Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73842
Title: การพัฒนาสูตรการให้คะแนนแบบสอบเลือกตอบ สำหรับความรู้บางส่วนของผู้ตอบ : การประยุกต์ใช้วิธีการของอาร์โนลด์และวิธีการของแฮมดาน
Other Titles: Development of multiple-choice scoring formular for partial knowledge of test takers : an application of Arnolds' and Hamdan's methods
Authors: พรทิพย์ ไชยโส
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
ศิริชัย กาญจนวาสี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: somwung.p@chula.ac.th
skanjanawasee@hotmail.com
Subjects: ข้อสอบแบบเลือกตอบ
การสอบ -- การให้คะแนน
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Examinations -- Scoring
Multiple-choice examinations
Issue Date: 2534
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาสูตรการให้คะแนนสำหรับแบบสอบเลือกตอบ โดยการพิจารณา ให้คะแนนความรู้บางส่วนแก่ผู้ตอบ มีขั้นตอนสำคัญในการดำเนินการวิจัย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการสร้างสูตรการให้คะแนน โดยการพิจารณาให้คะแนนแก่ความรู้บางส่วนสำหรับผู้ตอบ ได้สูตรการให้คะแนน ที่พัฒนาขึ้น 2 สูตร คือสูตรการให้คะแนนที่ประยุกต์จากวิธีของอาร์โนลด์ และสูตรการให้คะแนนที่ประยุกต์จากวิธีของแฮมคาน ขั้นตอนที่สองศึกษาคุณภาพของสูตรการให้คะแนนที่สร้างขึ้น 2 สูตรนี้ และเปรียบเทียบ กับสูตรการให้คะแนนแบบประเพณีนิยม สูตรการให้คะแนนของอาร์โนลด์ และสูตรการให้คะแนนของแฮมคาน ด้วยการเปรียบเทียบคุณภาพด้านความตรงเชิงทฤษฎี ความตรงตามเกณฑ์และความเที่ยงแบบความสอด คล้องภายใน จากผลการตอบแบบสอบเลือกตอบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยม ศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีการศึกษา 2532 จำนวน 726 คน ซึ่งวัดทักษะต่าง ๆ กัน 5 ทักษะ คือ ทักษะการชี้บ่งตัวแปร ทักษะการตั้งสมมติฐาน ทักษะการให้นิยามปฏิบัติ การ ทักษะการออกแบบทดลอง และทักษะการตีความหมายข้อมูล ด้วยสูตรการให้คะแนน 5 สูตร สามารถ ศึกษาคุณภาพของสูตรการให้คะแนนด้านความตรงเชิงทฤษฎีจากการวิเคราะห์เมตริคซ์ลักษณะพหุ-วิธีพหุ ด้วยการวิเคราะห์ Confirmatory factor analysis ด้วยโปรแกรม LISREL และวิเคราะห์สหสัมพันธ์ของคะแนนที่ให้ด้วยสูตรต่าง ๆ กับเกณฑ์ คือความคิดเชิงเหตุผลและหาค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ (1) สูตรการให้คะแนนที่ประยุกต์จากวิธีของอาร์โนลด์มีความตรงเชิงทฤษฎีต่ำกว่าสูตรการให้คะแนนที่ประยุกต์จากวิธีของแฮมคาน แต่มีความตรงตามเกณฑ์ไม่แตกต่างกันและ มีความเที่ยงสูงกว่า โดยมีประสิทธิภาพด้านความยาวสูงกว่า 1.48 เท่า (2) สูตรการให้คะแนนที่ประยุกต์จากวิธีของอาร์โนลด์มีความตรงเชิงทฤษฎีต่ำกว่าการให้คะแนนของอาร์โนลด์ สูตรการให้คะแนนของแฮมคาน และสูตรการให้คะแนนแบบประเพณีนิยม แต่มีความตรงตามเกณฑ์ไม่แตกต่างกัน และมีความเที่ยงสูงกว่า โดยมีประสิทธิภาพด้านความยาวสูงกว่า 1.26 1.50 และ 1.55 เท่าตามลำดับ (3) สูตรการให้คะแนนที่ประยุกต์จากวิธีของแฮมคานมีความตรงเชิงทฤษฎี ความตรงตามเกณฑ์และความเที่ยงไม่แตกต่างจากสูตรการให้คะแนนของแฮมคานและสูตรการให้คะแนนแบบประเพณีนิยม แต่มีความตรงเชิงทฤษฎีสูงกว่าสูตรการ ให้คะแนนของอาร์โนลด์ และมีความเที่ยงต่ำกว่าสูตรการให้คะแนนของอาร์โนลด์
Other Abstract: This irvestigation had as its objective to develop multiple choice scoring formular considering test-takers’ partial knowledge score. Two main steps were conducted. The first step was a construction of two scoring formulars, the applied Arnolds’ and Hamdan’s scoring formulars (AA and AH). The second step was to study the quality of the scoring formulars and compared them with the number-right scoring formular (NR), Arnolds’ scoring formular (A) and Hamdan’s scoring formular (H) in the following aspects : construct validity (CV), criterion related validity (CRV) and internal consistency reliability (ICR). Integrated science process skill responses scores graded by each mentioned scoring formulars (consisting of identifying variables, formulating assumption, defining operational definition, designing experimentation and interpreting data) of 726 secondary middle school students from Kasetsart University Laboratory School in 1989 were analysed. LISREL maximum likelihood confirmatory factor analyses were conducted to analyse MTMM matrix in order to find out CV. The correlation between the scoring formular scores to criterion (logical thinking ability) were analysed to obtain the CRV and internal consistency reliability were analysed to obtain the ICR. The research findings were as follows (1) AA has lowerer CV than AH but there is no difference between their CRV. AA had higher ICR than that of AH and its relative efficiency of length was 1.48 times higher than that of AH. (2) AA had lower CV than that of A, H and NR but there was no differences among their CRV. AA had higher ICR than all others’. AA’s relative efficiency of length was 1.26, 1.50 and 1.55 times higher than all others’ respectively. (3) There was no difference between AH, H, NR’s CV, CRV and ICR. AH had Higher CV than A’s but lower ICR.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2534
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73842
ISBN: 9745786543
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Porntip_ch_front_p.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_ch_ch1_p.pdf1.47 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_ch_ch2_p.pdf3.59 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_ch_ch3_p.pdf3.23 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_ch_ch4_p.pdf2.44 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_ch_ch5_p.pdf1.59 MBAdobe PDFView/Open
Porntip_ch_back_p.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.