Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74053
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมบัติ กาญจนกิจ-
dc.contributor.authorสนั่น สนธิเมือง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-06-23T07:48:30Z-
dc.date.available2021-06-23T07:48:30Z-
dc.date.issued2536-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74053-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2536en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบเทคนิคจิตวิทยาการกีฬาของผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทยชุดซีเกมส์ ครั้งที่ 17 พ.ศ. 2536 และผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทยครั้งที่ 20 ปีการศึกษา 2535 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นจากกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เป็นผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทย ชุดซีเกมส์ ครั้งที่ 17 และผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 20 โดยการสุ่มแบบระดับชั้น แบ่งเป็น 5 ประเภทกีฬา ได้แก่ ประเภทกีฬาใช้ความแม่นยำ ประเภทกีฬาทีม ประเภทกีฬาปะทะ ประเภทกีฬาใช้แร็กเกต และประเภทกีฬาว่ายน้ำและกรีฑา แล้วทำการสุ่มอย่างง่ายในแต่ละประเภทกีฬาได้ผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทย ประเภทกีฬาละ 6 คน เป็นจำนวน 30 คน และผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยประเภทกีฬาละ 30 คน เป็นจำนวน 150 คน ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบด้วยค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทย ใช้เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.76 เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาที่ใช้มาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ เทคนิคการตั้งเป้าหมาย เทคนิคให้นักกีฬามีจิตใจเข้มแข็ง และเทคนิคเสริมให้นักกีฬามีความสามัคคีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียว 2. ผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัยใช้เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาอยู่ในระดับมากมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาที่ใช้มาก 3 ลำดับแรก ได้แก่ เทคนิคเสริมให้มีความสามัคคีให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวเทคนิคเสริมพฤติกรรมฮึกเหิม และเทคนิคให้นักกีฬามีจิตใจเข้มแข็ง 3. ผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทยและผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย ต้องการเรียนรู้เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 และ 4.09 ตามลำดับ 4. ผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทย และผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย ต้องการใช้เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาในอุดมคติในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.17 และ 4.19 ตามลำดับ 5. ผู้ฝึกสอนกีฬาทีมชาติไทยใช้เทคนิคจิตวิทยาการกีฬาไม่แตกต่างกันกับผู้ฝึกสอนกีฬามหาวิทยาลัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .05-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to examine and compare sport psychology techniques used of the 17th SEA Games Thai (B.E. 2536) National team coaches and 20th Thai University Games (B.E. 2536) coaches. Data collecting by using questionnaires which were administered selected subjects. Samples were divided by two procedure: (1) stratified random sampling into five sport groups respectively : Athletics (2) then using simple random from 6 Thai national teams coaches for a total number of 30 and 30 University games coaches of 5 sport groups accounted for 150. The obtained data were statistically analyzed in terms of percentage, means, standard deviations and t-test The finding were indicated. 1. The Thai national team coaches used sport psychology techniques at high level with 3.76 average means. The three main sport psychology techniques were goal setting mental toughness and team cohesion and harmony. 2. The University Games team coaches used sport psychology techniques at high level with 3.55 average means and the three main sport psychology techniques were team cohesion and harmony, aggression and mental toughness. 3. Both of the national teams and university games coaches had desired to learn at high level with average means of 4.19 and 4.09 respectively. 4. Both of the national two teams attempted to use ideal sport psychology techniques at high level with average means of 4.17 and 4.19 respectively. 5. There were no significant difference at .05 level between the national team coaches and university games coaches using sport psychology techniques.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกีฬา -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectผู้ฝึกกีฬา -- แง่จิตวิทยาen_US
dc.subjectSports -- Psychological aspectsen_US
dc.subjectCoaches (Athletics) -- Psychological aspectsen_US
dc.titleการศึกษาเทคนิคจิตวิทยาการกีฬาของผู้ฝึกสอนทีมชาติไทย และกีฬามหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeA study of sport psychology techniquies of national team and University games coachesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sanan_so_front_p.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_so_ch1_p.pdf910.35 kBAdobe PDFView/Open
Sanan_so_ch2_p.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_so_ch3_p.pdf689.96 kBAdobe PDFView/Open
Sanan_so_ch4_p.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_so_ch5_p.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open
Sanan_so_back_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.