Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74413
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุรางค์ศรี ตันเสียงสม-
dc.contributor.authorทซึจิยะ, ซะโตโกะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2021-07-09T07:16:57Z-
dc.date.available2021-07-09T07:16:57Z-
dc.date.issued2540-
dc.identifier.isbn9746381318-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74413-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาการปรากฏขึ้นและการเปลี่ยนแปลงของภาพลักษณ์ของ ยามาดา นางามาซา ในเอกสารฝ่ายไทยและในเอกสารฝ่ายญี่ปุ่น และผลของภาพลักษณ์ยามาดา นางามาซาที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับบระเทศญี่ปุ่นในคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดยมีสมมุติฐานว่าประเทศทั้งสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งญี่ปุ่นพยายามใช้ยามาดาเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์ที่ดียาวนานกับไทย ภาพลักษณ์ของยามาดา นางามาชาในเอกสารฝ่ายไทยและเอกสารฝ่ายญี่ปุ่นแตกต่างกันมาก ความสนใจของ ญี่ปุ่นต่อยามาดาเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโทะกุงะวะและเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ความสนใจดังกล่าวแบ่งออกเป็นสองช่วงที่สำคัญคือ ช่วง ค.ศ.1888-1893 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีแนวความคิดชาตินิยม แนวความคิดแบบเอเชียนิยม และแนวความคิดนันฌินรน (การรุกรานและขยายดินแดนของญี่ปุ่นลงไปทางทิศใต้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง) ภาพลักษณ์ของยามาดาจึงถูกสร้างให้เป็นกษัตริย์สยาม ช่วงที่สองคือช่วง ค,ศ.1940-1945 ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นมีนโยบายวงไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ในช่วงนี้ภาพลักษณ์ ยามาดาได้รับการยกย่องว่าเป็นวีรบุรุษในการเดินทางสู่ทิศใต้ ขณะที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจกับเรื่องราวของยามาดาอย่างมาก แต่ฝ่ายไทยไม่ได้ให้ความสนใจยามาดามากนัก ภาพของยามาดาจะปรากฎในลักษณะเป็นเพียงหัวหน้าอาสาสมัครญี่ปุ่น และเป็นเครื่องมือสำคัญในการแย่งชิงอำนาจของพระมหากษัตริย์หรือขุนนางไทยเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีความแน่นแฟ้นมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษ 1930 ฝ่ายทหารเรือญี่ปุ่นถือว่า นโยบายนันฌินรนมีความสำคัญมาก เพราะดินแดนทางใต้เป็นแหล่งทรัพยากรที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1936 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยอมรับว่านันฌินรนเป็นนโยบายหลัก ในระยะเวลาดังกล่าวนี้สมาคมญี่ปุ่น-สยาม ในกรุงเทพมหานครมีส่วนสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับญี่ปุ่น โดยพยายามที่จะสร้างอนุสรณ์สถานของยามาดาที่หมู่บ้านญี่ปุ่น จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ความพยายามดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นว่ายามาดาเป็นสัญลักษณ์ของความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างประเทศทั้งสองตลอดระยะเวลา 300 ปี หลังจากนั้นชื่อของยามาดาไม่ได้รับการกล่าวถึงมากนัก จนกระทั่งหลังสงครามโลกครั้งที่สอง จึงมีการรื้อฟื้นที่จะสร้างอนุสรณ์สถานยามาดาอีกครั้งหนึ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน ค.ศ. 1987 มีโครงการศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และโครงการสร้าง อนุสรณ์ลทานยามาดาจังหวัดนครศรีธรรมราชซึ่งโครงการทั้งสองสะท้อนให้เห็นถึงภาพลักษณ์ของยามาดา นางามาซา ว่า เป็นวีรบุรุษในใจของคนญี่ปุ่นและเป็นสาเหตุที่คนไทยมองว่าเป็นการแทรกแซงทางวัฒนธรรมไทยของคนญี่ปุ่น-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the origins of, and changes in, the image of Yamada Nagamasa from documents both on the Thai side and on the Japanese side, and to examine how the image of Yamada Nagamasa has had an influence on the relationship between Thailand and Japan in the twentieth century. The hypothesis is that both countries, especially Japan, tried to use the image of Yamada as the symbol of a good and long-lasting relationship of the two countries. The image of Yamada Nagamasa as seen by the two sides was quite different. Japan’s interest in Yamada began in the Tokugawa period and it has continuously increased. This Japanese interest in Yamada manifested itself most clearly during two important periods. The fist period (1888 - 1893) was during the time when Japan saw the birth of nationalistic ideas as well as the ideas of Asianism and Nanshinron (emphasizing the justifiability of Japan's southward expansion). The Japanese even portrayed Yamada as a king of Siam. The second period (1940 -1945) was when Japan had a policy of creating and maintaining "Greater East Asia Co-Prosperity Sphere" (Dai Toa Kyohei Ken). During this latter period Yamada was portrayed - conveniently for the policy - as a hero who went down south. Although Japan had always been interested in Yamada's story, Thailand had little interest in him. The image of Yamada as seen by the Thais was that he was merely the head of Japanese mercenaries in Siam, and an important tool when Siamese kings and nobles competed for the crown. The relationship between Thailand and Japan began to be closer from the 1930s onwards. The Japanese Navy thought that the Nanshini (going south ) policy was important because the lands in the southern direction, especially the countries of Southeast Asia, were rich in resources. In August 1936 the Japanese government accepted the Nanshin policy as one of its basic policies. At the same time the Japanese-Siam Association in Bangkok attempted to play an important role in fostering a good relationship between Thailand and Japan by trying to build a monument to Yamada in the area formerly occupied by the Japanese settlement in Ayutthaya. Such an endeavour shows that Yamada was the symbol of 300 year-long relationship between the two countnes. After that Yamada's name did not appear so often. After the Second World War projects concerning the building of a Yamada monument were revived. In 1987, especially, there were two such projects : the Ayutthaya Historical study Center project in Ayutthaya. and the Yamada memorial project in Nakhon Sithammarat. Both projects showed that while on the one hand the image of Yamada as a hero persisted in Japanese minds. Thai people on the other hand felt that Japan was interfering culturally in Thailand.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1997.351-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectไทย -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ญี่ปุ่นen_US
dc.subjectญี่ปุ่น -- ความสัมพันธ์กับต่างประเทศ -- ไทยen_US
dc.subjectThailand -- Foreign relations -- Japanen_US
dc.subjectJapan -- Foreign relations -- Thailanden_US
dc.titleภาพลักษณ์ของยามาดา นางามาซา ในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับประเทศญี่ปุ่น ในคริสต์ศตวรรษที่ 20en_US
dc.title.alternativeThe image of Yamada Nagamasa in the relationship between Thailand and Japan in the Twenties Centuryen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineประวัติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1997.351-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Satoko_ts_front_p.pdfหน้าปก และบทคัดย่อ918.67 kBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch0_p.pdfบทนำ842.39 kBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch1_p.pdfบทที่ 12.7 MBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch2_p.pdfบทที่ 23.13 MBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch3_p.pdfบทที่ 31.76 MBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch4_p.pdfบทที่ 42.58 MBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch5_p.pdfบทที่ 51.65 MBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_ch6_p.pdfบทที่ 6745.21 kBAdobe PDFView/Open
Satoko_ts_back_p.pdfบรรณานุกรม และภาคผนวก2.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.