Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71158
Title: การวิเคราะห์การกำหนดราคาน้ำมันในระดับค้าปลีก
Other Titles: Analysis of oil retail price determination
Authors: พีรณัฐ แดงสกุล
Advisors: พงศา พรชัยวิเศษกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: pongsa.p@chula.ac.th
Subjects: ปิโตรเลียม -- ราคา
การกำหนดราคา
การค้าปลีก
Petroleum -- Prices
Pricing
Retail trade
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึง โครงสร้างราคาขายปลีกน้ำมัน ว่าประกอบด้วยตัวแปรอะไรบ้าง และตัวแปรใดมีความสำคัญมากที่สุด เพื่อดูว่าการเปลี่ยนแปลงราคาขายปลีกมีความสอดคล้องกับต้นทุนมากน้อยเพียงใด ซึ่งได้ศึกษาถึงนี้ามัน 3 ชนิดที่มีการใช้อย่างแพร่หลาย ได้แก่ น้ำมัน เบนชินพิเศษไร้สารตะกั่ว น้ำมันเบนชินพิเศษสูตรทดแทนสารตะกั่ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ผลการศึกษาพบว่า ในโครงสร้างราคาน้ำมันในปัจจุบัน ตัวแปรที่สามารถกำหนดราคาขายปลีกคือ ราคา ณ โรงกลั่น หรือราคานำเข้าอย่างเดียว แต่ตัวแปรด้านอื่น ๆ เช่น ภาษีต่าง ๆ ที่รัฐเป็นผู้กำหนด ไม่มีส่วนสำคัญทางเชิงสถิติในการกำหนดโครงสร้างราคาแต่อย่างใด แสดงถึงโอกาสที่ผู้ค้าน้ำมัน ไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้บริโภค แต่จะพบว่า ในเชิงสถิติต้นทุนน้ำมันในอดีตไม่มีส่วนในการกำหนด ทำให้ยังคงมีการบิดเบือนทางด้านราคาอยู่บ้าง เนื่องจากในความเป็นจริง การสำรองน้ำมันสำเร็จรูปเพื่อความมั่นคงและการตลาดได้มีการปฏิบัติกันมาตลอด ค่าคงที่ (K) ที่ได้จากสมการมีค่าสูงเนื่องจาก ผู้ค้าน้ำมันได้มีการตั้งราคาไว้สูง เพื่อรับภาระเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนในระยะสั้น ผู้ค้าน้ำมันจะผลักภาระเพียงบางส่วนไปให้ผู้บริโภค ในประเด็นของค่า Price Ratio พบว่า ราคาน้ำมันตั้ง 3 ประเภท ในอดีต ค่า Price Ratio มีความแตกต่างค่อนข้างมาก แต่ในช่วงท้ายของข้อมูลกลับมีค่าใกล้เคียงกัน เนื่องจากราคา ณ โรงกลั่น และราคานำเข้ามีการปรับตัวเข้าหากัน จึงทำให้ค่า Price Ratio ที่ได้มีค่าใกล้เคียงกัน โดยค่าที่ได้จะเคลื่อนไหวในช่วงประมาณ 1.50-2.50 แสดงถึงการปรับตัวของราคาขายปลีกที่ไม่สอดคล้องกับต้นทุนในช่วงก่อนหน้าน ซึ่งการแข่งขันระหว่างผู้ค้าน้ำมันยังมีน้อยกว่าในปัจจุบัน
Other Abstract: The purpose of this thesis is to study how various factors will affect the oil retail prices and which ones are significant. We have studied 3 widedly used petroleum products, i.e., unleaded gasoline, premium gasoline and high-speed diesel. The study revealed that the ex-refinery price or import price is the most significant and most important price determinant while the other factors (e.g. tax) have shown no significant influence in price determination. This could imply that oil comparies could not push these burdens onto the consumes. In addition, the past values of costs have no significant effect which IS considered unrealistic because huge oil inventory has been maintained for the purpose of national security and marketing. The positive constant terms in price structure implied that the oil companies are ready to absorb a part of short-term cost increases by setting up enough profit margin. The price-ratio analysis has shown that the gaps between the two prices were quite large in the! past but recently converged after market competition among oil companies started to taker effect! The price ratios run between a large gap of 1.50-2.50. This implied a rather inconsistancy between prices and costs in the past.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71158
ISSN: Analysis of oil retail price determination ISBN 9746392409
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peeranat_da_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ352.35 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch1.pdfบทที่ 1170.73 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch2.pdfบทที่ 2785 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch3.pdfบทที่ 3501.01 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch4.pdfบทที่ 4280.27 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch5.pdfบทที่ 5676.56 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch6.pdfบทที่ 6268.74 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_ch7.pdfบทที่ 7235.74 kBAdobe PDFView/Open
Peeranat_da_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก1.96 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.