Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67944
Title: ผลกระทบจากการท่องเที่ยวต่อปะการัง
Other Titles: Impact of tourism on coral
Authors: นฤมล กรคณิตนันท์
Advisors: สุรพล สุดารา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: นักดำน้ำ
ปะการัง
แนวปะการัง
การท่องเที่ยว
Divers
Corals
Coral reefs and islands
Travel
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การท่องเที่ยวทางทะเลมีความสำคัญ แต่กิจกรรมบางอย่างและพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีส่วนทำให้บริเวณปะการัง ซึ่งเป็นทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญเกิดเสื่อมโทรมทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น เรือท่องเที่ยวทิ้งสมอลงบนปะการัง นักท่องเที่ยวทิ้งขยะ นักดำน้ำจับ หรือยืนเหยียบปะการังขณะที่ดำน้ำ ทำให้ปะการังแตกหักเสียหาย รีสอร์ทหรือโรงแรมระบายน้ำเสียลงในบริเวณปะการังทำให้คุณภาพนํ้าเสื่อมโทรม เป็นต้น จากการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสัมผัสปะการังหรือสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลของนักดำน้ำ 3 ประเภท คือ SCUBA divers, snorkelers และ sea walkers พบว่าในเวลาการดำน้ำ 30 นาทีนักดำน้ำแบบ snorkeling แต่ละคนจะสัมผัสปะการังเฉลี่ย 19 ครั้งมากกว่านักดำน้ำแบบ SCUBA และ sea walking ซึ่งสัมผัสเฉลี่ย 11 และ 1 ครั้งตามลำดับ การสัมผัสที่เกิดจากนักดำน้ำแบบ snorkeling ทำให้ปะการังเกิดการแตกหักสูงถึงร้อยละ 82.34 ของการสัมผัสทั้งหมด นักดำน้ำแบบ sea walking ทำให้ประการังเกิดการแตกหักเพียงร้อยละ 0.78 ของการสัมผัสทั้งหมด ส่วนการสัมผัสของนักดำน้ำแบบ SCUBA จะไม่ทำให้เกิดการแตกหักของปะการังหรือถ้ามีก็เป็นส่วนน้อยเท่านั้น เกาะนางยวนเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวนิยมไปดำน้ำดูปะการัง ในระยะเวลาประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา ปริมาณปะการัง มีชีวิตเปลี่ยนแปลงลดลงประมาณ 17 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเปรียบเทียบกับอ่าวโฉลกบ้านเก่าของเกาะเต่า ซึ่งอยู่ในบริเวณไม่ห่างกันนัก แต่เป็นพื้นที่ซึ่งนักท่องเที่ยวไม่นิยมไปดำน้ำดูปะการัง กลับพบว่าปริมาณปะการังมีชีวิตเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากเดิมเล็กน้อย การเปรียบเทียบผลกระทบจากการท่องเที่ยวในบริเวณปะการัง 4 แห่ง ได้แก่บริเวณ ปะการัง 2 แห่งที่หาดทองหลาง และหาดสังวาลย์ ของเกาะล้าน และบริเวณปะการังอีก 2 แห่งที่เกาะนางยวนและอ่าวโฉลกบ้านเก่าของเกาะเต่า ซึ่งแต่ละแห่ง ถูกใช้เพื่อการท่องเที่ยวในช่วงระยะเวลายาวนานแตกต่างกัน และมีจำนวนนักท่องเที่ยวมากน้อยแตกต่างกันด้วย พื้นที่ทั้ง 4 แห่ง พบร่องรอยการแตกหักของปะการังในจำนวนที่ใกล้เคียงกัน คือ 1.67-2.83 จุดบนความยาวเส้นเทป 30 เมตร บน reef flat หรือในบริเวณน้ำตื้น นักดำน้ำจะเดินเหยียบบนปะการังทำให้เกิดความเสียหายมาก จึงพบร่องรอยการแตกหักของปะการังมากกว่าบริเวณ reef slope หรือบริเวณน้ำลึก บริเวณที่มีนักท่องเที่ยวมาก ๆ เช่น เกาะล้าน พัทยา พบว่าขยะที่รวบรวมได้จากบริเวณ ปะการัง ส่วนมากเป็นขยะที่มาจากการกิจกรรมท่องเที่ยว เช่น ขวดเบียร์ โดยพื้นที่ที่ถูกใช้เพื่อการท่องเที่ยวมายาวนานกว่า คือหาดสังวาลย์ และหาดทองหลางจะรวบรวมขยะได้ปริมาณ มากกว่าที่เกาะนางยวนและอ่าวโฉลกบ้านเก่า นอกจากนี้จากการตรวจสอบปริมาณก้อน น้ำมันดิน ซึ่งวิธีหนึ่งที่ใช้เปรียบเทียบความสกปรกของน้ำมันที่มาจากเรือนำเที่ยว พบก้อนน้ำมันดินปริมาณ เล็กน้อย ที่หาดสังวาลย์และหาดทองหลาง แต่ที่เกาะนางยวนและอ่าวโฉลกบ้านเก่าไม่พบก้อนน้ำมันดินเลย สำหรับการตรวจสอบคุณภาพน้ำ โดยวิเคราะห์หาปริมาณตะกอนแขวนลอย ไนเตรท และฟอสเฟต พบว่าที่หาดสังวาลย์และหาดทองหลางซึ่งมีกิจกรรมการ ท่องเที่ยวมากและอยู่ใกล้กับแผ่นดินใหญ่นั้น มีค่าเฉลี่ยปริมาณ ตะกอนแขวนลอย ไนเตรท และฟอสเฟตมากกว่าที่เกาะนางยวนและอ่าวโฉลกบ้านเก่าเล็กน้อย
Other Abstract: Marine tourism is very prominent, but some activities and behaviors of tourists can cause deterioration to coral reefs, which is one of the important resources for tourism. Tourism can pose severals problem s to corals for examples, anchoring of touristic boats on corals, accumulation of garbages, divers stand or walk on coral. Damage corals while diving, hotels and resorts discharge waste water caused degradation in water quality. Comparing the behavior of three types of divers, SCUBA divers, snorkellers and sea walkers which might cause damage to the corals while diving, the results revealed that in 30 minutes diving interval each snorkeller touched coral or other marine biota 1S times that more than SCUBA divers and sea walkers who touched 11 and 1 times, respectively. The touching by snorkellers let to corals breakage up to 82.34%, only 0.78% by sea walkers, whereas SCUBA divers did not result in any notable breakage. Within the period of 5 years. Nang-Yuan Island, one of the most popular snorkelling site, living coral coverage declined about 17% from what it used to be. In contrast, at Chalok-Bankao Bay, which was less popular snorkelling site, the percentage of living coral was on the contrary slightly increased. Four selected areas, two coral com m unities in Thonglang and Sungwan beach at Larn Island, off Pattaya Chonburi Province and two coral com m unities in Nang-Yuan Island and Chalok-Bankao Bay at Tao Island, Surathani Province, each site had been opened up differently both in time and frequency in use. Four studied areas had almost same extext of coral breakage between 1.17-2.83 points per length of line 30 m. On the reef flat or shallow water zone divers alway standed on coral which caused more breakage than divers who visited reef slope or deep zone. At Koh Larn, Pattaya, a popular touristic site, garbages collected from coral com m unities area composed of glass bottles. More garbages were collected from Thonglang and Sungwan beach, more visited by tourists than Nang-Yuan Island and Chalok-Bankao Bay. Moreover, the detection of tar balls on the beaches used for comparing the extent of pollution from boats revealed that little tar balls were found on Thonglang and Sungwan beach, while no detection was reported from the beaches at Nang-Yuan Island and Chalok-Bankao Bay. As for the analysis of water quality, total suspension solid, nitrate and phosphate at Thonglang and Sungwan beach which had more tourism activities and closer to the mainland were slighly higher than the values obtained from Nang-Yuan Island and Chalok-Bankao Bay.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/67944
ISBN: 9746397125
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Narumol_ko_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.07 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ko_ch1_p.pdfบทที่ 11.1 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ko_ch2_p.pdfบทที่ 21.56 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ko_ch3_p.pdfบทที่ 32.03 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ko_ch4_p.pdfบทที่ 42.27 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ko_ch5_p.pdfบทที่ 51.05 MBAdobe PDFView/Open
Narumol_ko_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.