Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71641
Title: ผลของสารแคปไซซินต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ ที่เพาะเลี้ยงจากเหงือกของคน
Other Titles: Effect of capsaicin on human gingival fibroblasts in culture
Authors: สมศักดิ์ ชยาวิวัฒนาวงศ์
Advisors: กฤษณา อิฐรัตน์
สมพร สวัสดิสรรพ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์
Subjects: พริก
เซลล์สร้างเส้นใย
แคปไซซิน
Capsaicin
Fibroblasts
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: แคปไซชินเป็นสารให้ความเผ็ดที่พบได้ทั่วไปในพืชตระกูลพริก ซึ่งในปัจจุบันมีการนำมาใช้เป็นสารระงับปวดในทางการแพทย์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษาผลของแคปไซชินที่ความเข้มข้นต่าง ๆ และระยะเวลาต่าง ๆ กันต่อการเปลี่ยนแปลงจำนวนเซลล์และลักษณะของเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่เพาะเลี้ยงจากเหงือกของคน ในการศึกษานี้ใช้วิธีการเพาะเลี้ยงเซลล์ร่วมไปกับการทำ MTT assay การใช้กล้องจุลทรรศน์เฟสคอนทราสต์ชนิดหัวกลับ และการใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนชนิดส่องกราด เป็นวิธีการหลักในการศึกษา โดยความเข้มข้นของแคปไซชินที่ใช้ทดสอบได้แก่ความเข้มข้นร้อยละ 0.002, 0.003, 0.004, 0.006, 0.010, 0.020 และ 0.030 และศึกษาผลของแคปไซชินที่ระยะเวลา 6, 12, 24, 48, 72, 96 และ 120 ชั่วโมง ผลจากการศึกษาโดยใช้ MTT assay พบว่าที่ความเข้มข้นร้อยละ 0.002 ใน 48 ชั่วโมงแรก จำนวนเซลล์ที่มีชีวิตเมื่อคิดเป็นร้อยละเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งไม่ได้รับแคปไซชินไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p > 0.05 ) แต่ที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมงขึ้นไปจนถึง 120 ชั่วโมง พบว่าแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05 ) สำหรับความเข้มข้นอื่นพบว่าจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05 ) ตั้งแต่ 6 ชั่วโมงแรก เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงจำนวนเซลล์ของแต่ละความเข้มข้นโดยเปรียบเทียบแต่ละช่วงเวลา พบว่าแคปไซชินความเข้มข้นร้อยละ 0.002 ใน 48 ชั่วโมงแรก มีอัตราการเพิ่มของเซลล์ใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม แต่ที่ระยะเวลา 48 ชั่วโมง ถึง 120 ชั่วโมง ยังคงมีการเพิ่มจำนวนเซลล์แต่อัตราการเพิ่มน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) สำหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงลักษณะของเซลล์โดยใช้กล้องจุลทรรศน์เฟสคอนทราสต์ ชนิดหัวกลับ พบว่าความเข้มข้นของแคปไซชินมากขึ้นและระยะเวลาที่เซลล์สัมผัสกับแคปไซชินนานขึ้นมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในทางเสื่อมลงคือเซลล์มีลักษณะกลม ไม่ยึดเกาะ กับพื้นผิวจานเพาะเลี้ยงเซลล์ จากการศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนฃนิดส่องกราดโดยใช้แคปไซชินความเข้มข้นร้อยละ 0.020 ศึกษาที่ระยะเวลา 2, 3 และ 6 ชั่วโมง พบว่ากลุ่มทีทดสอบด้วยแคปไซชินมีจำนวนเซลล์ที่ยึดเกาะน้อยลงและลักษณะการยึดเกาะไม่ดี มีการเปลี่ยนแปลงของ plasma membrane คือมี blebs ขนาดต่าง ๆ เกิดขึ้นมากมาย มีการแตกออกของ blebs บางครั้งพบการลอกของ plasma membrane และการเกิดรูที่ plasma membrane มากมาย ลักษณะที่เปลี่ยนแปลงไปนี้รุนแรงมากขึ้นตามระยะเวลาที่เพิ่มขึ้น ผลการศึกษาสรุปได้ว่า แคปไซชินความเข้มข้นร้อยละ 0.002 เป็นความเข้มข้นที่มีพิษต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์ที่เพาะเลี้ยงจากเหงือกของคนน้อยที่สุด สำหรับกลไกการออกฤทธิ์ของแคปไซชินต่อเซลล์ไฟโบรบลาสต์อาจเกิดจากการทำลาย plasma membrane ซึ่งมีผลทำให้เถิดการตายของเซลล์
Other Abstract: Capsaicin, a major pungent ingredient of Capsicum fruits, is recently utilized for therapeutic purposes of pain relief. The objective of this study is to investigate the cytotoxic effect of capsaicin on proliferation and morphology of human gingival fibroblasts. Cell culture technique, MTT assay, inverted phase contrast microscopy and scanning electron microscopy were methods of choice in this study. The cytotoxicity of capsaicin was assessed at the concentrations of 0.002%, 0.003%, 0.004%, 0.006%, 0.010%, 0.020% and 0.030% (w eight / volume). The cell viability was studied after the cells being exposed to capsaicin for 6, 12, 24, 48, 72, 96 and 120 hours. The results from MTT assay showed that during the first 48 hours there was no significant difference in cell viability and cell proliferation between the cells exposed to 0.002% capsaicin and the cells in control group which w ere not exposed to capsaicin (p>0.05). After 48 hours, the cells in 0.002% capsaicin -treated group show ed less proliferation and significant difference in cell viability from the control group (p<0.05). A t the higher concentrations of capsaicin tested, there was significant difference in ceil viability between the capsaicin -treated groups and the control group at all exposure time (p<0.05). By using the inverted phase contrast microscopy, we found that at the higher concentration of capsaicin or longer exposure time, the cells showed deterioration characterized by cell rounding up and less attachment to the culture dishes. Ultrastructurally, the fibroblasts exposed to capsaicin at the concentration of 0.020% which was the lethal dose for the cells, showed progessive damage of the plasm a membrane. At 2 to 6 hours of incubation with 0.020% capsaicin, the cells were more rounded up and their plasma membrane was sometimes peeled off with a lot of various-sized blebs and holes at the cell surface. Abnormal blebs of varying sizes were also found. These results suggest that capsaicin at the concentration of 0.002% has the least toxic effect to human gingival fibroblasts. In addition, the lethal effect of capsaicin to the cells is probably on the plasm a membrane.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ช่องปาก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71641
ISBN: 9743460977
Type: Thesis
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somsak_ch_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ800.89 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1668.65 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ch_ch2_p.pdfบทที่ 2813.22 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3760.68 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ch_ch4_p.pdfบทที่ 4735.2 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ch_ch5_p.pdfบทที่ 5863.1 kBAdobe PDFView/Open
Somsak_ch_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.