Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74028
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorสุชาดา เพ็ชรแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-23T03:33:27Z-
dc.date.available2021-06-23T03:33:27Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74028-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)-- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เข้าใจถึงกระบวนการผลิตและลักษณะการการกระจายข่าวของอุตสาหกรรมข่าว ตลอดจนถึงภาพรวมของลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทยโดยการประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดเรื่อง “โรงงานข่าว” “การผลิตข่าว” “การกระจายผลิตภัณฑ์” และ “อุตสาหกรรมการสื่อสาร” เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ และการเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร ผลการศึกษาสรุปได้ว่า อุตสาหกรรมข่าวในประเทศสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1. อุตสาหกรรมข่าวที่ผลิตและให้บริการผ่านสื่อมวลชน อันได้แก่ สำนักข่าว และ 2. อุตสาหกรรมข่าวที่ผลิตและกระจายข่าวให้แก่ผู้รับสาร อันได้แก่ สื่อมวลชน นอกจากนั้น ผลการวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทยสามารถสรุปได้ 4 ประการ คือ 1. ผู้ประกอบการของอุตสาหกรรมข่าวมีความสัมพันธ์กันอย่างเห็นได้ชัดในเชิงโครงสร้างเนื่องจากการมีแหล่งทรัพยากรเดียวกัน (อันได้แก่ ผู้รับสาร กลุ่มโฆษณา เงินทุน เป็นต้น) แต่ผู้ประกอบการทั้งหมดก็สามารถดำรงอยู่ในธุรกิจนี้ได้ด้วยการสร้างขอบเขตเฉพาะทางการตลาดชั้นใน 4 ประการ อันได้แก่ ระบบเนื้อหา แหล่งรายได้ อุปสรรคในการเข้าสู่อุตสาหกรรม และการมีขอบเขตในการปฏิบัติการที่แตกต่างกัน 2. องค์ประกอบในเชิงโครงสร้างส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมของผู้ประกอบการภายในอุตสาหกรรมข่าวในหลายลักษณะ ประการแรก ผู้ประกอบการมักมีการ เลียนแบบซึ่งกันและกันทั้งในส่วนของการจัดการด้านบรรณาธิการและธุรกิจ ทั้งนี้เพื่อลดความล้มเหลวที่อาจเกิดขึ้น และเพื่อให้สอดคล้องกับการแข่งขันทางธุรกิจประการที่สอง สินค้าข่าวมักปรากฏในรูปแบบตายตัวหรือแบบแผนเดิม ๆ ทั้งนี้เพราะการผลิตข่าวจะถูกควบคุม โดยผู้บริหาร กฎเกณฑ์และรูปแบบของแต่ละองค์กรนั่นเองและประการสุดท้าย การกำหนดราคาสินค้าข่าวระหว่างผู้ประกอบการและกลุ่มโฆษณามักไม่ได้พิจารณาถึงคุณค่าที่แท้จริงของเนื้อหา แต่เป็นการคำนึงถึงยอดจำหน่ายหรือยอดผู้ชม และปัจจัยต่าง ๆ มากกว่า 3. การดำเนินบทบาทของผู้ประกอบการภายในอุตสาหกรรมข่าว ขึ้นอยู่กับรายได้ หลัก กฎหมาย ความต้องการของกลุ่มโฆษณา, ผู้ถือหุ้น, ผู้รับสารและกลุ่มอำนาจทางการเมือง 4. ระบบของอุตสาหกรรมข่าวทำให้สินค้าข่าวมีคุณลักษณะพื้นฐานที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. สามารถนำมาผลิตซ้ำ เพื่อการใช้ประโยชน์ได้โดยการเพิ่มเติมหรือดัดแปลงเนื้อหาเพียงเล็กน้อย และ 2. เป็นเนื้อหาที่ผลิตและนำเสนอภายใต้เงื่อนไขของบริบทแวดล้อมต่าง ๆ โดยเนื้อหาที่ต่อต้านชนชั้นปกครองจะถูกปิดกั้นโอกาสในการนำเสนอ หรือถูกนำเสนอในลักษณะของการบิดเบือนด้วยวิธีต่าง ๆ ขณะที่เนื้อหาที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ชนชั้นปกครองจะได้รับโอกาสในการนำเสนอต่อผู้รับสารอยู่เสมอ-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสื่อมวลชนกับธุรกิจ -- ไทยen_US
dc.subjectMass media and business -- Thailanden_US
dc.titleการวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมข่าวในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe analysis of news industry in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสื่อสารมวลชนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suchada_pe_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch1_p.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch2_p.pdf1.5 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch3_p.pdf1.31 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch4_p.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch5_p.pdf3.05 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch6_p.pdf10.69 MBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_ch7_p.pdf933.21 kBAdobe PDFView/Open
Suchada_pe_back_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.