Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74407
Title: ผลของการท่องเที่ยวต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเขตสุขาภิบาล จังหวัดชลบุรี
Other Titles: Impact of tourism on economic activities in saen suk sanitary area, Changwat Chon Buri
Authors: สามารถ ป๊อกตัง
Advisors: ไพฑูรย์ พงศะบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การท่องเที่ยว -- แง่เศรษฐกิจ -- ไทย -- ชลบุรี
ชลบุรี -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
Travel -- Economic aspects -- Thailand -- Chon Buri
Chon Buri -- Description and travel
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาบทบาทของการท่องเที่ยวที่มีต่อการสร้างงานของประชากรในสุขาภิบาลแสนสุข จังหวัดชลบุรี จัดลำดับความสำคัญของกิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว การเคลื่อนที่ของผู้ประกอบการ แรงงาน และวัตถุดิบเพื่อบริการแก่นักท่องเที่ยว ตลอดลอดจนศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการพัฒนาการท่องเที่ยวในสุขาภิบาลแสนสุข ผลการวิจัยพบว่า การท่องเที่ยวก่อให้เกิดการจ้างงานแก่ผู้ประกอบการและแรงงานที่เป็นประชาชนในท้องถิ่น แต่กิจการต่าง ๆ เป็นกิจการขนาดเล็ก ใช้ทุนไม่มากนัก และใช้แรงงานในครอบครัวเพื่อการค้าและการบริการเป็นหลัก โดยกิจการที่ใช้แรงงานมากที่สุดคือ กิจการด้านสวนอาหาร หรือ ภัตตาคาร ซึ่งเป็นกิจการที่มีความสำคัญ และให้รายได้แก่ผู้ประกอบการมากที่สุด ผู้ประกอบการและแรงแรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับการท่องเที่ยวเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาอยู่ในท้องถิ่นเกือบทั้งหมด นอกนั้นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดชลบุรี ภายนอกเขตสุขาภิบาลแสนสุขและได้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในสุขาภิบาลแสนสุขใดยเฉลี่ย 12 ปี สินค้า และวัตถุดิบที่นำมาแปรรูปเพื่อจำหน่ายให้กับนักท่องเที่ยวได้จากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ มีเพียงบางส่วนที่ได้จากท้องที่อื่นในจังหวัดชลบุรีและต่างจังหวัด ปัญหาที่สำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการท่องเที่ยว ได้แก่ ปัญหาการขาดการควบคุมการใช้ที่ดินที่เหมาะสม โดยการปล่อยให้มีการก่อสร้างรุกล้ำลงไปในทะเล ปัญหามลภาวะ และปัญหาการจราจรติดขัดในวันหยุด และวันนักขัตฤกษ์
Other Abstract: The purpose of this research is to study the role of tourism in terms of employment generating in Saen Suk Sanitary Area, Changwat Chon Buri. and to rank the importance of various kinds of tourism-related business in the area. The study also includes the movement of entrepreneurs, workers and raw materials associated with local tourism. Some major problems and constraints of local tourism have been pointed out and recommendations for further development have been given. From the study. it is found that tourism has created a large number of jobs for both entrepreneurs and workers who are local residents. Most business is conducted on a small scale, using family labor and only a small capital. Restaurant business requires more workers per unit than other occupations and renders the highest profit to the entrepreneurs. Almost all of the entrepreneurs and workers are natives of the area. The rest consists mainly of those who migrated from other districts of Chon Buri into this area within an average period of 12 years. As for goods and raw materials to be processed for the demand of tourists, they are produced mainly locally: only a few are brought over from other districts of Chon Buri or from somewhere else. Major problems of tourism development in the area consist of the Lack of orderliness of buildings and stalls, the encroachment of buildings upon the sea-shore, the pollution, and the traffic jam during week-ends.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภูมิศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74407
ISBN: 9745761346
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Samard_po_front_p.pdf892.81 kBAdobe PDFView/Open
Samard_po_ch1_p.pdf714.35 kBAdobe PDFView/Open
Samard_po_ch2_p.pdf945.52 kBAdobe PDFView/Open
Samard_po_ch3_p.pdf864.41 kBAdobe PDFView/Open
Samard_po_ch4_p.pdf1.91 MBAdobe PDFView/Open
Samard_po_ch5_p.pdf1.45 MBAdobe PDFView/Open
Samard_po_ch6_p.pdf726.87 kBAdobe PDFView/Open
Samard_po_back_p.pdf1.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.