Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71602
Title: สภาพและปัญหาของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในสำนักเรียนส่วนกลาง
Other Titles: State and problems of Pali Acclesiastical Education and central academies
Authors: บุรทิน ขำภิรัฐ
Advisors: รัตนา ตุงคสวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน
ภาษาบาลี
Buddhism -- Study and teaching
Pali language
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ และปัญหาของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ในสำนักเรียนส่วนกลาง โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร และการวิจัยเชิงสำรวจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสังเกต ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีเริ่มมีเมื่อ พ.ศ. 2484 โดยมีพื้นฐานมาจากการศึกษาพระไตรปิฎก และการศึกษาภาษาบาลี มีเป้าหมายของการศึกษาเพื่อให้พระภิกษุสามเณรมีความรู้ความเข้าใจในภาษาบาลี เพื่อให้สามารถศึกษาพระไตรปิฎกให้เข้าใจ และเป้าหมาย อันดับรอง คือ เพื่อเป็นพื้นฐานการศึกษาในระดับสูงขึ้น สภาพของหลักสูตร ผู้บริหาร และนักเรียนมีความเห็นว่ามีความเหมาะสมและครอบคลุมเป้าหมายของการศึกษา ส่วนครู-อาจารย์ มีความเห็นว่าเนื้อหาไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับสังคมยุคโลกาภิวัตน์ สภาพของการบริหารทั้งผู้บริหาร และครู-อาจารย์ มีความเห็นว่า มีการกำหนดขั้นตอนการวางแผนการดำเนินงานไว้ชัดเจน สภาพของงบประมาณผู้บริหารเห็นว่ามีไม่เพียงพอ และงบประมาณส่วนใหญ่ได้มาจาก กรมการศาสนา สภาพของอาคารสถานที่ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน เห็นว่ามีเพียงพอ สภาพของการเรียนการสอน
ผู้บริหาร และ ครูมีความเห็นว่า ครู-อาจารย์ส่วนใหญ่มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และวิธีการสอน ที่ครูใช้มากที่สุด คือ อธิบายและให้จดสภาพของสื่อ ผู้บริหารและครูพบว่ามีไม่เพียงพอ สภาพของการวัด และการประเมินผล ทั้งผู้บริหารและนักเรียนตอบว่า มีการวัด และประเมินผลทั้งระหว่างเรียนกับครู ที่วัด และเมื่อสิ้นปีตอนสอบบาลีสนามหลวง ด้านปัญหาของการศึกษา พบว่า ด้านที่นักเรียนเห็นว่าเป็นปัญหามากที่สุด คือ เนื้อหาวิชาทางบาลีเรียนเข้าใจยาก ด้านที่ครู-อาจารย์ เห็นว่าเป็นปัญหามาก คือ งบประมาณมีไม่เพียงพอ และหน่วยงานราชการไม่ให้การสนับสนุนงบประมาณอย่างจริงจัง ด้านที่ทั้งครู-อาจารย์ และนักเรียน เห็นว่าเป็นปัญหามากคือ การเรียนการสอนที่ใช้วิธีท่องจำ และด้านที่ผู้บริหาร และครู-อาจารย์เห็นว่าเป็นปัญหามากคือ ประชาชนทั่วไปมองไม่เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี ส่วนด้านที่ทั้งผู้บริหาร ครู-อาจารย์ และนักเรียน เห็นว่าเป็นปัญหามากคือ มีนักเรียนสอบตกความต้องการทางการศึกษาของนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีความต้องการต่อในระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยทั่ว ๆ ไป รองลงมาคือ ศึกษาความรู้เฉพาะด้าน เช่น ภาษา คอมพิวเตอร์ ฯลฯ และต้องการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยสงฆ์ด้านข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าควรเพิ่มงบประมาณการศึกษา พระปริยัติธรรมแผนกบาลีให้เพียงพอกับความจำเป็น ครู-อาจารย์ส่วนใหญ่มีความเห็นว่า การเรียนการสอนควรเน้นความเข้าใจมากกว่าความจำ และนักเรียนส่วนใหญ่มีความเห็นว่าการวัดและการ ประเมินผลควรมีการสอบซ่อม
Other Abstract: The purpose of this research was to study state and problems of Pali Acclessiastical Education in central area academies. Documentary and survey research were used in the study. Questionnaires, interviews and observation were used as the instruments for the survey research. The research revealed that Pali Acclessiastical Education began in 1941. It was derived from the study of the Traipitaka and Pali. The first goal was to lead the Buddhist monks to! understand Pali so that they can read the Traipitaka. The second goal was to give the Buddhist monks a basic education which was essential for further education. The profile of curriculum in view of administrators and students was proper and covers the goal of the Pali Acclessiastical Education, but in the teacher’ were point of view the content is not modern and is not in agreement with globalization. The administration, in view of administrators and teachers, was clearly planned. However, it was found that the administrators thaught that the budget is insufficient and most of the budget comes from the Department of Religion. Nevertheless, in view of the administrators, teachers and students; teachers and classrooms were sufficient. As for learning and teaching, the administrators and teachers thaught that most teachers take part in the learning and teaching Activities. The method of teaching used most by teachers were explaination and note-taking by students. Besides, in view of the administrators and teacher, instruments were indequate. The administrators and teachers thaoght that measurement and evaluation are done both with teachers and taking the Pali Sanam Luang examination. As for the problems of this education, it was found that, for students, the content of Pali subject is difficult. For the teachers, the budget was insufficient and the government agencies did not give enough monetary support. In view of both students and teachers, the big problem was that this education emphasizes on learning by memorization. For the administrators and teachers, the problem was that people do not realize the importance and benefit of Pali Acclessiastical Education. While adminis-trators, teachers and students thaoght that the most serious problem is that there were some students who fail the examination. Finally, the needs of student was that most of students want to further their study in Universities, to study in technical fields such as computers and language, and want to farther their study in the University of Buddhist monks respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71602
ISBN: 9746368915
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Buratin_kh_front_p.pdfหน้าปก สารบัญและบทคัดย่อ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Buratin_kh_ch1_p.pdfบทที่ 11.16 MBAdobe PDFView/Open
Buratin_kh_ch2_p.pdfบทที่ 22.08 MBAdobe PDFView/Open
Buratin_kh_ch3_p.pdfบทที่ 31.2 MBAdobe PDFView/Open
Buratin_kh_ch4_p.pdfบทที่ 44.6 MBAdobe PDFView/Open
Buratin_kh_ch5_p.pdfบทที่ 52.59 MBAdobe PDFView/Open
Buratin_kh_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.