Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74543
Title: การหาปริมาณเถ้าในลิกไนต์โดยใช้เทคนิคการกระเจิงกลับของรังสีเอกซ์
Other Titles: Determination of ash content in lignite using x-ray backscattering technique
Authors: สมเกียรติ อุ่นวงษ์
Advisors: นเรศร์ จันทน์ขาว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fnenck@eng.chula.ac.th
Subjects: เถ้าถ่าน
ลิกไนต์
รังสีแกมมา -- การกระเจิงกลับ
Ash ‪(Plants)‬
Lignite
Gamma rays -- Backscattering
Issue Date: 2532
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการใช้เทคนิคการกระเจิงกลับของรังลีเอกซ์สำหรับการหาปริมาณเถ้าในลิกไนต์โดยใช้ต้นกำเนิดรังสีพลูโทเนียม -238 แบบวงแหวน ซึ่งมีความแรง 1.11x109 เบคเคอเรล และหัววัดรังลีพรอพอร์ซินนัล นอกจากนี้ได้ใช้หัววัดรังลีเจอร์มาเนียมบริสุทธิ์สูง ช่วยในการศึกษารายละเอียดของสเปคตรัมรังลีเอกซ์ ได้ทำการจัดระบบวัดรังลีเอกซ์กระเจิงเพื่อให้ได้ความเข้มรังลีเอกซ์กระเจิงกลับสูงสุด ซึ่งก็พบว่าระยะห่างระหว่างต้นกำเนิดรังลีกับตัวอย่างลิกไนต์ที่มีค่าเท่ากับ 9 มิลลิเมตร ความหนาวิกฤตของตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 2.1 กรัมต่อตารางเป็นติเมตร และเส้นผ่าศูนย์กลางวิกฤตมีค่าน้อยกว่า 4.8 เซนติเมตร ผลการศึกษาอิทธิพลของขนาดเม็ดลิกไนต์ต่อความแปรปรวนในการวัดรังลี พบว่า ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานในการวัดรังลีเอกซ์กระเจิงกลับเป็นปฏิภาคโดยตรงกับขนาดของเม็ดลิกไนต์โดยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าน้อยกว่าร้อยละ 1 เมื่อขนาดเม็ดลิกไนต์เล็กกว่า 0.833 มิลลิเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับเมื่อใช้ตัวอย่างที่บดละเอียดและอัดด้วยเครื่องอัดตัวอย่าง การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเข้มรังลีเอกซ์กระเจิงกลับกับปริมาณเถ้า โดยใช้ตัวอย่างลิกไนต์ 34 ตัวอย่าง ที่มีปริมาณเถ้าอยู่ในช่วงร้อยละ 14 ถึง 65 พบว่า ความเข้มรังลีเอกซ์กระเจิงกลับเป็นปฏิภาคผกผันกับปริมาณเถ้า โดยมีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.97 การศึกษาผลกระทบของปริมาณเหล็กและความชื้น พบว่า ในช่วงปริมาณเถ้าระหว่างร้อยละ 14 ถึง 30 และมากกว่าร้อยละ 30 ขึ้นไป เมื่อปริมาณเหล็กเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้ผลการหาปริมาณเถ้าเพิ่มขึ้นไปน้อยกว่าร้อยละ 1.2 และ 5 ตามลำดับ และเมื่อความขึ้นเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 จะทำให้หาปริมาณเถ้าได้ลดลงไปน้อยกว่าร้อยละ 0.2 และ 2 ตามลำดับ การหาปริมาณเถ้าของตัวอย่างลิกไนต์ 8 ตัวอย่างที่มีปริมาณเถ้าอยู่ในช่วงร้อยละ 24 ถึง 45 เทียบกับผลการวิเคราะห์ทางเคมีและเทคนิคการส่งผ่านรังลีแกมมา ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.92 ถึง0.95
Other Abstract: The use of x-ray backscattering technique for lignite ash determination was studied. A 1.11 GBq annular plutonium-238 x-ray source and an x-ray proportional counter were used. A HPGe detector was also used to investigate the x-ray spectra in more detail. The optimum sources-to-sample distance, the minimum sample thickness and diameter were determined so as to obtain maximum backscattered x-ray Intensity. It was found that the optimum distance was 9 mm whereas the minimum sample thickness was 2.1 g/cm2 and the minimum sample diameter was less than 4.8 cm. The effect of particle size on measurement of the backscattered x-rays was also studied. It was found that the standard deviation of the measurement was directly proportional to the particle size and the standard deviation was less than 1 percent for the particle size less than 0.833 mm which was comparable with that obtained from pulvurized and compressed samples. The relationship between the backscattered x-ray intensity and ash content in lignite sample was investigated by using 34 samples with percentage of ash ranging from 14 to 65 percent. The results indicated that the backscattered x-ray intensity was inversely proportional to ash content in the sample with the correlation coefficient of 0.97. For ash content ranging from 14 to 30 percent, it was found that an increase of 1 percent iron content resulted in an increase in the reading of ash content by less than 1.2 and 5 percent respectively whereas an increase of 1 percent moisture content resulted in a decrease in the reading by less than 0.2 and 2 percent respectively. The ash content of 8 lignite samples with ash content ranging from 24 to 45 percent was determined and the results were comparable with those obtained from chemical analysis and gamma-ray transmission technique with the correlation coefficients of 0.92-0,95.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2532
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74543
ISBN: 9745761974
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somkiet_au_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Somkiet_au_ch1_p.pdf756.64 kBAdobe PDFView/Open
Somkiet_au_ch2_p.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open
Somkiet_au_ch3_p.pdf1.37 MBAdobe PDFView/Open
Somkiet_au_ch4_p.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open
Somkiet_au_ch5_p.pdf820.84 kBAdobe PDFView/Open
Somkiet_au_back_p.pdf938.83 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.