Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67861
Title: การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จและแนวทางการว่าจ้างดำเนินงานบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคของอาคารมหาวิทยาลัย
Other Titles: Analysis of critical success factors and guidelines for outsourcing facility maintenance of university buildings
Authors: นรินทร์ ศรีแก้ว
Advisors: วิศณุ ทรัพย์สมพล
Advisor's Email: Wisanu.S@chula.ac.th
Subjects: อาคาร -- การบำรุงรักษาและการซ่อมแซม
การว่าจ้างให้ผู้อื่นทำงานแทน
Buildings -- Maintenance
Contracting out
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ได้ทำการสำรวจระดับความคิดเห็นของผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงานบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคประกอบอาคาร โดยพิจารณาทั้งปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคของอาคารมหาวิทยาลัย และความถี่ในการเปิดปัญหาจากปัจจัยนั้น ๆ ซึ่งพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จมาก และพบปัญหาบ่อยครั้งในการดำเนินงานบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคประกอบอาคารมีทั้งหมด 10 ปัจจัย ได้แก่ (1) ประสบการณ์ดำเนินงานของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานบำรุงรักษา (2) จำนวนบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน (3)จำนวนบุคลากรผู้กำกับดูแลควบคุมตรวจสอบผลการดำเนินงาน (4)ทักษะความสามารถในการใช้ระยะเวลาปฏิบัติงานของบุคลากร (5) ระยะเวลาดำเนินการจัดซื้อ-จัดจ้าง (6) ระยะเวลาในการเบิกจ่ายงบประมาณบำรุงรักษา (7) ความสามารถของบุคลากรที่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติเบื้องต้นจากการว่าจ้าง (8) การกำหนดระยะเวลาในการเข้ามาดำเนินการแก้ไขข้อพบพร่องที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขการรับประกันผลการดำเนินงาน(9) การถ่ายทอดเทคโนโลยีและ (10) การฝึกอบรบบุคลากร ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้แสดงถึงการวิเคราะห์สาเหตุของการเกิดปัจจัยต่าง ๆ และแนวทางการบริหารจัดการ โดยพิจารณาถึงแต่ละปัจจัยทั้ง 10 ปัจจัยนี้ นอกเหนือจากนี้ยังพบกลุ่มปัจจัยที่แม้ว่าจะเกิดปัญหาเนื่องจากปัจจัยดังกล่าวน้อยครั้ง แต่ยังคงมีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการดำเนินงานบำรุงรักษาอีก 16 ปัจจัย จากกลุ่มปัจจัยทั้ง 26 ปัจจัยที่มีความสำคัญอย่างมากต่อความสำเร็จในการเนินงานข้างต้นนี้ ได้นำไปประยุกต์ใช้พัฒนาแนวทางการว่าจ้างดำเนินงานบำรุงรักษาระบบสาธารณูปโภคประกอบอาคาร โดยงานวิจัยนี้ได้เสนอแนวทางการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นของผู้รับจ้าง โดยพิจารณาถึงคุณสมบัติบุคลากร ประสบการณ์ ดำเนินงานของบริษัท และสภาพทางการเงินของผู้รับจ้าง สำหรับแนวทางการประเมินข้อเสนอโครงการของผู้รับจ้างนั้น ควรพิจารณาถึงข้อเสนอทางด้านราคา และข้อเสนอทางด้านเทคนิคในเงื่อนไขการจัดหาอะไหล่อุปกรณ์ ตามข้อเสนอโครงการ และรายการข้อกำหนดการดำเนินงาน ซึ่งมีแนวทางการจัดทำโดยพิจารณาถึงหัวข้อต่าง ๆ ได้แก่ วัตถุประสงค์ ขอบเขตของการดำเนินงาน มาตรฐานในการดูแลรักษา ข้อกำหนดในการดูแลรักษาคุณสมบัติบุคลากร การเงิน การรับประกันผลงาน การตรวจรับงาน การประเมินผลงาน การประหยัดพลังงาน การจัดหาเครื่องมืออุปกรณ์สนับสนุนการดำเนินงาน อะไหล่อุปกรณ์สำรอง และวัสดุสิ้นเปลือง รวมไปถึงการฝึกอบรมบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการว่าจ้างดำเนินงานบำรุงรักษา ระบบสาธารณูปโภคประกอบอาคาร สามารถนำแนวทางดังกล่าวไปประยุกต์ใช้ในการว่าจ้างให้เหมาะสมกับนโยบายแต่ละองค์กรต่อไปได้
Other Abstract: This research surveys on opinions of the people who involved in facility maintenance of university buildings, considering the critical success factors and the frequency of problems found due to such factors. Ten factors which are considered as very important and frequently occurred are (1) experience of the maintenance staff or contractor, (2) number of operating staff, (3) number of inspectors, (4) skill in operating time of staff, (5) procurement time, (6) time for obtaining maintenance budget, (7) quality of qualified contractor, (8) time to correct the mistakes under the warranty condition, (9) technology transfer, and (10) staff training. This research also analyses the critical success factors and provides a guideline for managing facility maintenance regarding to such factors. In addition, sixteen more factors are also considered as important factors although they are less frequently occurred. Studying all types of factors affecting the success of facility maintenance leads to the development of a guideline for procuring the facility maintenance contractor. This research provides pre-qualification criteria for contractor such as personal qualification, company experience in facility maintenance, as well as company’s financial status. With regards to guideline for evaluating project proposals from contractors, it is important to evaluate both financial and technical proposals, with respect to conditions of providing spared-part equipments, and project operational plan. The operational assessment should consider according to the proposal and the Term of Reference (TOR). The TOR should include objectives, scope of works, maintenance standards and specifications, personnel qualification, financial terms and conditions, warranty, assessment and evaluation procedure, energy saving plan, equipment availability, staff training, and technology transfer. This findings and suggestions could benefit the person who is responsible for procuring building facility maintenance operator.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67861
ISBN: 9745325635
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narin_sr_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.01 MBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch1_p.pdfบทที่ 1898.72 kBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch2_p.pdfบทที่ 21.89 MBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch3_p.pdfบทที่ 31.13 MBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch4_p.pdfบทที่ 41.93 MBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch5_p.pdfบทที่ 51.96 MBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch6_p.pdfบทที่ 61.4 MBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_ch7_p.pdfบทที่ 7840.18 kBAdobe PDFView/Open
Narin_sr_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.