Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74356
Title: การศึกษาศักยภาพเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำบนเกาะสมุย
Other Titles: A Study on potential for development of water resources on Samui Island
Authors: ปานเทพ วิริยานนท์
Advisors: สุรวุฒิ ประดิษฐานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: suravuth@shinawatra.ac.th
Subjects: โครงการคลองลิปะใหญ่
การพัฒนาแหล่งน้ำ -- ไทย (ภาคใต้)
ฝน -- ไทย -- เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี)
แหล่งน้ำ -- ไทย -- เกาะสมุย (สุราษฎร์ธานี)
การศึกษาความเป็นไปได้
เกาะสมุย (สุราษฏร์ธานี)
Water resources development -- Thailand, Southern
Rain and rainfall -- Thailand -- Samui Island
Water-supply -- Thailand -- Samui Island
Feasibility studies
Samui Islands (Thailand)
Issue Date: 2533
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มุ่งพิจารณาศักยภาพเพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำบนเกาะสมุยในเชิงปริมาณทั้งแหล่งน้ำฝน น้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน สำหรับประชากรท้องถิ่นและนักท่องเที่ยวในระดับรวมทั้งเกาะและระดับพื้นที่ย่อยด้วยการแบ่งเกาะสมุยเป็น 3 พื้นที่ได้แก่ด้านทิศเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ (ต.แม่น้ำ และ ต.บ่อผุด) ด้านทิศตะวันออกตอนใต้ (ต.มะเร็ด และ ต.หน้าเมือง) และด้านทิศตะวันตกของเกาะ (ต.ตลิ่งงาม ต.ลิปะน้อย และ ต.อ่างทอง) โดยใช้ข้อมูลน้ำฝนประเมินปริมาณน้ำฝนและน้ำผิวดินและการทดสอบสูบน้ำเพื่อประเมินปริมาณน้ำใต้ดินอันเป็นแนวทางในการวางแผนพัฒนาและจัดการแหล่งน้ำเพื่อรองรับการพัฒนาเกาะสมุย ผลการศึกษาพบว่าในสภาพปัจจุบันยังมีปริมาณน้ำดิบเพียงพอกับความต้องการแต่ยังไม่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ภายใต้การจัดการปัจจุบันเริ่มมีปัญหาการขาดแคลนน้ำในบางพื้นที่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูกาลท่องเที่ยวช่วงฤดูร้อนที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวสูงสุด (เมษายน) และในเดือนที่ระดับน้ำใต้ดินลดต่ำ (สิงหาคม) จึงต้องมีการพัฒนาและจัดการเพิ่มเติมในระดับเกาะควรสร้างอ่างเก็บน้ำผิวดินและระบบส่งน้ำหลักรอบเกาะโดยเฉพาะในแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนหลักในระดับพื้นที่ควรมีพัฒนาน้ำใต้ดินและฝายที่มีอยู่ให้ได้ปริมาณน้ำมากขึ้นตลอดจนส่งเสริมให้มีการใช้น้ำฝนเพิ่มมากขึ้นการพัฒนาระบบประปาควรเริ่มพัฒนาในพื้นที่ด้านตะวันออกเฉียงเหนือและด้านทิศตะวันตกของเกาะก่อนแล้วจึงเชื่อมต่อกับพื้นที่ด้านตะวันออกตอนใต้ของเกาะเมื่อมีความต้องการใช้น้ำมากกว่าปริมาณน้ำในพื้นที่อย่างไรก็ดีเมื่อพิจารณาแนวโน้มการขยายตัวของการท่องเที่ยวบนเกาะสมุยแหล่งน้ำบนเกาะจะเพียงพอสำหรับการพัฒนาในระดับหนึ่งเท่านั้น ฉะนั้นจึงต้องมีมาตรการในการจัดสรรน้ำอย่างยุติธรรมเพื่อป้องกันข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ใช้น้ำทั้งนี้เพราะการใช้น้ำเพื่อรองรับกิจการท่องเที่ยวมีมากขึ้นในอนาคตและให้ผลตอบแทนสูง การพัฒนาจึงจำเป็นต้องมุ่งเพื่อรองรับการเจริญเติบโตไปยังกลุ่มนี้แต่ขณะเดียวกันต้องคำนึงประชากรท้องถิ่นด้วย การศึกษานี้คาดว่าเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนหลักพัฒนาแหล่งน้ำบนเกาะสมุยและเป็นกรณีตัวอย่างเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่เกาะอื่นๆ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวและชุมชนที่สำคัญที่จะมีการดำเนินการศึกษาต่อไป
Other Abstract: This study aims at quantitative assessments of potential for water resources development on Samui Island. All available sources, viz., rain water, subsurface and surface water were considered to meet the demands of local residents and tourists. The study were for Samui Island as a whole as well as subsections of the island which divided into 3 zones; northern and northeastern zone (Maemam and Bo Phut), southeastern zone (Maret and Nha Muang) and western zone (Ta Ling Ngam, Lipanoi and Angthong). The study used rainfall data for assessing available rain and surface water and pumping test to assess groundwater availability. Availability assessments were used as a guideline for the water resources development, planning and management of Samui Island. Results of the study indicated that the amount of surface water on Samui Island was still sufficient for the present and near future demand. However under present management, n certain areas there were sign of insufficiency especially during the dry season when the number of tourist was at the peak (April) and in the month when the ground water level was at lowest point (August). For the whole island, more reservoirs and main distribution system needed to built to specific communities on the island, especially the tourist spots and main communities. For the subareas, groundwater wells and its efficiency should be improved. Existing weirs should be improved to store more water. Increasing use of rainwater cisterns should be encouraged. Initially, water supply subsystems should be developed in northeastern and western zone then connect together when southeastern zone demand was exceeding available surface water. However, available water resources can only meet future demand at a certain level. Proper management measures must be developed to fairly allocate the available water resources to all users in order to avoid conflicts among users. It was quite certain that more tourist would come to the island. Attention would have to be given to this group but at the same time consideration must also be given to the local population and their need of water.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74356
ISBN: 9745772321
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panthep_vi_front.pdf531.64 kBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_ch1.pdf502.41 kBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_ch2.pdf2.64 MBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_ch3.pdf2.32 MBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_ch4.pdf11.26 MBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_ch5.pdf2.87 MBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_ch6.pdf514.25 kBAdobe PDFView/Open
Panthep_vi_back.pdf9.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.