Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74408
Title: | การวิเคราะห์ต้นทุนและผลได้จากการตรวจค้นหา ผู้ติดเชื้อไวรัสเอดสเบื้องต้นในผู้ป่วยกามโรค |
Other Titles: | Cost benefit analysis ov screening Hiv-Antibody (AIDS) in venereal disease patients |
Authors: | สุคนธา คงศีล |
Advisors: | ไกรยุทธ ธีรตยาคีนันท์ สมศักดิ์ ภักดีวงศ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | โรคเอดส์ กามโรค ต้นทุนและประสิทธิผล AIDS (Disease) Sexually transmitted diseases Cost effectiveness |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของต้นทุนและผลได้ และการประเมินความคุ้มค่าในการตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสเอดส์เบื้องต้น โดยวิธีอีไลซ่า ในผู้ป่วยกามโรคชายหญิง อายุระหว่าง 15- 39 ปี ซึ่งมารับบริการการตรวจรักษา ณ สถานกามโรคบางรักทุกรายเปรียบเทียบกับการพิจารณาให้มีการตรวจบางรายโดยดุลยพินิจของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ การศึกษาวิเคราะห์ผลประโยชน์และผลเสียที่เกิดขึ้นในช่วงปัจจุบันและช่วงอนาคตที่ผู้เป็นโรคเอดส์จะใช้ชีวิตในสังคม โดยใช้การวิเคราะห์ทางเศรษฐศาสตร์เป็นหลักในการประเมินต้นทุนและผลได้ และวิธีการทางระบาดวิทยาเป็นบางส่วน เพื่อหาจำนวนผู้ป่วยกามโรคที่จะกลายเป็นเอดส์เต็มขั้น และจำนวนประชากรที่จะติดเชื้อไวรัสเอดส์จากผู้ป่วยกามโรคที่มีเชื้อไวรัสเอดส์อยู่ด้วย แต่ไม่ได้รับการบำบัดและควบคุม แบบจำลองที่นำมาศึกษาต้นทุนและผลได้ ประกอบด้วยแบบจำลอง 2 ประเภท ได้แก่ แบบจำลองของการให้มีการตรวจทุกราย และแบบจำลองของการให้มีการตรวจบางราย ในกรณีของต้นทุนสามารถคำนวณหาต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการให้มีการตรวจทุกราย และในกรณีของผลได้สามารถคำนวณหาจำนวนประชากรที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสเอดส์ เพื่อหาทรัพยากรในการรักษาที่ป้องกันได้ และจำนวนผู้ป่วยกามโรคที่จะกลายเป็นเอดส์เต็มขั้นที่ป้องกันได้ เพื่อหาการสูญเสียรายได้ในอนาคตที่ไม่ต้องเสียไป การศึกษาพบว่า การตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อไวรัสเอดส์เบื้องต้นในผู้ป่วยกามโรคทุกรายให้ผลคุ้มค่ามากกว่าการให้มีการตรวจเพียงบางรายในทุกกรณี โดยที่ต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการตรวจทุกราย 1 หน่วย จะออมทรัพยากรในการรักษาที่สามารถป้องกันได้ภายในระยะเวลา 1 ปีได้ถึงประมาณ 350 หน่วย และสามารถป้องกันการสูญเสียรายได้ในอนาคตได้ 0.69 หน่วย หรือประมาณ 1 หน่วย อัตราความชุกของการติดเชื้อไวรัสเอดส์ของผู้ป่วยกามโรคที่ตรวจพบ ร้อยละ 0.22 เป็นค่าที่ต่ำที่สุดที่จะทำให้การตรวจทุกรายให้ผลคุ้มค่า |
Other Abstract: | The objectives of this study were to analyse cost and benefit components and to evaluate the relative cost-effectiveness (worth alternative) of routine screening HIV-antibody (AIDS). by using ELISA method in 314 females and 1,012 males patients with venereal diseases aged between 15-39 years attending clinic at Bangrak hospital for proper treatments as compared with screening HIV-antibody (AIDS) using also ELISA method by the expert's judgment. This analysis was cross-sectional prospective study using mainly cost-benefit analysis and epidemiological study for searching number of venereal disease with HIV-positive cases with high probability for full blown AIDS and number of population to be HIV-infected from contacting those venereal disease cases. The cost and benefit analysis was applied to two models, the first was routine screening model and the other was the expert's judgment model. The cost was calculated from additional cost incurred by making every routine screening Benefit in the first model was estimated from predictable prevented HIV-positive cases and resources saving in the symtomatic treatment. Benefit in the other was calculated from predictable prevented full blown AIDS cases and the earning income foregone. It was found that the routine screening test is much more cost effective than the expert's judgment in every aspect. Similarly, the additional cost per 1 unit could save the treatment resources about 350 units and could prevent the loss of income foregone by 0.69 unit or approximately 1 unit. The prevalence rate should be 0.22 percent to make every routine screening feasible. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เศรษฐศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74408 |
ISBN: | 9745785385 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sukhontha_ko_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukhontha_ko_ch1_p.pdf | 1.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukhontha_ko_ch2_p.pdf | 3.16 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukhontha_ko_ch3_p.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukhontha_ko_ch4_p.pdf | 3.52 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukhontha_ko_ch5_p.pdf | 1.47 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sukhontha_ko_back_p.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.