Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72585
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอวย เกตุสิงห์-
dc.contributor.authorเกษม แสนเกษม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-03-04T06:44:59Z-
dc.date.available2021-03-04T06:44:59Z-
dc.date.issued2515-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72585-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้เป็นการศึกษาประโยชน์ของแบบทดสอบเก้าจัตุรัส ซึ่งศาสตราจารย์ นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ สร้างขึ้นโดยมีอนุมานว่าสามารถใช้วัดความคล่องแคล่วได้แม่นตรงและเชื่อถือได้เช่นเดียวกับแบบทดสอบมาตรฐานอื่น ๆ และสามารถใช้เป็นวิธีฝึกระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น ๒ ภาคคือ ภาคที่หนึ่ง การทดสอบเพื่อวัดความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ของแบบทดสอบเก้าจัตุรัส แบบทดสอบมีขนาด ๑๕๐x๑๕๐ ซม. แบ่งออกเป็นตารางขนาด ๕๐X๕๐ ซม. จำนวน ๙ ตารางให้ชื่อตารางที่มุมทั้งสี่ว่า ก, ข, ค, ง, การก้าวเท้าจะก้าวไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา วิธีทดสอบมีดังนี้ในท่าเตรียมให้ผู้รับการทดสอบยืนด้วยเท้าคู่ที่กลางตาราง ก. หันลำตัวและหน้าไปสู่ตาราง ข. เมื่อได้รับสัญญาณ “เริ่ม” ให้ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้าสู่ตาราง ข, ดึงเท้าขวาตามไปแตะพื้นในตาราง ข. แล้วก้าวเท้าขวาไปทางขวาสู่ตาราง ค, ดึงเท้าซ้ายตามไปแตะพื้นในตาราง ค. แล้วก้าวเท้าขวาไปข้างหลังสู่ตาราง ง, ดึงเท้าซ้ายตามไปแตะพื้นในตาราง ง. แล้วก้าวเท้าซ้ายไปทางซ้ายสู่ตาราง ก. ดึงเท้าขวาตามไปแตะพื้นในตาราง ก. ซึ่งครบ ๑ รอบ โดยลำตัวในขณะก้าวเท้าทุกก้าวหันไปในทิศทางเมื่อเริ่มต้นการก้าวเท้ารอบต่อไปเป็นเช่นเดียวกับรอบแรก ผู้รับการทดสอบจะได้คะแนนตามจำนวนตารางที่เขาก้าวเท้าได้ถูกต้องในช่วงเวลา ๑๐ วินาทีโดยไม่เหยียบเส้นกั้นระหว่างตาราง, ก้าวทีละเท้า, เท้าทั้งสองแตะพื้นในตาราง ถ้าก้าวผิดวิธีที่ตารางใดจะไม่ได้คะแนนจากตารางนั้น การทดสอบกระทำระหว่างเวลา ๙.00 น. – ๑๑.๔๕ น. และ ๑๓.๓๐ น. – ๑๕.๓๐ น. นำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับผลการทำแบบทดสอบมาตรฐาน ๒ แบบ คือ แบบทดสอบวิ่งเก็บของและแบบทดสอบวิ่งหลบหลีกเพื่อวัดความแม่นตรงและความเชื่อถือได้ กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการทดสอบมีจำนวน ๒๐๐ คน ซึ่งมีอายุระหว่าง ๑๒-๓๕ ปี ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่ากลุ่มตัวอย่างประชากรทั้งสิ้นสามารถทำคะแนนแบบทดสอบทั้ง ๓ แบบได้สอดคล้องและเป็นไปในทางเดียวกันมีสัมประสิทธิ์แห่งสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในระดับสูง P. น้อยกว่า .๐๐๑ จึงน่าจะเชื่อได้ว่าถ้าสามารถใช้แบบทดสอบวิ่งเก็บของและแบบทดสอบวิ่งหลบหลีกวัดความคล่องแคล่วได้อย่างแม่นตรงและเชื่อถือได้ก็ควรจะสามารถใช้แบบทดสอบเก้าจัตุรัสเป็นวิธีวัดความคล่องแคล่วที่มีความแม่นตรงและเชื่อถือได้เช่นเดียวกัน ภาคที่สอง การทดลองฝึกระบบหัวใจและหลอดเลือดผู้รับการฝึกทั้งสิ้น ๑๘ คนเป็นชาย ๑๓ คน หญิง ๕ คน พิสัยอายุของกลุ่มตัวอย่างประชากรอยู่ระหว่าง ๒๒-๕๐ ปี ทำการฝึกเป็นเวลา ๔ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๕ วันเว้นวันเสาร์และอาทิตย์วิธีการฝึกคือให้ก้าวเท้าไขว้เป็นกากบาทตามช่องที่กำหนดให้เป็นเวลา ๖ นาทีด้วยความเร็วในการก้าวเท้าตามเครื่องให้จังหวะซึ่งจัดให้เหมาะสมกับอายุและสมรรถภาพร่างกายของตัวแทนประชากรแต่ละคนซึ่งความเร็วจะอยู่ระหว่าง ๑๑๖ –๑๖๐ ก้าวต่อนาที การฝึกกระทำระหว่างเวลา ๑๔.00 น. – ๑๖.๓๐ น. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลปรากฏว่าการทำงานของหัวใจของผู้รับการฝึกดีขึ้นทุกคนโดยหัวใจสามารถปรับตัวให้มีสมรรถภาพดีขึ้นกว่าก่อนการฝึก, พิจารณาได้จากอัตราชีพจรที่ลดลงในระหว่างรายการทดลองและเมื่อรายการทดลองสิ้นสุดลง, พิจารณาจากการลดลงอย่างรวดเร็วของชีพจรในระยะฟื้นตัว (recovery period) และพิจารณาได้จากการลดลงของอัตราชีพจรในภาวะเบซัลภายหลังรายการทดลอง แสดงว่าการฝึกหัวใจด้วยอุปกรณ์และวิธีเก้าจัตุรัสเป็นวิธีที่ให้ผลใช้ได้, สามารถใช้เป็นวิธีฝึกเพื่อป้องกันโรคหัวใจและเป็นวิธีการที่ได้เปรียบวิธีการฝึกหัวใจแบบอื่น ๆ บางประการ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is two-fold: (1) to evaluate the “Nine-Square Step Technique” as a test for agility, and (2) to study the usefulness of the “Nine-Square Step Technique” as a method of training for the cardio-vascular system. The work is correspondingly divided into two parts. Part I: To evaluate the “Nine-Square Step Technique” as a test for agility, a square, 150 x 150 cm., subdivided into 9 equal squares 50x50 cm. is drawn on the floor. For the sake of description let the four corner squares be named A, B, C, D, going clockwise from A to D. The movement is to jump with one foot at a time from one corner square to the next as quickly as possible and without turning the body around. In the “Ready” position the subject stands with feet close together in the middle of square A, facing B. At the signal “Start” he jumps forward into square B, moving one foot at a time (usually with the left foot first). As soon as the second (here right) foot touches the floor he jumps to the right into C, again with one foot at a time (here with the right foot first). Next he jumps backwards (usually with the right foot) into D, still looking – in the original direction. Lastly he jumps to the left into A (with left foot first), thus completing one cycle. The next and the following cycles go on just like the first. The score is the number of squares which the subject covers during exactly 10 seconds. A jump is complete at the moment the second, following foot touches the floor. For a jump to be valid the feet must not move together but one after the other, and they must land inside the square. If either foot touches a bordering line, that step or square is excluded from the total count. The subject is not allowed to turn the body around because then it would become a run. In taking the backward jump, the subject may turn his head around to look where he is going, but not turn the whole body. Usually after a few cycles it is not necessary to look any more. I have tried this method in two hundred subjects, 12-35 years old. The test is taken at 9.00 – 11.45 a.m. and 1.30 – 3.30 p.m. The data are compared with those of two other “standard” tests viz, the Shuttle Run and the Dodging Run. The comparison shows general agreement of the 3 tests with high level of statistical correlationship. (Probability less than .001). Therefore, if the Shuttle Run and the Dodging Run are reliable and valid in measuring agility, the Nine-Square Step Technique is too. Part II: Thirteen men and 5 women in the age range 22-50 years trained for 6 minutes daily (5 days per week) on the Nine-Square chart by stepping from one square to the next in rhythm with a metronome set at frequencies between 116 and 160 per minute, depending on individual ability. Analysis of the data proves clearly that the subjects’ circulation attained a higher level of efficiency after training, as evidenced by the lower working frequency of the heart and the smaller recovery pulse sun. As it is easy to excecute, it may be recommended as a method of training for the cardio-vascular system, e.g. the prevention of heart diseases.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1972.9-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเคลื่อนไหวของมนุษย์ -- การทดสอบen_US
dc.subjectหัวใจ -- โรค -- การป้องกันen_US
dc.subjectHuman mechanics -- Testingen_US
dc.subjectHeart -- Diseases -- Preventionen_US
dc.titleการทดลองใช้วิธีเก้าจัตุรัสทดสอบความคล่องแคล่วและการฝึกระบบหัวใจและหลอดเลือดen_US
dc.title.alternativeExperimental use of the nine - square agility testen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1972.9-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kashem_sa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.06 MBAdobe PDFView/Open
Kashem_sa_ch1_p.pdfบทที่ 12.41 MBAdobe PDFView/Open
Kashem_sa_ch2_p.pdfบทที่ 2879.57 kBAdobe PDFView/Open
Kashem_sa_ch3_p.pdfบทที่ 31.73 MBAdobe PDFView/Open
Kashem_sa_ch4_p.pdfบทที่ 41.21 MBAdobe PDFView/Open
Kashem_sa_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.