย ในขณะที่นักการศึกษาเห็นว่าควรจะใช้ 4 องค์ประกอบในการคัดเลือก ได้แก่ ความสามารถทางวิชาการ ความถนัด ความสนใจ และเกรดเฉลี่ยสะสมจากชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPAX) และมีความเห็นเพิ่มเติมว่า ควรมีข้อสอบแบบเขียนบรรยายและการทำกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม สำหรับการจัดการ นักการศึกษามีความเห็นว่า ควรมีหน่วยงานกลางรับผิดชอบในการจัดสอบ โดยมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นผู้ตั้งเกณฑ์การคัดเลือกควรจัดสอบ 2 ครั้งต่อปี และแปลงคะแนนให้เป็นคะแนนมาตรฐานก่อนนำคะแนนจากการสอบแต่ละครั้งมารวมกัน เก็บคะแนนได้ไม่เกิน 2 ปี และเลือกได้ไม่เกิน 2-3 อันดับ 6. รูปแบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาที่เหมาะสมกับประเทศไทยจากการสังเคราะห์ข้อมูลจาก 7 แหล่งที่เกี่ยวข้อง ได้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับรูปแบบที่เหมาะสมสรุปได้ดังนี้ ควรมีองค์กรอิสระรับผิดชอบในการจัดสอบคัดเลือก องค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือก ได้แก่ พุทธิศึกษา จริยศึกษา หัตถศึกษาและพลศึกษา โดยพุทธิศึกษาอาจพิจารณาจากความถนัดทางการเรียน (general aptitude test) GPAX ที่มีการปรับเทียบแล้วโดยอาจได้จากคะแนนสอบของกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่มจากการสอบระดับชาติ จริยศึกษาพิจารณาจากคุณธรรม จริยธรรมโดยอาจใช้แฟ้มสะสมงานจากโรงงาน หัตถศึกษาพิจารณาจาก การฝึกอาชีพภาคสนาม 1 เดือน และวัดแววอาชีพจากการสอบ specific aptitude test และพลศึกษาพิจารณาจาก สุขภาพที่ได้คะแนนจากกลุ่มสาระวิชาสุขศึกษาและพลศึกษาจากการสอบระดับชาติ สำหรับการจัดการ ควรจัดให้มีการสอบปีละ 2 ครั้ง เก็บคะแนนไว้ได้ 1-2 ปี และมหาวิทยาลัยแต่ละแห่งเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับรายวิชาที่ต้องการและน้ำหนักแต่ละองค์ประกอบกันเอง
Other Abstract: The purposes of this research were to study the problems, impact, and satisfaction of the new entrance system and to propose the appropriate entrance system in the future. Samples consisted of 7 groups. They were (1) 1,197 students who came to the entrance examination in April, 2001 and 3,090 students studying in Mathayomsuksa 4-6, (2) 220 students' parents who showed at the entrance examination in April, 2001 and 842 students' parents whose students studying in Mathayomsuksa 4-6, (3) 545 teachers, (4) 90 instructors or administrators in public universities, (5) 616 freshmen in public or private universities, (6) 20 owners of tutoring institute, and (7) 25 educators. For data collection there were 2 phrases, Phrase 1, data were collected from students and their parents who came to the entrance examination in April, 2001. The results from this phrase would be used for the 2nd phrase plan. Phrase 2, data were collected from 7 groups as follows: (1) Mathayomsuksa 4-6 students, (2) students' parents, (3) teachers, (4) instructors or administrators in public universities, (5) freshmen in public or private universities, (6) owners of tutoring institute, and (7) educators. The instruments were questionnaires and 2 interviewing forms. Descriptive statistic were used to analyze the sample profile and their opinions. The chi-square test was used to check the equality of k proportions. Kruskal-Wallis test was used to analyze test was used to check the equality of k proportions. Kruskal-Wallis test was used to analyze the difference of the median among k populations and its post hoc comparision, for discrete data. The analysis of variance was used to analyze the difference of the mean among k populations and LSD was used for the post hoc comparision, for continuous data. The content analysis was performed for the qualitative data. Finally, the results from 7 sources of data were synthesized. The major findings were as follows: 1. The 6 samples agreed that the problems of the entrance system was at the middle level. The three highest problems were (1) the system made students focus on the entrance examination too much, (2) students and their parents got high stress, (3) the system made them spend more money to the tutoring institute. On the other hand, educators concluded that the big problem was on the standard of GPAX and PR from different schools. The next problems were the difficulty of the exam questions each time was unequal, the time of the examination was not appropriate to the school system, and the system increased number of students to the tutors. 2. The opinions of 6 samples agreed that the three most impact of the entrance system were on the competition for the good GPAX, students rushed their studying, and teachers rushed their teaching. In addition, the direct impact on students were worse healthy, less time for relaxing and exercising, no time for hobby and school activities; whereas, the educators thought that the positive impact of the system was on the having more than one times per year of the exam becausetesting twice a year could make students up their scores and lower their stress. The negative impact was that the system made students too concentrate on the entrance examination. 3. The three highest satisfaction of the 6 samples were to know the score before making the decision in choosing the faculty, to have a test twice a year, and to be able to select the highest score before applying to the university. On the contrary, lowest satisfaction were the exam time during March and December, Justice and transparency of the system, and the weight of each factor in selection process. 4. The 4 most important causes making students pass the entrance exam were knowing the score before making the decision in choosing the faculty, the study plan, the high school GPAX, and the practice on entrance examination questions. 5. The entrance system in the future should consist of 5 factors: the fundamental subject scores with the weight of 40%, the specific subject score with the weight of 20%, the aptitude test score with the weight of 18%, the high school GPAX with the weight of 12%, and the PR with the weight of 10%. In addition, was should count the score from the moral practice. For the management, the results suggested to have an independent organization in handling the entrance examination. In educators' ideas they agreed with 4 factors in the selection process such as academic achievement, aptitude test, student's interest, and the high school GPAX. Moreover, they recommended to add the essay exam format, working for the public activities, and the moral evaluation. For management, educators also suggested having an independent organization in responsibility on this issue and each university provided selection criteria. They also recommended to continue having the examination twice a year, changing the raw score to the standard score before combining scores from each time because of the differences in difficulties of the examination, and choosing only 2-3 faculties a time. 6. After synthesizing 7 sources of sample data, the proposed entrance system in the future could be concluded as follows: (1) having an independent organization in responsibility of the entrance system, (2) selecting factors are from 4 domains: cognitive domain, affective domain, skill domain, and health domain. The synthesized results recommended that general aptitude score and the high school GPAX equated by using the national examination were accounted for the cognitive domain. The moral practice and working for the public were accounted for affective domain. A one-month working experience in the field they like and the score from the specific subject areas were accounted for the skill domain. Lastly, healthy score from the national examination they had in school was accounted for the health domain, (3) having the examination twice a year and students could keep their scores 1-2 years, (4) each university provided the selection criteria and gave them to the independent organization.
Description: นักวิจัยผู้ช่วย : วิยดา เหล่มตระกูล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6730
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada(Impact).pdf13.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.