Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74415
Title: การศึกษาการใช้กลุ่มบำบัดทางพฤติกรรมความคิดต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้า โรงพยาบาลปทุมธานี
Other Titles: A study of using group cognitive behavioral therapy on depression of patients with depressive disorder, Pathumthani Hospital
Authors: พจนีย์ สุคติภูมิ
Advisors: อรพรรณ ลือบุญธวัชชัย
Advisor's Email: Oraphun.Lu@chula.ac.th
Subjects: โรคซึมเศร้า -- ผู้ป่วย -- ไทย
จิตบำบัดแบบความคิดปรับเปลี่ยนพฤติกรรม -- ไทย
Psychotic depression -- Patients -- Thailand
Cognitive therapy -- Thailand
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรค ซึมเศร้าก่อนและหลังการเข้าร่วมการบำบัดทางพฤติกรรมความคิด ที่เข้ารับการตรวจรักษาที่แผนกจิตเวชผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรค ซึมเศร้าตามคู่มือการวินิจฉัย DSM IV จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ กลุ่มบำบัดทางพฤติกรรมความคิดได้ตรวจสอบความตรงของเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 4 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบประเมินภาวะซึมเศร้าของ Beck และเครื่องมือกำกับการศึกษาเป็นแบบประเมินความคิดอัตโนมัติด้านลบ ซึ่งได้ทดสอบหาค่าความเที่ยงได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .84 และ.84 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที (paired t-test) ผลการศึกษาพบว่า คะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าภายหลังการเข้าร่วมการบำบัดทางพฤติกรรมความคิดลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: --
The purpose of this study was to compare depressive score of patients with depressive disorder at the out-patients department of Pathumthani Hospital before and after using group cognitive behavioral therapy. The study samples were 20 patients with depressive disorder. The study instruments were the group cognitive behavioral therapy program. Beck Depression Inventory and Automatic Thoughts Questionnaire. The study instruments were examined for content validity by four professional experts and tested for reliability. The reliability of the test were .84 and .84 respectively. Statistical techniques used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and paired t-test The result of this study was as follow: Depressive score of patients with depressive disorder who received the group cognitive behavioral therapy was significantly lower than before received the group cognitive behavioral therapy at the .05 level
Description: สารนิพนธ์ (พย.ม.) -- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74415
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2007.2204
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2007.2204
Type: Independent Study
Appears in Collections:Nurse - Independent Studies

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Photjani_su_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ827.8 kBAdobe PDFView/Open
Photjani_su_ch1_p.pdfบทที่ 11.41 MBAdobe PDFView/Open
Photjani_su_ch2_p.pdfบทที่ 23.14 MBAdobe PDFView/Open
Photjani_su_ch3_p.pdfบทที่ 31.55 MBAdobe PDFView/Open
Photjani_su_ch4_p.pdfบทที่ 4724.83 kBAdobe PDFView/Open
Photjani_su_ch5_p.pdfบทที่ 51 MBAdobe PDFView/Open
Photjani_su_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก1.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.