Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70837
Title: คุณภาพชีวิตของอาจารย์แพทย์ ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Other Titles: Quality of life of medical insturctors in the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University
Authors: ชนิดา เรืองเดช
Advisors: นันทิกา ทวิชาชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Fmednta@Md2.md.chula.ac.th
Subjects: คุณภาพชีวิต
แพทย์
Quality of life
Physicians
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตเชิงจิตวิสัย ของอาจารย์แพทย์ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยศึกษาข้อมูลจากอาจารย์แพทย์ จำนวน 217 คน เครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองด้วยวิธีการเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่มย่อย เพื่อสำรวจความคิดเห็นของประชากรที่เป็นตัวแทนของประชากรทั้งหมด เปรียบเทียบกับการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า อาจารย์แพทย์ในคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางค่อนข้างสูง คือมีค่าเท่ากับ 4.91 ( SD = 0.69 ) จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน และพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนคุณภาพชีวิตของอาจารย์แพทย์เพศหญิงในมิติของงานบริการและชีวิตสังคมสูงกว่าอาจารย์แพทย์เพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 อาจารย์แพทย์ที่มีอายุในช่วง 41 - 60 ปี มีค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตในมิติของงานวิจัย งานบริการ ความพอใจในวิชาสชีพ ความพอใจในงานโดยรวม ชีวิตส่วนตัว ชีวิตสังคม อัตมโนทัศน์สูงกว่าอาจารย์แพทย์ที่มีอายุในช่วง 20-40 ปี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This research has the objective to study the level of quality of life of medical instructors in the Faculty of Medicine, Chulalongkorn University. Data were obtained from three sets of questionnaire constructed by using qualitative method by indepth interviews and small focus group discussion. The result of this study show that medical instructors in the facuity of medicine, Chulalongkorn University have the quality of life level in the middle range (mean score = 4.91, SD = 0.69 from total score = 7). Female mdical instructors have professional satisfaction and social satisfaction better than male medical instructors with statistically significant (p<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตเวชศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/70837
ISBN: 9746346083
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chanida_ru_front_p.pdf947.3 kBAdobe PDFView/Open
Chanida_ru_ch1_p.pdf983.22 kBAdobe PDFView/Open
Chanida_ru_ch2_p.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open
Chanida_ru_ch3_p.pdf847.38 kBAdobe PDFView/Open
Chanida_ru_ch4_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Chanida_ru_ch5_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Chanida_ru_back_p.pdf4.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.