Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72780
Title: | อัตราส่วนของพาราแซนธีน/แคฟเฟอีน : ดัชนีวัดการทำงานของเอนไซม์ไซโตโครม พี 450 1เอ2 ในกลุ่มคนที่ได้รับสารโพลีไซคลิคอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน |
Other Titles: | Paraxanthine / caffeine ratio : as an index for CYP1A2 activity in polycyclic aromatic hydrocarbons exposed subjects |
Authors: | เยาวรัตน์ หินซุย |
Advisors: | สุพีชา วิทยเลิศปัญญา สมทรง ลาวัณย์ประเสริฐ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Supeecha.W@Chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | พาราแซนธีน คาเฟอีน ไซโตโครมพี-450 โพลิไซคลิกอะโรมาติกไฮโดรคาร์บอน |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | โพลีไซคลิคอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน (พีเอเอช ) เป็นสารที่พบทั่วไปในสิ่งแวดล้อมเกิดจากกระบวน การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ของสารประกอบอินทรีย์ สารเหล่านี้เมื่อถูกเปลี่ยนแปลงจะได้เมแทบอไลต์ที่มีฤทธิ์ซึ่งเมื่อจับกับ DNA มีผลก่อมะเร็ง เป็นที่ทราบ กันดีว่าพีเอเอชเป็นสารเหนี่ยวนำการทำงานของเอนไซม์โซโตโครม พี 450 เช่น CYP1A1 และ CYP1A2 แคฟเฟอีนถูกเปลี่ยนแปลงโดยเอนไซม์ CYP1A2 ได้เมแทบอไลต์เป็น พาราแซนธีน ดังนั้น จึงนิยมใช้แคฟเฟอินเป็นสารในการศึกษาการทำงานของเอนไซม์ CYP1A2 การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการทำงานของเอนไซม์ CYP1A2 ในเพศหญิงที่ได้รับควันและไม่ได้รับควันจากท่อไอเสียรถยนต์ โดยใช้อัตราส่วนของพาราแซนธีน / แคฟเฟอีนเป็น ดัชนีวัดการทำงาน ของเอนไซม์ ให้กลุ่มตัวอย่างแต่ละคนรับประทานแคฟเฟอีน ขนาด 180 มิลลิกรัม 1 ครั้ง เจาะเลือดก่อนและหลังรับประทานแคฟเฟอีน 5 ชั่วโมง วิเคราะห์หาความเข้มข้นของพาราแซนธีน และแคฟเฟอินในเซรั่มโดยวิธี HPLC วัดระดับคาร์บอนมอนอกไซต์ในเลือดโดยใช้เครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์ พบว่าอัตราส่วนของพาราแซนธีน / แคฟเฟอินในซีรั่มในกลุ่มที่ได้รับควันจากท่อไอเสียรถยนต์มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับควัน โดยมีค่าเฉลี่ยอัตราส่วน ของพาราแซนธีน / แคฟเฟอีน เป็น 0.45 ± 0.18 และ 0.33 ± 0.12 ตามลำดับ, (P < .0 5 ) คาร์บอนมอนนอกไซดีในเลือดในกลุ่มที่ได้รับควันจากท่อไอเสียรถยนต์มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับควัน โดยมีค่าเฉลี่ยของระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ในเลือดเป็น 4.03 ± 0.83 และ 3 .01 ± 0.72 ต ามลำดับ , (P < 0.05) ซึ่งแสดงว่ากลุ่มทดลองได้รับควันจากท่อไอเสียรถยนต์จริง การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า เมื่อใช้อัตราส่วนของพาราแซนธีน / แคฟเฟอีนเป็นดัชนีวัดการทำงานของเอนไซม์ CYP1A2 ในกลุ่มคนที่ได้รับควันจากท่อไอเสียรถยนต์พบว่ามีอัตราส่วนของพาราแซนธีน / แคฟเฟอีนสูงซึ่งเป็นไปได้ว่า CYP1A2 ถูกกระตุ้นและเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งจากสารเคมีที่ถูกกระตุ้นโดยเอนไซม์นี้ |
Other Abstract: | Polycyclic aromatic hydrocarbons (PAHs) are ubiquitous in the environment and originated from incomplete combustion process of organic materials. These com pounds are bioactivated to reactive metabolites which bind covalently to DNA and subsequently initiate carcinogenesis. PAHs have been well established as an enzyme inducer of cytochrome P 450 (CYP) such as CYP1A1 and CYP1A2. Caffeine is primarily metabolized by CYP1A2 to paraxanthine, so it has been used as a specific probe for assessing CY P1A2 activity. The purpose of this study w as to com p are CYP1A2 activity in fem ale subjects between smoke and non - smoke exposure using serum paraxanthine / caffeine ratio as an index. Each subject took a 180 mg single oral dose of caffeine solution. Blood samples were collected before and 5 hours after caffeine intake. Serum samples were separated by centrifugation and stored at-20℃ until analysis by HPLC. Carbonmonoxide (CO) level in blood was also detected using spectrophotometer. The results showed that serum paraxanthine / caffeine ratio in ex p o se d su b jects w as significantly higher than non - exposed subjects (mean ± SD of 0.45 ± 0.18 and 0.33 ± 0.12, respectively; p < 0.05 ). CO level in exposed subjects was also significantly higher than non - exposed subjects (mean ± SD of 4.03 ± 0.83 and 3.01 ± 0.72, respectively, p < 0.05). Conclusion : By using paraxanthine / caffeine ratio as an index, smoke exposed subjects was higher CYP1A2 activity than that of the non - smoke exposed subjects. The smoke exposed subjects have possibly higher risk to chemical carcinogenesis activated by this CYP isoform. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เภสัชวิทยา (สหสาขาวิชา) |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/72780 |
ISBN: | 9740311946 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yaowarat_hi_front_p.pdf | หน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ | 872.52 kB | Adobe PDF | View/Open |
Yaowarat_hi_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Yaowarat_hi_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 834.23 kB | Adobe PDF | View/Open |
Yaowarat_hi_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Yaowarat_hi_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 729.83 kB | Adobe PDF | View/Open |
Yaowarat_hi_back_p.pdf | บรรณานุกรมและภาคผนวก | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.