Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7168
Title: การสร้างแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Development of mathematics exercises to improve the ability of mathematics analysis for grade six students of Chulalongkorn University Demonstration School (Elementary)
Authors: ลัดดา ภู่เกียรติ
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)
คณิตศาสตร์ -- แบบฝึกหัด
Issue Date: 2536
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม 2) ศึกษาความครอบคลุมและความเป็นไปได้ของแบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์ในการใช้สอนนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาผลการทดลองใช้แบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้วิธีการศึกษากึ่งทดลอง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม ปี การศึกษา 2536 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์และแบบวัดความพึงพอใจ นักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 4 กลุ่ม แบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ระดับค่อนข้างเก่งจำนวน 43 คน ระดับปานกลางจำนวน 35 คน ระดับค่อนข้างอ่อนจำนวน 25 คน และระดับอ่อนจำนวน 16 คน รวมจำนวนทั้งสิ้น 119 คนโดยนักเรียนทั้ง 4 กลุ่มได้ใช้แบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างและผ่านการตรวจจากผู้ทรงคุณวุฒิเรียบร้อยแล้ว การวิเคราะห์ทางสถิติใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองใช้แบบฝึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างเก่งและระดับปานกลางจะมีคะแนนพัฒนาการด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์สูงขึ้น 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลความพึงพอใจต่อประสบการณ์ที่ได้รับจากการใช้แบบึกหัดวิชาคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้ง 4 กลุ่ม ในด้านต่าง ๆ พบว่า 2.1 ด้านความชอบเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนทั้ง 4 กลุ่ม หลังการใช้แบบฝึกหัดสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกหัดอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงระดับมาก 2.2 ด้านความรู้สึกที่มีต่อแบบฝึกหัดของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างเก่งและระดับปานกลางจะมีความรู้สึกชองต่อแบบฝึกหัดอยู่ในระดับมาก 2.3ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับ - ความสนใจต่อแบบฝึกหัด นักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับค่อนข้างเก่ง ปานกลาง และค่อนข้างอ่อน จะมีความสนใจอยู่ในระดับค่อนข้างมากถึงระดับมาก ในขณะที่นักเรียนที่เรียนในระดับอ่อนมีความสนใจอยู่ในระดับเฉย ๆ จนถึงระดับค่อนข้างมาก - ความยากง่ายของแบบฝึกหัด นักเรียนที่เรียนค่อนข้างเก่งเห็นว่าแบบฝึกหัดนี้ไม่ยาก ในขณะที่นักเรียนที่เรียนในระดับค่อนข้างอ่อนและระดับปานกลางเห็นว่าแบบึกหัดนี้มีความยากง่ายตั้งแต่ค่อนข้างน้อยถึงค่อนข้างมาก - ความสนุกในการใช้แบบฝึกหัด นักเรียนทั้ง 4 กลุ่ม มีความคิดเห็นว่าแบบฝึกหัดมีความสนุก ตั้งแต่ค่อนข้างน้อยถึงระดับมาก ตามระดับความสามารถทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนระดับอ่อน ระดับค่อนข้างอ่อน ระดับปานกลาง และระดับเก่ง 2.4 ด้านเนื้อหาที่นำมาใช้ในการทำแบบฝึกหัดเกี่ยวกับจำนวนเนื้อหา นักเรียนที่เรียนค่อนข้างเก่งและระดับปานกลางมีความคิดเห็นในระดับเฉย ๆ ถึงค่อนข้างมาก ส่วนนักเรียนที่เรียนอ่อนมีความคิดเห็นในระดับเฉย ๆ ถึงระดับมาก สำหรับความชัดเจนของแบบฝึกหัด นักเรียนที่เรียนค่อนข้างเก่งและปานกลางมีความคิดเห็นว่ามีความชัดเจนค่อนข้างมาก ส่วนความเข้าใจในบทเรียนหลังจากที่ใช้แบบฝึกหัดนี้ไปแล้ว นักเรียนที่เรียนค่อนข้างเก่งและปานกลางมีความคิดเห็นว่าเข้าใจบทเรียนดีขึ้นมาก ในขณะที่นักเรียนที่เรียนค่อนข้างอ่อนและอ่อนมีความคิดเห็นว่าเข้าใจบทเรียนได้ดีขึ้นในระดับค่อนข้างมากถึงระดับมาก 2.5 ด้านความต้องการให้โรงเรียนและครูผู้สอนนำแบบฝึกหัดนี้ไปใช้กับรุ่นน้องในปีการศึกษาต่อไป นักเรียนทั้ง 4 กลุ่ม มีความคิดเห็นตรงกันว่าควรนำไปใช้ในระดับค่อนข้างมากถึงระดับมาก 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนหญิงในภาคต้นและภาคปลายแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในภาคปลายสูงกว่าภาคต้น 4. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชายมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยที่คะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์ทางคณิตศาสตร์หลังจากใช้แบบฝึกหัดของนักเรียนชายสูงกว่าก่อนใช้แบบฝึกหัด
Other Abstract: The purposes of this research were to 1) develop athemetics exercise to improve the ability of mathematics analysis for grade six students 2) study coverage and feasibility in using the exercise to teach grade six students and 3) compare the results from experimenting the exercise. The population were the grade six students of Chulalongkorn University Demonstration School (Elementary) academic year 1993. The instruments using in the research were the Mathematics Exercise, the Mathematics Analysis Test, and Satisfaction scale. The samples were random into 4 experimental groups fairly high, middle, fairly low, and low ability groups. The period of the experiment was 8 weeks. The analysis were performed by using t-test. Result: 1. The students in fairly high ability group and middle ability group had improvement of ability analysis mathematics score. The gain scores were statistically significant at .05. 2. The students in 4 ability groups liked to learn mathematics more after using mathematics exercises thanbefore at rather high to high level. The students in fairly low ability group, middle and fairly high ability group had a fun and interested in using mathematics exercises at high level. The opinions on the amount of subject matter and the clearity of the exercise were fine. The sample recommended teacher and school to use mathematics exercise in the next year. 3. The female group had higher score on the 2nd semester exam than 1st semester exam. It showed statistically significant at .05. 4. The male group had higher score on analysis mathematics ability after using mathematics exercises. It howed difference at .05 level of significant.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7168
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Ladda(dev).pdf24.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.