Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74421
Title: | การจำแนกชนิดและการกระจายของปลาวัยอ่อนในบริเวณป่าชายเลนอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง |
Other Titles: | Identification and distribution of fish larvae in mangrove forest at Sikao district, Trang province |
Authors: | ประเสริฐ ทองหนูนุ้ย |
Email: | ไม่มีข้อมูล |
Advisors: | ณิฏฐารัตน์ ปภาวสิทธิ์ อภิชาติ เติมวิชชากร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Nittharatana.P@Chula.ac.th |
Subjects: | ปลา -- ตัวอ่อน ปลา -- การจำแนก ปลา -- การกระจายพันธุ์ ป่าชายเลน -- ไทย -- ตรัง อำเภอสิเกา (ตรัง) Fishes -- Embryos Fishes -- Classification Fishes -- Dispersal Mangrove forests -- Thailand -- Trang |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาการจำแนกชนิดและการกระจายของปลาวัยอ่อนในบริเวณป่าชายเลนอำเภอสิเกา จังหวัดตรัง ในระหว่างเดือนพฤษภาคม 2539 ถึงเดือนพฤษภาคม 2540 โดยทำการเกึบตัวอย่างทุกสองเดือน จุดเก็บตัวอย่างแบ่ง ออกเป็น 6 สถานี ตามความห่างไกลจากปากคลองจนถึงบริเวณป่าชายเลนตอนใน เก็บตัวอย่าง 2 ช่วงคือ ขณะน้ำกำลังขึ้นและขณะนาขึ้นสูงสุด พร้อมกันนี้ได้ดำเนินการตรวจวัดความเค็ม อุณหภูมิ ความเป็นกรด-เบส ความโปร่งแสง และปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำควบคู่กันไปด้วยกับการเก็บตัวอย่างปลาวัยอ่อน พบปลาวัยอ่อน 20 วงศ์ ส่วนใหญ่เป็นปลาทะเลที่เข้ามาในบริเวณนี้โดยมีปลาวัยอ่อนวงศ์ Gobiidae ปริมาณมากที่สุดและมีการกระจายอยู่ทั่วไป รองลงมาได้แก่ ปลาวัยอ่อนวงศ์ Clupeidae และ Blenniidae ตามลำดับ ป่าชายเลนบริเวณนี้มีความสำคัญโดยเป็นแหล่งอนุบาล และที่อยู่อาศัยของปลาหลายชนิด ปลาทะเลที่จัดว่าเป็นกลุ่มที่ อาศัยพึ่งพิงป่าชายเลนโดยพบเป็นกลุ่มที่อยู่ถาวรในบริเวณนี้พบรวมทั้งสิ้น 9 วงศ์ ได้แก่ Gobiidae, Clupeidae, Engraulidae, Gerreidae, Leiognathidae, Hemiramphidae, Apogonidae, Sillaginidae และ Tetraodontidae ส่วนปลา วงศ์อื่นต่อไปนี้ พบว่าเข้ามาในบริเวณป่าชายเลนในระยะวัยอ่อนเพื่อเป็นแหล่งอนุบาลและกลับเข้ามาหาอาหารใน ระยะโตเต็มวัยอีกครั้งหนึ่ง ได้แก่ Blenniidae, Atherinidae, Ambassidae, Mullidae, Syngnathidae, Terapontidae, Exocoetidae, Cynoglossidae, Monacanthidae, Soleidae และ Synodontidae ส่วนไข่ปลาพบได้ตลอดช่วงที่ทำการศึกษาโดยมีปริมาณสุงสุดในเดือนพฤษภาคม ปริมาณปลาวัยอ่อนมีความแตกต่างระหว่างฤดูกาลโดยพบปลาวัยอ่อนรวมทุกวงศ์มีปริมาณความหนาแน่นเฉลี่ยรวมสุงสุดช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในเดือนมิถุนายน ปริมาณความหนาแน่นมีค่าต่ำสุดในเดือนมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ การกระจายของกลุ่มปลาทะเลวัยอ่อนมีความแตกต่างกันขณะน้ำกำลังขึ้นและขณะน้ำขึ้นสุงสุด การกระจายของปลากลุ่มนี้พบว่ามีการกระจายหนาแน่นบริเวณปากคลอง ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาวะแวดล้อมในช่วงแคบ ส่วนปลาวัยอ่อนวงศ์ Gobiidae ซึ่งพบปริมาณมากและมีการกระจายกว้างขวาง พบว่ามีการกระจายอย่างหนาแน่นบริเวณป่าชายเลนตอนใน ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมในช่วงกว้าง ปลาวัยอ่อนวงศ์ Clupeidae มีการกระจายที่แสดงความสัมพันธ์อย่างเด่นชัดกับความเค็ม อุณหภูมิ และความเป็นกรด-เบส |
Other Abstract: | Identification and distribution of fish lavae in mangrove forest at Sikao District, Trang Province, were earned out during May 1996 to May 1997. Sampling periods were scheduled every two months of the total 6 stations from the coastal water to the inner mangrove forests. The fish larval tows were conducted twice each sampling period during the in-coming high tide and the highest high tide. Salinity, temperature, pH, transparency and dissolved oxygen were recorded in situ. Of the total 20 families of fish larvae mostly marine fishes recorded from the area, the family Gobiidae was the dominant group in terms of abundance and distribution. Fish larvae in the families of Clupeidae and Blenniidae were next in term of abundance. The Sikao mangrove forest served as the nursing ground, feeding and shelters for various fishes. The marine fishes that were classified as true mangrove dependent species which were the permanent resident species were those in the 9 families of Gobiidae , Clupeidae, Engraulidae, Gerreidae, Leiognathidae, Hemiramphidae, Apogonidae, Sillaginidae and Tetraodontidae. Fishes in the mentioned families came into the forest during their spawning period and occasionally came in to feed in the mangroves where they were matured; Blenniidae, Atherinidae, Ambassidae, Mullidae, Syngnathidae, Terapontidae, Exocoetidae, Cynoglossidae, Monacanthidae, Soleidae and Synodondidae. Fish eggs were recorded throughout the sampling period with the highest density in May. Fish larval abundances reflected seasonal variations of the highest density during the Southwest Monsoon during the month of June while the lowest density recorded in March of the Northeast Monsoon period. Most marine fish larvae showed different distribution patterns according to the time of the tides. They were found concentrated in the coastal area where the environmental changes were in the narrow ranges. Gobiidae larvae were widely distributed and concentrated inner mangrove forest fringes. The wide ranges of environmental changes occurred in the in the inner mangrove forest area. Clupeidae larval distribution showed significant correlations with salinity, temperature and pH. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์ทางทะเล |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74421 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1997.353 |
ISBN: | 9746386891 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1997.353 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Prasert_to_front_p.pdf | หน้าปก | 1.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_to_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 1.05 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_to_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.77 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_to_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 6.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_to_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_to_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 730.59 kB | Adobe PDF | View/Open |
Prasert_to_back_p.pdf | บรรณานุกรม และบทคัดย่อ | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.