Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71396
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorระหัตร โรจนประดิษฐ์-
dc.contributor.advisorสรวิศ นฤปิติ-
dc.contributor.authorเบญญารุจี มณีวรรณ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-12-08T06:29:08Z-
dc.date.available2020-12-08T06:29:08Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741738285-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71396-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาลักษณะการบริการรถขนส่งสาธารณะ ทัศนคติของประซาซน และการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกี่ยวข้องกับการบริการรถขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ นอกจากนี้ยังเสนอแนวทางปรับปรุงการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของ ประซาซน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา วิธีการศึกษาใช้การศึกษาเอกสาร การลังเกตการณ์ ภาคสนาม การสำรวจผู้เดินทางในเขตเมืองเชียงใหม่โดยใช้แบบสอบถามจำนวน 450 ชุด และสัมภาษณ์ ผู้ประกอบการรถสองแถวในเมืองเชียงใหม่จำนวน 30 ราย และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องจำนวน 3 ราย ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการรถขนส่งสาธารณะหลักคือรถสองแถวแดง โดยแล่นวนรับ ผู้โดยสารในลักษณะของรถแท็กซี่ (Share Taxi) มีการให้บริการแบบรับ-ส่งผู้โดยสารจากจุดเริ่มต้นถึงจุด ปลายทางหริอ door-to-door พื้นที่ให้บริการที่สำคัญได้แก่ แหล่งรวมกิจกรรมและจุดเปลี่ยนการเดินทางที่ สำคัญ สำหรับปัญหาการให้บริการของรถสองแถว ได้แก่ ปัญหาการให้บริการมีความล่าช้า ปัญหามารยาท ในการขับรถสองแถว ปัญหาอัตราค่าโดยสารไม่มีมาตรฐานที่แน่นอน ปัญหาการรอรถสองแถวนานในบางเล้นทาง ปัญหาด้านสภาพของตัวรถและความปลอดภัยในการเดินทาง ผลการสำรวจผู้เดินทางพบว่าประชาชนที่เดินทาง ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะเดินทางโดยรถยนต์ส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 88 และใช้รถโดยสารสาธารณะ เพียงร้อยละ12 เมื่อพิจารณา ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้บริการรถสองแถวแดง พบว่า มีผู้ใช้บริการรถสองแถวแดงร้อยละ 82 แต่ส่วนใหญ่เป็น การใช้บริการนานๆครั้ง ถึงร้อยละ 65 สำหรับทัศนคติเกี่ยวกับรูปแบบรถขนล่งสาธารณะที่ต้องการ พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนระบบการเดินรถให้วิ่งบริการแบบประจำทาง คิดเป็นร้อยละ 88 โดย ประเภทรถที่ต้องการคือ รถไมโครบัสร้อยละ 32 รถเมล์ร้อยละ 29 และประชาชนส่วนใหญ่ต้องการให้ จัดรูปแบบรถสองแถววิ่งไม่ประจำทางและรถเมล์วิ่งประจำทางร่วมกันในอนาคต ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการให้บริการรถขนส่งสาธารณะ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ส่งเสริมการเดินรถประจำทางในเขตเมือง กำหนดเส้นทางเดินรถประจำทางที่เหมาะสม ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของถนนให้เหมาะสมกับการเดินรถ ประจำทาง ปรับปรุงรูปแบบการเดินรถให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาซน กำหนดราคาค่าโดยสาร ให้เหมาะสม พัฒนาระบบขนส่งลาธารณะรูปแบบอื่นให้เหมาะสมต่อการเดินทางในแต่ละพื้นที่ปรับปรุงคิวรถสองแถวที่มีอยู่เดิมให้วิ่งประจำทางในเส้นทางที่เหมาะสม และล่งเสริมความร่วมมือในการจัดระเบียบ รถขนส่งสาธารณะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research are to study public transport services, people’s attitudes and the land usage related to public transportation เท Chiang Mai municipality area as well as to propose some improvements on public transport services according to people’s needs and land use. The study employed several methods; literature study, field observation, and questionnaires survey of 450 people traveling in the city, and the interviews with 30 mini-bus drivers in Chiang Mai area and 3 involved experts. The results of the study indicated that majority of the public transportation service provision was the mini-bus (Songtaew) operating as a share taxi in which the drivers drove around to serve passengers from door to door. The seiviced areas were the places where there were people’s activities and where some people interchanged routes or modes. The problems of public transport services were the slow service provision, the drivers’ manners, the inconsistent charge of fare, the unpredictable services in some areas, the mini-bus conditions and the traveling safety. The survey showed that the majority of people, 88 percent, used their own vehicles within the city boundary while only 12 percent used the public transportation. Considering the mini-bus service provision, 82 percent of people who benefited from the services although 65 percent were not frequent users. About the attitude toward public transportation, 88 percent of respondents wanted a regular route service. The most wanted kind was micro-bus with the percentage of 32 while 29 percent wanted to have buses. The preferred public transport service in the future was the combination between the service of irregular bus route and the regular one. Suggestions on improving the public transport services to comply with people’s needs and the best land use of the studied areas are: to support the implementation of regular bus route within the city, to set up appropriate bus route, to improve road environment for the bus route, to improve the bus route to serve people’s needs, to set up fair bus fares, to select public transport services to suit each particular area, to improve the regular mini-bus route to be more appropriate, and to promote cooperation in having more orderliness in public transport services and the official involved.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2005.1455-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการขนส่งมวลชน -- ไทย -- เชียงใหม่en_US
dc.subjectการขนส่งในเมือง -- ไทย -- เชียงใหม่en_US
dc.subjectการใช้ที่ดิน -- ไทย -- เชียงใหม่en_US
dc.subjectLocal transit -- Thailand -- Chiang Maien_US
dc.subjectUrban transportation -- Thailand -- Chiang Maien_US
dc.subjectLand use -- Thailand -- Chiang Maien_US
dc.titleการให้บริการรถขนส่งสาธารณะในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativePublic transport services in Chiang Mai Municipalityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางผังเมืองen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorRahuth.R@chula.ac.th-
dc.email.advisorSorawit.N@Chula.ac.th, kong@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2005.1455-
Appears in Collections:Arch - Theses



Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.