Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73603
Title: การใช้เม็ดดินเผาเป็นวัสดุมวลรวมในงานผิวทางเซอร์เฟสทรีตเมนท์
Other Titles: Application of using calcined clay as coarse aggregate for surface treatmen
Authors: ประยูร เตชะจินดา
Advisors: สุประดิษฐ์ บุนนาค
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ถนน -- การออกแบบและการสร้าง
ดินเหนียว
Roads ; Streets -- Design and construction
Clay
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: จากการศึกษาเม็ดดินเผา ซึ่งเป็นมวลรวมประดิษฐ์ในห้องทดลอง พบว่า เม็ดดินเผามีคุณสมบัติทางวิศวกรรมเหมาะสมที่จะนำไปใช้เป็น วัสดุในงานผิวทางได้ ดังนั้นในการวิจัยนี้จะเป็นการศึกษาความ เป็นไปได้ในการนำเม็ดดินเผามาใช้เป็นวัสดุมวลรวมหยาบในงานผิวทาง เซอร์เฟสทรีตเมนท์ชนิดชั้นเดี่ยวบนแปลงทดสอบ 2 แปลง ขนาด 3 x 3 เมตร สร้างติดกับผิวทางเซอร์เฟสทรีตเมนท์ที่ใช้หินปูนเป็นวัสดุมวลรวมโดยทั่วไปความต้านทานการลื่นไถลของผิวทาง ในสภาพแห้งและเปียกจะวัดด้วยเครื่อง British Portable Tester และความลึกผิวทางจะวัดโดยวิธี Sand Patch ตลอดตามคาบเวลาที่กำหนด ในการทดสอบ การจัดตำแหน่งของการ วัดจัดในแนวร่องล้อ และระหว่างแนวร่องล้อทั้งสองบนแปลงทดสอบ และจัดเช่นเดียวกับบนผิวทาง เซอร์เฟสทรีตเมนท์หินปูนข้างเคียง การวิจัยนี้พบว่า แปลงทดสอบที่ใช้เม็ดดินเผา เป็นวัสดุมวลรวมสามารถใช้งานได้เหมือนกับผิวทางเซอร์เฟสทรีตเมนท์หินปูนทั่วไป และในสภาพการใช้งานเดียวกันตลอดระยะเวลาที่ศึกษา พบว่า ค่าความต้านทานการลื่นไถลของแปลงทดสอบเม็ดดินเผาทั้งสองมีแนวโน้มที่ให้ค่าเฉลี่ยสูงกว่า และมีความลึกผิวทางลึกกว่าผิวทางเซอร์เฟสรีตเมนท์หินปูนข้างเคียง อย่างไรก็ตามการวัดค่า ในแปลงทดสอบควรจะกระทำต่อไปเมื่ออายุการใช้งานของผิวทางและปริมาณยวดยานที่วิ่งผ่านเพิ่มขึ้นเพื่อเปรียบเทียบผลในระยะยาวต่อไป
Other Abstract: Former research studied in laboratory about calcined clay which was an artificial aggregate found that calcined clay has suitable engineering properties to be used as pavement aggregate. Therefore, this research was attempted to study the possibility of using calcined clay as a coarse aggregate of the single surface treatments on the road test section. The two test sections of 3 x 3 metres were constructed closed to the limestone surface treatments. The British Portable Tester was used to measure the skid resistance in both dry and wet conditions and the surface texture depth was measured by the sand patch method throughout the observation period. The positions of the measurement are along wheeltracks and between both wheeltracks on test sections and the same on the neighbouring limestone surface treatments. It has been found that the calcined clay aggregate sections could be used as an ordinary surface treatment. Under the same test conditions, the average higher skid resistance and the deeper surface texture depth of the test sections were found when compared to neighbouring limestone surface treatments throughout the period of study. However, the tests should be continued as the service life and the vehicle passes increase to obtain long term effect.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73603
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1984.5
ISSN: 9745640336
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1984.5
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prayoon_ta_front.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ16.34 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_ch1.pdfบทที่ 12.66 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_ch2.pdfบทที่ 267.59 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_ch3.pdfบทที่ 335.4 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_ch4.pdfบทที่ 434.63 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_ch5.pdfบทที่ 540.73 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_ch6.pdfบทที่ 63.66 MBAdobe PDFView/Open
Prayoon_ta_back.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก23.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.