Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74990
Title: การสกัดสารเมือกจากเมล็ดแมงลักโดยการโม่แห้ง
Other Titles: Extraction of mucilage from seed of ocimum basilicum linn. var. citratum by dry milling
Authors: จารุกร สุวรรณเมือง
Advisors: สุรพงศ์ นวังคสัตถุศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Subjects: โหระพา
สารเมือก
เครื่องโม่
Basil
Mucilage
Milling machinery
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การสกัดสารเมืองจากเมล็ดแมงลักโดยการโม่แห้ง ใช้เครื่องโม่ 2 ชนิด ได้แก่ เครื่อง jet mill และ attrition mill เมล็ดแมงลักก่อนนำมาสกัดสารเมือกผ่านการสกัดน้ำมันออกก่อนด้วย hydraulic press ตามด้วยการสกัดด้วยเฮกเซนเนื่องจากอนุภาคละเอียดที่มีน้ำมันจะติดและสะสมบนรูเปิดของแร่งหรือติดตามส่วนต่าง ๆ ของเครื่องน้ำมันที่สกัดได้มีปริมาร 15.21% โดยน้ำหนัก เมล็ดที่สกัดน้ำมัน มีปริมาณโปรตีน, เส้นใย, เถ้า, ความชื้น, และคาร์โบไฮเดรตเป็น 18.79% d.b., 55.40% d.b., 5.71 % d.b., 8.15 % d.b. และ 11.99% d.b. ตามลำดับ เมล็ดที่สกัดน้ำมันแล้วเมื่อนำไปสกัดสารเมือกด้วย jet mill จำนวน 1 รอบและแยกขนาดด้วย air jet sieve 500μ พบว่าได้ปริมาณอนุภาคละเอียดปริมาณต่ำ การสูญเสียมาก ไม่สามารถสกัดเมือกออกจาก เมล็ดได้หมด และ สารเมือกมีส่วนอื่นของเมล็ดปนมาด้วย ดังนั้นจึงแก้ปัญหาโดยการนำอนุภาคตะแกรง 500μ มาสกัดซ้ำด้วย jet mill รวมเป็นจำนวน 5 รอบ และแยกขนาดอนุภาคด้วย air sieve 500μ, 200μ และ 100μ ได้อนุภาค 4 ขนาด คือ ขนาด > 500μ, 500-200μ, 200 – 100μ และ < 100μ ในปริมาณ 39.22% b.d., 24.91 % d.b., 8.41 % d.b. และ 8.31% d.b. ตามลำดับ และสูญเสียจากกระบวนการทั้งหมด 9.15% d.b. จากนั้นทำการสกัดสารเมือกด้วย attrition mill และแยกขนาดด้วย air jet sieve ได้อนุภาค 4 ขนาดเช่นเดียวกัน ในปริมาณ 62.89% d.b., 26.43% d.b., 4.02% d.b. และ 3.92% d.b. ตามลำดับ และสูญเสียจากกระบวน การทั้งหมด 2.75% d.b. เมื่อศึกษาสมบัติทางกายภาพและองค์ประกอบเคมีของอนุภาคแต่ละขนาดที่สกัดได้จากทั้ง 2 เครื่อง พบว่า แบ่งอนุภาคได้ 3 กลุ่มใหญ่ คือ อนุภาคหยาบขนาด > 500μ เป็นส่วนกากเมล็ดที่เหลือจากการสกัดสารเมือกแต่ไม่สามารถสกัดสารเมือกออกได้หมด อนุภาคขนาด 500–200μ และ 200–100μ เป็นอนุภาคที่มีความสามารถในการพองตัวสูงจึงจัดให้เป็นสารเมือกที่ต้องการ และ อนุภาคขนาดละเอียด 100 ที่ไม่มีความสามารถในการพองตัว และองค์ประกอบประมาณ 50% d.b. เป็นโปรตีน จากการทดสอบปัจจัย ที่มีผลต่อความสามารถในการอุ้มน้ำของสารเมือก พบว่า สารเมือกมีความสามารถในการอุ้มน้ำสูงเมื่ออุณหภูมิ ของน้ำต่ำ ที่พีเอชเป็นกลางหรือมีความเป็นกรด – ด่างเล็กน้อย และพบว่าเกลือเป็นอุปสรรคต่อความสามารถในการอุ้มน้ำของสารเมือก
Other Abstract: Extraction of mucilage from seed of Ocimum basilicum Linn. var. Citratum by dry milling was carried out by using jet mill and attrition mill Seed oil was extracted before milling by hydraulic press and using hexane. Fine particles with oil tended to adhere and accumulate on sieve openings or parts of mills, the oil obtained was only 15.21% of the seed (d.b.), The oil free seed contained 18.79% protein, 55.4% crude fiber, 5.71% ash, 8.15% moisture and 11.99% carbohydrate. The seeds were milled by jet mill once and classified by air jet sieve with pore size of 500μ found little fine particles with high loses, incomplete mucilage extraction and the mucilage was contaminated with other components of the seed Coarse particles with size larger then 500μ were remilled by the jet mill altogether 5 times and classified by air jet sieve with pore size 500μ, 200μ, 100μ of > 500μ, 500-200μ, 200–100μ and < 100μ at 39.22 % d.b., 24.91 % d.b., 8.41 % d.b. and 8.31 % d.b. respectively with 9.15 % losses. Attrition milling of the seeds was carried out and classified giving 62.89% of particle size >500μ, 26.43% of particle size 500-200μ, 4.02 % of particle size 200-100μ and 3.92 31% of particle size < 100μ with 2.75% losses. The Study of physical properties and chemical composition indicated that the particles larger than 500μ were Seed ranges of 500–200μ and 200–100μ were mucilage that have high swelling property. The particle smaller than 100μ were fine particle that do not have swelling property with high protein contents. The mucilage have good water holding capacity when dispersed in low temperature and neutral or mild acid and basic solution. The water holding capacity of mucilage was inhibited by salt.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม. )--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีชีวภาพ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/74990
ISBN: 9743349359
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarugorn_su_front_p.pdf1.1 MBAdobe PDFView/Open
Jarugorn_su_ch1_p.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Jarugorn_su_ch2_p.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open
Jarugorn_su_ch3_p.pdf3.41 MBAdobe PDFView/Open
Jarugorn_su_ch4_p.pdf953.08 kBAdobe PDFView/Open
Jarugorn_su_back_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.