Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73355
Title: กิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป ของกระทรวงสาธารณสุข
Other Titles: Service-quality improvement activities in regional hospitals and general hospitals of the Ministry of Public Health
Authors: วรรณดี ศุภวงศานนท์
Advisors: จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์
บดี ธนะมั่น
Advisor's Email: Jiruth.S@Chula.ac.th
Bodi.D@Chula.ac.th
Subjects: โรงพยาบาล -- การควบคุมคุณภาพ -- ไทย
Hospitals -- Quality control -- Thailand
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพี่อศึกษารูปแบบของการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพบริการในโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปของกระทรวงสาธารณสุข กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป รวม 92 แห่ง สำรวจในระหว่างเดือนพฤศจิกายน ถึงธันวาคม 2543 โดยส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ เกี่ยวกับการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลที่ดำเนินการก่อนวันที่ 30 กันยายน 2543 ได้รับการตอบกลับ 86 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 93.8 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่ามัธยฐาน chi-square และ Fisher’s exact test ผลการศึกษา พบว่า โรงพยาบาลส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ50) เคยทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพหลายประเภท ได้แก่ พบส. 5 ส. ESB. 3S (smile smell surrounding) กิจกรรมพัฒนาบริการด่านหน้า SS. OD. QC. QA. HA. IS09002. ISO Guide 25 และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. โดยโรงพยาบาลทุกแห่งเคยผ่านการทำกิจกรรม พบส. และ 5 ส. มาก่อน และยังพบว่า โรงพยาบาลได้ดำเนินกิจกรรม HA โดยเพิ่งจะเริ่มดำเนินการในช่วงระยะ 3 ปี ที่ผ่านมา (ร้อยละ65.1) นอกจากนี้ ยังพบว่า ประเภทโรงพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรม IS09002 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.036) แต่ขนาดโรงพยาบาลและจำนวนบุคลากร ไม่มีความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมพัฒนาคุณภาพ สำหรับความสำเร็จในการพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาล พบว่า ส่วนใหญ่ (มากกว่าร้อยละ50) มีกระบวนการ/การปฏิบัติที่เห็นผลชัดเจนในการนำองค์กรและการบริหารการพยาบาล และเห็นผลเป็นบางส่วนในด้านทรัพยากรและการจัดการ ทรัพยากร ส่วนปัญหาและอุปสรรคของการพัฒนาคุณภาพ พบว่า โรงพยาบาลส่วนมาก จะมีปัญหาในระดับปานกลาง โดยเป็นปัญหาเกี่ยวกับด้านทรัพยากรและการจัดการ เช่น การขาดความรู้และทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาคุณภาพ สำหรับข้อเสนอแนะในการวิจัย คือ ควรมีการส่งเสริมในด้านความรู้ ความเข้าใจและการสนับสนุนให้เจ้าหน้าที่ได้รับการพัฒนาความรู้และทักษะเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพ รวมทั้งควรจัดให้มีการประเมินผลภายในโรงพยาบาลอย่างสมํ่าเสมอ ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาคุณภาพของโรงพยาบาลประสบความสำเร็จต่อไป
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the model of service-quality improvement activities in regional hospitals and general hospitals. Ninety-two hospitals were recruited and surveyed during November and December 2000. Eighty-six hospitals (93.8%) returned the mailed-questionnaires for analysis. They were asked to consider implementation of quality activities prior to Sept. 30,2000 Data were analyzed using percentage, mean, median, chi-square and Fisher’s exact test. The results indicate that most of the hospitals (> 50%) had many quality activities namely, rural public health service improvement's standard program, 5-S, QA, ESB, SS, OD, QA, QC, frontline improvement, 3S (smile smell surrounding - program), HA, IS09002, ISO Guide 25 and health promoting hospital. All have implemented the rural public health service improvement’s standard programs and the 5 is programs. Almost all hospital (65.1%) have started Hospital accreditation programs over the last few years. Implementation of IS09002 was statistically significant related to the type of hospitals (p=0.036), but quality improvement activities were not statistically significant related numbers of bed and personnel. Most of the hospitals (>50%) reported successful enhancement of governance, leadership, and nursing management, and began to realize some results, particularly those related to resource management. There were some problems and obstacles in improving quality and managing resources in most hospitals for instance, lack of knowledge and attitude. It is recommended that training and workshop should be provided increase technical skills while continuous evaluation on quality
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เวชศาสตร์ชุมชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73355
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.68
ISBN: 9741309031
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.68
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wandee_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ808.43 kBAdobe PDFView/Open
Wandee_su_ch1_p.pdfบทที่ 1749.76 kBAdobe PDFView/Open
Wandee_su_ch2_p.pdfบทที่ 21.43 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_su_ch3_p.pdfบทที่ 3689.81 kBAdobe PDFView/Open
Wandee_su_ch4_p.pdfบทที่ 42.46 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_su_ch5_p.pdfบทที่ 51.17 MBAdobe PDFView/Open
Wandee_su_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.