Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76334
Title: | ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการตรวจพบความดันโลหิตสูงช่วงกลางคืนและภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือด |
Other Titles: | Prevalence and factors associated with nocturnal hypertension and non-dipping blood pressure determined by ambulatory blood pressure monitoring in virologically suppressed HIV-infected patients |
Authors: | กานต์ นครชัย |
Advisors: | ไพโรจน์ ฉัตรานุกูลชัย อัญชลี อวิหิงสานนท์ สราวุฒิ ศิวโมกษธรรม |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บทนำ: ภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในปัจจุบันและมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มประชากรทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ แต่ข้อมูลในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือดนั้นยังมีน้อย ระเบียบวิธีการทำวิจัย: การศึกษานี้เป็นการเก็บรวมรวมข้อมูลภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืน ด้วยเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติ (Ambulatory Blood Pressure Monitoring) เป็นเวลา 24 ชั่วโมงในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในเลือด (VL < 50 copies/ml) มีอายุ 30 ปีขึ้นไป ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยหรือรับการรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ความดันโลหิตคลินิคน้อยกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท) โดยไม่มีประวัติโรคหัวใจและหลอดเลือดหรือกำลังตั้งครรภ์ โดยจัดทำที่ศูนย์ประสานความร่วมมือระหว่าง ไทย-ออสเตรเลีย-เนเธอร์แลนด์ เพื่อการวิจัยทางคลินิกด้านโรคเอดส์ (HIV-NAT) และศึกษาเพิ่มว่าปัจจัยใดมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืน รวมถึงความชุกในการเกิดความดันชนิด Masked hypertension ผลการศึกษา: จากการรวมรวมข้อมูล 54 คนในการวิจัยพบว่า อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 54 ปี มีผู้ป่วยเพศหญิง 33 คน (61.3%) มีภาวะไขมันในโลหิตสูง 33 คน (61.1%) ดัชนีมวลกายเฉลี่ยของผู้ป่วยเท่ากับ 22 kg/m2 มีระยะเวลาทานยาต้านไวรัสเฉลี่ย 22 ปี มีค่า CD4 เฉลี่ยเท่ากับ 563 cell/mm3 และผู้ป่วยทุกคนตรวจพบไวรัสในเลือด น้อยกว่า 50 copies/ml หลังติดเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดติดตัวพร้อมวัดอัตโนมัติ พบว่าจำนวนการวัดความดันโลหิตสำเร็จตลอด 24 ชั่วโมงเท่ากับ 85.2% มีผู้ป่วยตรวจพบภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืนเท่ากับ 25 คน (46%) และตรวจไม่พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตโลหิตที่ไม่ลดลงช่วงกลางคืน ตรวจพบความดันโลหิตชนิด Masked hypertension จำนวนทั้งหมด 13% ข้อสรุป: การตรวจพบภาวะความดันโลหิตที่ไม่ลดลงในช่วงเวลากลางคืนในผู้ป่วยเอชไอวีที่ได้รับการรักษาและตรวจไม่พบเชื้อในเลือดสามารถเจอได้มากถึงร้อยละ 46 แต่ความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือดยังต้องมีการติดตามผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อไปในอนาคต |
Other Abstract: | Background: Non-dipping nocturnal blood pressure (BP) is common and associated with increased cardiovascular (CV) events in general population. Little is known about the prevalence and associated factors among virologically suppressed HIV-infected patients. Method: Well-treated HIV infected patients age ≥ 40 years with office BP < 140/90 mmHg underwent 24-hour ambulatory blood pressure measurement (ABPM). Hypertensive patients with current anti-hypertensive treatment were excluded. Non-dipping nocturnal BP pattern was defined as decreased nocturnal decline in systolic BP (SBP) less than 10%. Result: A total 54 subjects were enrolled. The median age was 54.1 years (61% female) with 61.1% dyslipidemia and 9.2% diabetes mellitus. The median BMI was 22.2 with an average GFR of 81 ml/minute/1.73 m2. All of them were on combined anti-retroviral agents with a median duration of 22 years. The median CD4 cell count was 653 cell/mm3 and all patients had current HIV-RNA < 50 copies/ml. An average percentage of interpretable BP values measured over 24 hours was 85.2%. Non-dipping nocturnal BP pattern was prevalent in 46% of the subjects. There was no significant association between the presence of non-dipping nocturnal BP and common atherosclerotic risk factors. Prevalence of masked hypertension was 13%. Conclusion: Non-dipping night-time BP is common among virologically suppressed HIV-infected patients. The association with long-term adverse CV outcomes requires future prospective study. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2563 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | อายุรศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/76334 |
URI: | http://www.doi.org/10.58837/CHULA.THE.2020.1333 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.58837/CHULA.THE.2020.1333 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6270025030.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.