Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71647
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมัทยา จิตติรัตน์-
dc.contributor.authorอุ้มพร คำพิทักษ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-12-18T09:48:19Z-
dc.date.available2020-12-18T09:48:19Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746391208-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/71647-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractเมื่อเด็กและเยาวชนตกเป็นผู้เสียหายในความผิดอาญาจากการกระทำของบุคคลอื่น บิดา มารดา ย่อมมีหน้าที่ในการดูแลการดำเนินคดี แทนผู้เยาว์ ต่อผู้กระทำความผิด และรักษาเยียวยาสภาพร่างกาย และจิตใจของผู้เสียหาย แต่ถ้าหากเด็กไม่มีบิดา มารดา หรือมีแต่บิดา หรือมารดา ด้อยความรู้ความสามารถ หรือบิดา มารดา เป็นผู้กระทำความผิดต่อเด็ก ย่อมเป็นเหตุให้เด็กและเยาวชนผู้เสียหาย จะขาดผู้ที่จะเข้ามาปกป้องดูแลสวัสดิภาพของตน ในกรณีที่เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐควรเข้ามามีบทบาท กำหนดให้เจ้าพนักงานของรัฐมีส่วนร่วมในการปกป้องคุ้มครองดูแลเด็ก ซึ่งตกเป็นผู้เสียหาย อันเป็นการคุ้มครองสิทธิของเด็กตามหลักสิทธิมนุษยชน ในปัจจุบัน เมื่อเด็กเป็นผู้กระทำความผิดอาญาจะอยู่ภายใต้การพิจารณาคดีของศาลเยาวชนและ ครอบครัว ซึ่งมีวิธีพิจารณาคดีเป็นพิเศษแตกต่างจากศาลทั่วไป โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ อีกทั้งยังมีเจ้าพนักงานสถานพินิจ ซึ่งอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่คุ้มครองเด็กและเยาวชน ผู้กระทำความผิดด้วย แต่ในกรณีที่เด็กเป็นผู้เสียหาย เจ้าพนักงานสถานพินิจ มีบทบาทในการคุ้มครองเด็กและเยาวชนผู้เสียหาย เฉพาะคดีครอบครัวที่ผู้เยาว์ มีผลประโยชน์ ได้เสีย เมื่อมีการดำเนินคดีในศาลเยาวชน และครอบครัวเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับต่างประเทศ จะเห็นได้ว่าบทบัญญัติของกฎหมายหลายประเทศ อาทิเช่น ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศเยอรมัน ประเทศอังกฤษ กำหนดบทบาท เจ้าพนักงานของรัฐ ให้มีอำนาจหน้าที่คุ้มครองเด็กในการสืบเสาะและค้นหาเด็กที่อยู่ในภาวะอันตราย รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็ก เพื่อนำเสนอศาลประกอบการพิจารณา มีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีของศาล ตลอดจนกำกับให้เป็นไป ตามคำสั่งศาล ซึ่งต่างจากประเทศไทย ที่เจ้าพนักงานของรัฐไม่มีบทบาทเท่ากับองค์กรของเอกชน แต่องค์กรเอกชนก็ ไม่อาจทำหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กที่ตกเป็นผู้เสียหาย ในคดีอาญาได้เท่าที่ควร เพราะขาดกฎหมายรองรับ ด้วยเหตุดังกล่าว จึงสมควรเพิ่มบทบาทและอำนาจหน้าที่ของรัฐ อันได้แก่ สถานพินิจ ให้มีอำนาจหน้าที่ในการคุ้มครองเด็กที่เป็นผู้เสียหายในคดีอาญา ซึ่งขาดไร้ผู้ดูแล ทั้งควรมีเจ้าพนักงานผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับเด็ก อันได้แก่ นักจิตวิทยา นักสังคมลงเคราะห์ แพทย์ เพิ่มเติมในองค์กรดังกล่าว โดยการขยายหน่วยงาน เพิ่มบุคลากร และงบประมาณ-
dc.description.abstractalternativeWhen child and juvenile are the criminal preys, their parents will be their protectors and soothe their bodies and minds. But if the children have not got good parents or guardians: they will surely be the victims without any protections. This is important problem which the Government should pay attention and solve it by setting up the more responsible Authorities to protect the child and juvenile preys for the sake of protecting human right. In Thailand, the existing Government’s Authority is the Juvenile and Family Court that handles only child offender cases and the raised up family cases of child prey. Although it aims at the highest benefit for children by having special Juvenile and Family Act B E. 2534 with the Central Observation and Protection, but the officers still not empowered to handle all the cycle of child protections. Unlike the U.S.A. , the U.K. and Germany , the Government's officers have been empowered to protect children from the starting point of the danger till the end including the follow up protection after the court’s orders. As the result of lacking of power and authority given by the law, the Thai officers can not protect as much as non governmental organizations for criminal child prey cases. Therefore, the increasing of roll and authority on the Government authority i.e. the Central Observation and Protection to fully protect the criminal child prey cases and the no parent child prey cases are highly recommended. The Central Observation and Protection should get more budget, unit expansions and more personnel including more psychologist, social welfare specialist and doctors.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเยาวชนผู้กระทำความผิดอาญาen_US
dc.subjectเด็ก -- สถานภาพทางกฎหมาย -- ไทยen_US
dc.subjectเยาวชน -- สถานภาพทางกฎหมาย -- ไทยen_US
dc.subjectวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนen_US
dc.subjectพนักงานคุมประพฤติen_US
dc.subjectJuvenile delinquentsen_US
dc.subjectChildren -- Legal status, laws, etc. -- Thailanden_US
dc.subjectYouth -- Legal status, laws, etc. -- Thailanden_US
dc.subjectProbation officersen_US
dc.titleการคุ้มครองเด็กและเยาวชนในกรณีที่ตกเป็นผู้เสียหายในความผิดอาญา : ศึกษาอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานภายใต้ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯen_US
dc.title.alternativeProtection of child and juvenile victims of criminal offence : study of the official's authorities and duties under the Juvenile and Family Court Act.en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorMattaya.J@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Umporn_ka_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ308.99 kBAdobe PDFView/Open
Umporn_ka_ch1.pdfบทที่ 1262.41 kBAdobe PDFView/Open
Umporn_ka_ch2.pdfบทที่ 22.32 MBAdobe PDFView/Open
Umporn_ka_ch3.pdfบทที่ 33.03 MBAdobe PDFView/Open
Umporn_ka_ch4.pdfบทที่ 42.01 MBAdobe PDFView/Open
Umporn_ka_ch5.pdfบทที่ 5525.19 kBAdobe PDFView/Open
Umporn_ka_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก295.36 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.