Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75261
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา ธาดานิติ-
dc.contributor.authorจอมขวัญ นาคฤทธิ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2021-08-26T14:25:37Z-
dc.date.available2021-08-26T14:25:37Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9741302487-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/75261-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนาโครงข่ายและที่ตั้งตลาดผักและผลไม้ที่สอดคล้องกับพื้นที่ผลิตในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ โดยได้ศึกษาทฤษฎีและแนวความคิดเกี่ยวกับการเลือกที่ตั้งกิจกรรมทางการเกษตร การเลือกที่ตั้งเพื่อลดค่าขนส่ง จุดอ่อนของผลผลิตทางการเกษตร การตลาดการเกษตรและการแบ่งระดับตลาดการเกษตร เพื่อนำมากำหนดกรอบความคิดในการศึกษา การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ประเด็นหลัก คือ ประเด็นที่เกี่ยวกับการผลิตผักและผลไม้ และประเด็นที่เกี่ยวกับการตลาดผักและผลไม้ โดยประเด็นแรกคิกษาเพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของการผลิตพืชผักผลไม้ที่มีความสำคัญเชิงการค้าและรวมถึงศักยภาพและการกระจายของแหล่งผลิต ส่วนประเด็นที่เกี่ยวกับการตลาดนั้นแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ การตลาดระดับท้องถิ่น และการตลาดระดับภูมิภาค โดยศึกษาการไหลเวียนของผักผลไม้ระหว่างภาคใต้กับภูมิภาคอื่นๆ และภายในภูมิภาคเอง การวิเคราะห์ใชิวิธีการทาบซ้อน (Overlay) โดยมีปัจจัยที่สำคัญต่อการเกิดขึ้นของโครงข่ายตลาด คือ การกระจายของแหล่งผลิต การไหลเวียนของผลผลิตเส้นทางการคมนาคม และการกระจายชุมชนศูนย์กลางด้านการค้าและบริการ ผลการวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า ตลาดผักผลไม้ระดับภูมิภาคของภาคใต้ที่มีความสำคัญอยู่ในอำเภอหาดใหญ่ อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช อำเภอหลังสวน อำเภอสุไหงโกลก ส่วนตลาดผักผลไม้ระดับท้องถิ่นที่มีความสำคัญอยู่ใน อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองตรัง และอำเภอเมืองยะลา ขอบเขตการให้บริการของตลาดที่เกษตรกรนำผลผลิตเข้ามาขายอยู่ในระยะ 50 กิโลเมตร แต่ถ้าคนกลางเป็นผู้ดำเนินการแล้วระยะทางการให้บริการของตลาดจะกว้างไกลขึ้น ในพื้นที่ผลิตที่อยู่นอกรัศมีบริการควรจัดตั้งตลาดชั่วคราวเป็นสถานที่รวบรวมผลผลิตให้เกษตรกรเพื่อเป็นการประหยัดค่าใช้จ่าย ส่วนแหล่งตลาดผักผลไม้ที่มีความสำคัญในระดับ ภูมิภาคควรได้รับการสนับสนุนด้านสิงอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมกับบทบาทของตลาดแต่ละแห่งen_US
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to search for development guidelines for the network and location of vegetable and fruit markets in accordance with the production area in 14 southern provinces. Theories and concepts of location of agricultural activities, economies of transport cost, weakness of agricultural product, agricultural marketing and the gradation of agricultural markets were investigated in order to set up the conceptual framework. The study covered 2 major areas, namely vegetable and fruit production, and vegetable and fruit marketing. The former area was investigated to observe changes in the commercial production of main vegetable and fruit as well as to find out about the potential and distribution of production areas. The latter area was divided into local marketing and regional marketing. The interregional and intra regional flows of vegetable and fruits were examined. Data were analyzed by overlaying findings about major factors of market network development. Those factors were the distribution of production areas, product flows, transportation routes and distribution of trade and service centers. The results of the analysis indicated that the significant regional vegetable and fruit markets are in the South were located in Had Yai District, the Muang District of Nakhon Si Thammarat, Lang Suan District and Su-ngai Kolok District. Additionally, the significant local vegetable and fruit markets were located in the Muang District of Surat Thani, Trang and Yala provinces. A market range was set within 50 kilometers for the product transportation operated by agriculturalists and beyond that distance by middlemen. เท production area beyond the market range, the periodic market should be organized rather than permanent one to provide the product collection place for agriculturalist to reduce their cost. For the significant regional vegetable and fruit market, it should be provided the suitable marketing facilities according to its function.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2000.376-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectตลาด -- สถานที่ตั้ง -- ไทย (ภาคใต้)-
dc.subjectสินค้าเกษตร-
dc.subjectผลิตผลเกษตร -- การขนส่ง-
dc.subjectโครงข่ายและที่ตั้งตลาดผักและผลไม้ที่สอดคล้องกับพื้นที่ผลิต-
dc.titleแนวทางการพัฒนาโครงข่ายและที่ตั้งตลาดผักและผลไม้ที่สอดคล้องกับพื้นที่ผลิตในภาคใต้ของประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeDevelopment guidelines for the network and location of vegetable and fruit markets in accordance with the production area of southern Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการวางแผนภาคen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2000.376-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jomkhwan_na_front_p.pdf1.03 MBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_ch1_p.pdf840.4 kBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_ch2_p.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_ch3_p.pdf3.76 MBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_ch4_p.pdf2.57 MBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_ch5_p.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_ch6_p.pdf708.93 kBAdobe PDFView/Open
Jomkhwan_na_back_p.pdf4.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.