Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74885
Title: แนวทางการวางแผนโครงสร้างของจังหวัดเพชรบุรี
Other Titles: Guideline for the structure plan of Changwat Phetchaburi
Authors: มานพ จันทร์เทศ
Advisors: ศักดิ์ชัย คิรินทร์ภาณุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ผังเมือง -- ไทย -- เพชรบุรี
การใช้ที่ดิน -- ไทย -- เพชรบุรี
City planning -- Thailand -- Phetchaburi
Land use -- Thailand -- Phetchaburi
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความสัมพันธ์ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม 2) ให้ทราบถึงปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโต 3) วิเคราะห์ศักยภาพและแนวโน้มการขยายตัว 4) เสนอแนวทางในการวางแผนโครงสร้างเพื่อพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี จากการศึกษาพบว่าโครงสร้างทางเศรษฐกิจของจังหวัดเพชรบุรีขึ้นอยู่กับสาขาภาคนอกเกษตรเป็นหลัก มีจำนวนประชากรเป็นอันดับ 4 ของภาคตะวันตกโดยมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 1.87 ต่อปี ปัญหาหลักที่ควรแก้ไขอย่างรีบด่วนได้แก่ การบุกรุกทำลายป่า การขยายตัวผลผลิตเกษตรต่ำ การขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ผลการวิจัยซึ่งใช้วิธีเทคนิคเดลฟายและวิธีวิเคราะห์สภาพพื้นที่ใน 6 อำเภอและ 1 กิ่งอำเภอ ปรากฏว่า สามารถแบ่งศักยภาพการพัฒนาได้ 3 กลุ่มคือ 1) กลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพสูงได้แก่ อ.เมือง อ.ท่ายาง 2) กลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพปานกลางได้แก่ อ.บ้านแหลม อ.ชะอำ อ.บ้านลาด 3) กลุ่มพื้นที่ที่มีศักยภาพต่ำได้แก่ อ.เขาย้อย และกิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง จากผลการวิจัยได้เสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดเพชรบุรี โดยเน้นกรพัฒนาและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะเขาพะเนินทุ่งและพื้นที่ชายฝั่งทะเล เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร และเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว โดยกำหนดเขตพื้นที่การพัฒนาออกเป็น 4 เขต คือ 1) เขตเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมก้าวหน้า ได้แก่ พื้นที่บริเวณอำเภอเมือง, ท่ายาง, บ้านแหลม 2) เขตเกษตรก้าวหน้า ได้แก่ บริเวณอำเภอชะอำ บ้านลาด 3) เขตเกษตรกรเริ่มพัฒนา ได้แก่ บริเวณอำเภอเขาย้อยและกิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง 4) เขตอนุรักษ์ธรรมชาติและกันชนชายแดน ได้แก่ บริเวณพื้นที่อำเภอท่ายางและกิ่งอำเภอหนองหญ้าปล้อง
Other Abstract: This study was 1) to study present characteristic and relationship of socio-economic structure and physical condition, including its changes 2) to know the factors determinate of both negative or positive growth 3) to analyze its potential growth 4) to advocate the means to developping guidelines for the structure plan of Phetchaburi province. It was found that the economic structure mainly depends on non-agricultural sector. The amount of population of Petchaburi is at fourth of the western region and the increasing rate is 1.87% per annum in average. The main problem which should be urgently corrected are the forest intruding and destroying, the low expansion of agricultural products, and hardly lacking water consumption. Results of the research which are Delphi Technique and spatial analysis in 6 Amphoe and 1 King Amphoe. It was found that the potential area development have 3 groups as 1) high potential group are Amphoe Muang and Amphoe Tha Yang 2) the moderate group are Amphoe Bang Leam, Amphoe Cha-am and Amphoe Ban Lat 3) The low group are Amphoe Khao Yoi and King A. Nong Ya Plong. For advocated means to develop its guidelines for the structure plan of Phetchaburi should be specific on national resource conservation and development, especially at Khao Paneantung and seashore are, agro-industry and tourism development. By dividing the developping zone into 4 zones are 1) Progressive economic and industry zone are Amphoe Muang, Ban Leam, Tha Yang 2) Progressive agricultural zone are Amphoe Cha-am, Ban Lat, 3) Developping agricultural zone are Amphoe Khao Yoi, King A. Nong Ya Plong. 4) The national resource conservation and buffer area zone are Amphoe Tha Yang and King A. Nong Ya Plong.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74885
ISBN: 9745691402
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Manop_ch_front_p.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch1_p.pdf967.43 kBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch2_p.pdf1.21 MBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch3_p.pdf5.04 MBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch4_p.pdf7.28 MBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch5_p.pdf4.48 MBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch6_p.pdf949.38 kBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_ch7_p.pdf867 kBAdobe PDFView/Open
Manop_ch_back_p.pdf2.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.