Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73862
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพอพันธ์ วัชจิตพันธ์-
dc.contributor.advisorสุชาติ เจริญรัตน์-
dc.contributor.authorนัยนา ลีสุขสันต์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-16T09:15:05Z-
dc.date.available2021-06-16T09:15:05Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.issn9745649414-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/73862-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en_US
dc.description.abstractผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานในการศึกษาไว้ 2 ข้อ ดังนี้คือ 1. ปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดโครงสร้างการบริหารกลุ่มคุณภาพ คือ ตำแหน่งงานภายในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต 2. ปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการนำกลุ่มคุณภาพมาใช้คือ ระดับการศึกษาของพนักงาน ในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิต ที่มีอัตราเฉลี่ยต่ำกว่าชั้นประถมศึกษาปีที่ 7 ผลที่ได้จากการวิจัย ทำให้ยอมรับสมมติฐานข้อ 1. แต่จะปฏิเสธสมมติฐานข้อ 2. ข้อสรุปของการวิจัย มีรายละเอียดดังนี้คือ 1. จากการสำรวจความจำเป็นในการวางแผนเตรียมการ พบว่า การริเริ่มนำเอากลุ่มคุณภาพเข้ามาใช้ในองค์การ จำเป็นจะต้องมีการวางแผนเตรียมการในหลาย ๆ ด้าน เช่น การอบรมให้ความรู้ในเรื่อง Qcc แก่ผู้บริหารและพนักงานในองค์การ และควรจะมีการปรับระดับความคิดของพนักงานให้รักองค์การ และเสริมสร้างให้มีการพัฒนาจิตสำนึกของพนักงานให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ต่องาน และต่อสังคม 2. สำหรับการกำหนดโครงสร้างการบริหารกลุ่มคุณภาพ พบว่าผู้บริหารในโครงสร้างการบริหารทั่วไปนั้น จะดำรงตำแหน่งผู้บริหารในโครงสร้างการบริหารกลุ่มคุณภาพด้วยและ สำหรับการกำหนดตัวผู้บริหารกลุ่มคุณภาพในระดับกลุ่มกิจกรรมนั้น กำหนดโดยคำนึงถึงความสามารถเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่กำหนดโดยคำนึงถึงตำแหน่งหน้าที่การงาน 3. ความคิดเห็นของผู้บริหารและพนักงานต่ออุปสรรคในการทำกิจกรรม Qcc ผู้บริหารและพนักงานโดยส่วนใหญ่ มีความเห็นว่าข้อจำกัดทางการศึกษาไม่เป็นอุปสรรคในการทำกิจกรรม Qcc แต่จะระบุว่าอุปสรรคสำคัญในการทำกิจกรรม Qcc คือ พนักงานยุ่งกับงานประจำ จนไม่มีเวลาทำกิจกรรม Qcc และจากการวิเคราะห์ตัวเลข (ไค - สแควร์) ที่เกี่ยวกับความเข้าใจวิธีการทำกิจกรรม Qcc ของพนักงานพบว่า ความเข้าใจของพนักงานไม่มีความสัมพันธ์กับการศึกษาของพนักงาน และผู้บริหารได้ระบุว่า อุปสรรคในการริเริ่มนำกลุ่มคุณภาพเข้ามาใช้ในองค์การก็คือ การมีผู้บริหารที่ไม่เข้าใจแนวความคิด Qcc อย่างแท้จริง และพนักงานยังไม่พร้อมที่จะรับแนวการบริหารแบบ Qcc 4. ในด้านความคิดเห็นต่อผลของการทำกิจกรรม Qcc ผู้บริหารและพนักงานโดย ส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นว่า ผลของการทํากิจกรรม Qcc นั้นมีส่วนช่วยให้คุณภาพงาน สภาพแวดล้อมการทำงาน ความสัมพันธ์ของผู้ร่วมงาน ความรู้สึกดีต่องาน การทำงานเป็นทีม ความรู้สึก ผูกพันกับบริษัท ความรู้สึกผูกพันกับงาน ความรู้สึกปลอดภัยในงาน และความมีส่วนร่วมในการบริหาร อยู่ในระดับที่ดีขึ้น และพนักงานโดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 63.29) ก็คิดว่าผลงาน Qcc ของตนประสบความสำเร็จ แต่ผู้บริหารโดยส่วนใหญ่ (ร้อยละ 54.35) ยังไม่พอใจกับผลงานการบริหาร Qcc ของตนเอง ทั้งนี้เพราะรู้สึกว่า ถ้าจะให้ได้ผลตามเป้าหมายที่วางเอาไว้ และรู้สึกพอใจก็จะต้องใช้เวลามากกว่านี้ 5. จากการสำรวจความคิดเห็นต่อการทำกิจกรรม Qcc ของพนักงานพบว่า พนักงาน ร้อยละ 68.62 ตอบว่าตนอยากที่จะทำกิจกรรม Qcc ต่อไปอีก โดยให้เหตุผลว่า จะช่วยให้ตน เองเข้าใจงานมากขึ้น และตนจะได้มีโอกาสเข้าร่วมตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับงานด้วย-
dc.description.abstractalternativeThis thesis was study under two main hypothesis as follows: 1. The factor which influenced the management structure of Quality Circles was the organizational positions within the industrial firm. 2. The main obstacle in adopting Quality Circles was the educational level of the employees in Industrial firm which were on average below Pratom 7. The research accepted the first hypothesis but rejected the secound. The research revealed the following results: 1. The survey of necesssity of planning and preparation showed that; The introduction of Quality Circles in an organization must be well planned and prepared for as QCC training to managers and employees in the organization 2. For the management structure of Quality Circles, it was found that; Managers in the organization structure will also be included as manager programs. The selection of Circle leaders, however, was based first on ability ans secondary on the job position. 3. The optional of managers and employees about the obstacles in participating in QCC activities showed that ; Most managers and employees believed that educational background was not the obstacle in participating in QCC activities. However the most important obstacle was heavy routine duties leaving no time to attend QCC activities. Statistical analysis was conducted and the results showed that the understanding of employees was not related to the education level of the employees. Managers commented that the obstacle in adopting Quality Circles in an organization was due to lack of understanding by managers about QCC concept and that the employees were not ready to accept QCC management. 4. The Optional of the result of QCC activities showed that ; Most managers and employees think that the result of QCC activities will develop Quality of work, workshop environment, employees relation, enjoy working, teamwork, concerning with company, concerning in work, security, paticipative management. Most employees (63.29%) think that they were success in QCC activities. But most managers (54.35%) did not satisfy their QCC management, achievement and satisfaction will take more time. 5. The survey of the optional of QCC activities showed that; Sixty eight percent of the employees answered that they wanted to continue the QCC activities. The reasons were that it would improve their understanding about the jobs and would provide the opportunities to participate in decision concerning their works.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1985.4-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอุตสาหกรรม -- การควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectการควบคุมคุณภาพen_US
dc.subjectIndustries -- Quality controlen_US
dc.subjectQuality controlen_US
dc.titleการศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการนำกลุ่มคุณภาพมาใช้ ในธุรกิจอุตสาหกรรมการผลิตของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeStudy on problems and obstacles in applying quality circle in Thai industrial firmen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1985.4-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Naiyana_le_front_p.pdfหน้าปกและบทคัดย่อ2.8 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_le_ch1_p.pdfบทที่ 12.18 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_le_ch2_p.pdfบทที่ 23.37 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_le_ch3_p.pdfบทที่ 314.61 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_le_ch4_p.pdfบทที่ 468.14 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_le_ch5_p.pdfบทที่ 51.62 MBAdobe PDFView/Open
Naiyana_le_back_p.pdfบรรณานุกรมและภาคผนวก2.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.