Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74402
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิษณุ เครืองาม-
dc.contributor.advisorดำริห์ บูรณะนนท์-
dc.contributor.authorวรสิทธิ์ อภิชาติโชติ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-07-08T03:59:56Z-
dc.date.available2021-07-08T03:59:56Z-
dc.date.issued2533-
dc.identifier.isbn9745783404-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74402-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533en_US
dc.description.abstractการเลือกตั้งเป็นวิธีการสำคัญในระบอบประชาธิปไตย ในปัจจุบันประเทศต่างๆ ได้ยึดถือทฤษฎีเกี่ยวกับการออกเสียงเลือกตั้งใหญ่ๆ อยู่ 2 ทฤษฎี คือ 1.ทฤษฎีที่ว่าการออกเสียงเลือกตั้งเป็นสิทธิ 2.ทฤษฎีที่ว่าการออกเสียงเลือกตั้งเป็นหน้าที่ ทฤษฎีที่ว่าการออกเสียงเลือกตั้งเป็นหน้าที่ กำหนดให้มีการบังคับให้ไปเลือกตั้ง ทฤษฎีนี้อยู่บนหลักการที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติ มิใช่ของประชาชนหรือราษฎร แต่อย่างไรก็ตาม ประเทศที่ถือว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติก็ไม่ได้มีการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้งเสมอไป เพราะในปัจจุบันหลักที่ว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติหรือของประชาชนเป็นเรื่องในทางทฤษฎีเท่านั้น สาเหตุที่แท้จริงของการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้ง จึงอยู่ที่ภาคปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี นั่นคือ ความไม่สนใจในการเลือกตั้งของประชาชนซึ่งมีจำนวนมากและเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งให้มากที่สุด รวมทั้งเหตุผลที่ว่าการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้งจะเป็นการช่วยเพิ่มการศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชน ตลอดจนความรู้สึกที่ว่าสิ่งใดที่เป็นเรื่องของส่วนรวมหรือของประเทศชาติ ประชาชนต้องถือเป็นภาระหน้าที่เช่นเดียวกับหน้าที่อื่นๆ มาตรการทางกฎหมายในการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้ง มีการออกกฎหมายในลักษณะต่างๆ กัน บางประเทศบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ บางประเทศบัญญัติไว้ในกฎหมายเลือกตั้งเพื่อใช้กับการเลือกตั้งบางประเภทหรือบางพื้นที่ นอกจากนี้มีการจัดมาตรการเสริมขึ้นรองรับ นอกเหนือจากมาตรการทางกฎหมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกในการเลือกตั้งในด้านต่างๆ สำหรับสภาพบังคับทางกฎหมาย มีการกำหนดโทษต่างๆ กัน แต่มักเป็นสถานเบา เช่น ปรับ ตักเตือน หรือโทษทางสังคมหรือทางการเมือง นอกจากนี้น่าสังเกตว่าการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้งในบางประเทศ มีส่วนสัมพันธ์กับระบบเลือกตั้ง คือ ใช้คู่กับการเลือกตั้งแบบสัดส่วน จากการวิจัยพบว่าในบางประเทศ เช่น ออสเตรเลีย เมื่อมีการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้งแล้วทำให้จำนวนผู้ไปออกเสียงมากขึ้น แต่จำนวนบัตรเสียก็มีมากขึ้น และการลงคะแนนแสดงถึงการขาดจิตสำนึกหรือความระมัดระวังในการกาบัตร จึงอาจเป็นไปได้ที่ว่าการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้ง บังคับได้แต่เพียงให้ประชาชนไปยังสถานที่เลือกตั้งเท่านั้น แต่การกาบัตรอย่างเต็มใจให้ถูกต้องและมีจิตสำนึกไม่อาจบังคับกันได้en_US
dc.description.abstractalternativeElection is the most important process in the democratic system. Election in each country is now based on either the right to vote theory or the duty to vote theory. The duty theory or the compulsory voting is based on the presumption that Sovereignty belongs to the Nation and not the People. However, not all countries believing in this theory compel their people to vote because such belief is deemed purely theoretical. The real reasons behind compulsory voting are the voters’ disinterest in voting, need for more public participation in voting, need for more practical political education to the people and need for public devotion to the national political activity. Compulsory voting can be imposed in the Constitution or in the election law and can be used in some kinds of elections or even in some specific areas. Furthermore, some supportive measures other than legal measures may be introduced for the convenience of the voters. With respect to the legal sanctions, punishments for the violators can be imposed but only trivial ones are applied such as fine, warning, and social or political sanctions. It should also be noted that compulsory voting in some countries are adopted together with the proportional system of election. Research in some countries such as Australia reveal that after compulsory voting is applicable, more spoiled voting ballots are found, while the turn out rate of voters is increasing. It is therefore understood that compulsory voting is successful only in compelling the voters to register or to show up to vote and not in compelling the voters to vote willingly, rightly or consciously.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเลือกตั้งen_US
dc.subjectการลงคะแนนเสียงen_US
dc.subjectElectionsen_US
dc.subjectVotingen_US
dc.titleการบังคับให้ไปออกเสียงเลือกตั้ง : แนวคิดและผลen_US
dc.title.alternativeCompulsory voting : concept and consequencesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwissanu.k@chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Lalita_yu_front_p.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_yu_ch1_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_yu_ch2_p.pdf2.76 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_yu_ch3_p.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_yu_ch4_p.pdf2.97 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_yu_ch5_p.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Lalita_yu_back_p.pdf3.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.