Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69072
Title: หมอลำกกขาขาว
Other Titles: Mohlam Kok Kha Khao
Authors: สุขสันติ แวงวรรณ
Advisors: สุรพล วิรุฬห์รักษ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Surapone.V@Chula.ac.th
Subjects: หมอลำ
การรำ -- ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ)
หมอลำกกขาขาว
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่องหมอลำกกขาขาวเป็นการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาการของหมอลำในช่วง พ.ศ. 2495-2528 โดยมุ่งศึกษาเกี่ยวกับหมอลำกกขาขาว การศึกษาใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลโดยการค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการ การสังเกตการณ์สาธิตการแสดงในอดีต รวมทั้งสัมภาษณ์ศิลปินหมอลำ อาวุโส และท่านผู้รู้หลายท่าน ผลการวิจัยพบว่าหมอลำกกขาขาวเป็นหมอลำประเภทหนึ่งที่แยกตัวออกจากหมอลำหมู่เมื่อประมาณ พ.ศ. 2495 มีการพัฒนาการแบ่งเป็น 5 ยุค คือ 1. ยุคกำเนิดประมาณ พ.ศ. 2495-2499 2. ยุคสร้างความนิยมประมาณ พ.ศ.2499-2503 3. ยุคทองประมาณ พ.ศ. 2503-2508 4. ยุคเสื่อม ประมาณ พ.ศ. 2508-2515 5. ยุค ฟื้นฟู ประมาณ พ.ศ. 2518-2528 ข้อมูลที่ผู้วิจัยค้นพบมากที่สุดเป็นข้อมูลในยุคฟื้นฟู ประมาณ พ.ศ. 2515-2528 คือหมอลำคณะ ช วาทะศิลป์ จากการศึกษาพบว่าหมอลำกกขาขาวคณะนี้จัดแสดงเรื่องสังข์ศิลป์ชัยเพียงเรื่องเดียวใช้ผู้หญิงแสดงทั้งหมดพระเอกแต่งกายโดยสวมเชิ้ตแขนสั้นสีขาว สวมหมวกปีก สวมถุงเท้ากีฬายาว แค่เข่านุ่งกางเกงขาสั้น เห็นโคนขาขาว จึงได้ชื่อว่า หมอลำกกขาขาว การแสดงหมอลำกกขาขาว แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นก่อนแสดง ขั้นทำการแสดง ขั้นหลังจากแสดง การฟ้อนรำ มีพบในระหว่างทำการแสดง ปกติผู้แสดงทุกคนฟ้อน แต่ตัวพระเอกทั้ง 3 คนจะฟ้อนพร้อมกัน อย่างมีแบบแผน ผู้แสดงทำการฟ้อนรำหลังจากลำตอนไป ซึ่งเป็นการร้องเพื่อส่งตัวละครเข้าฉาก การฟ้อนรำ พบว่ามี 11 กระบวนท่าและมี 3กระบวนทำที่ใช้ฟ้อนมากที่สุดคือท่าม้ากระทืบโรง ท่าเดิน ท่าเดินข้วง สาเหตุที่หมอลำกกขาขาวเสื่อมความนิยมสันนิษฐานว่าเกิดจากกระแสความนิยมเปลี่ยนไปเป็นหมอลำเพลิน นอกจากนั้นเรื่องการเงินภายในคณะก็อาจเป็นปัญหาใหญ่ที่สร้างความแตกแยกทำให้หมอลำกกขาขาวหลายคณะสลายตัวไป ในปัจจุบันไม่ปรากฎว่ามีหมอลำกกขาขาวแสดงอีกเลย ผู้วิจัยขอเสนอว่าน่าจะมีการทำวิจัยเกี่ยวกับหมอลำประเภทต่าง ๆ ที่สาบสูญไปแล้ว เพื่อให้เห็นภาพประวัติศาสตร์ของหมอลำชัดเจนขึ้น
Other Abstract: Mohlam Kok Kha Khao is a research aims at a historical reconstruction of a kind of Mohlam or folk drama in Northeastern Thailand during 1952 - 1985, called Mohlam Kok Kha Khao. The information derived from documentary, observation of demonstration of the past performances, and also from interviewing artists and resource persons. The research finds that Mohlam Kok Kha Khao is a kind of Mohlam deviated from Mohlam Moo and early dramatic form around 1952. Its development can be devided into 5 stages; 1. The Beginning 1952 - 1956,2. The Development 1956 - 1960,3. The Golden Age 1960 -1965, 4. The Declination 1965 - 1972, and the Renaissance 1975 -1985. During the last stage, only Cho Watasin troupe existed. Its repertoire is only Sang Sin Chai play. Performers were all females. Hero wore white shirt, cowboy hat, knee-length stocking, and short pants showing white upper legs. This is how it was named Kok Kha Khao Mohlam Kok Kha Khao perfonnance has three parts, pre-performance, play proper, and port performance. Dance is found during play proper. Normal every performer dances but the three heroes dance in unison with a standard pattern. They usually dances after the singer sings the Lam Ton Pai to indicate departure of the characters. Eleven dance movements are found and three of which are commonly used. They are: tapping right or left foot, walking up and down stage and walking in circle. Mohlam Kok Kha Khao probably disappeared because of the business conflict among members of the troupe and because of the rise of another kind of Mohlam called Mohlam Pluen. Mohlam Kok Kha Khao has not been found today. However, there should be more researches concerning various kinds of Mohlam. that already disappeared . For the sake of better historical perspective of Mohlam.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นาฏยศิลป์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/69072
ISBN: 9743324097
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suksanti_wa_front_p.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_ch1_p.pdf751.52 kBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_ch2_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_ch3_p.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_ch4_p.pdf7.83 MBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_ch5_p.pdf1.48 MBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_ch6_p.pdf920.77 kBAdobe PDFView/Open
Suksanti_wa_back_p.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.