Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7638
Title: การพัฒนารูปแบบการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงาน ของวิทยาลัยพลศึกษา
Other Titles: The development of the model for increasing efficiency of physical education colleges management
Authors: นพรัตน์ พบลาภ
Advisors: สุชาติ ตันธนะเดชา
ทองคูณ หงส์พันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Suchart.T@Chula.ac.th
thonghon@emisc.moe.go.th
Subjects: วิทยาลัยพลศึกษา
การจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ทางการศึกษา
สถาบันอุดมศึกษา -- การบริหาร
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนารูปแบบและแนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปกำหนดนโยบาย ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงานของวิทยาลัยพลศึกษา โดยนำเทคนิค DEA มาใช้วิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบและปรับประสิทธิภาพสัมพัทธ์ ในการจัดและดำเนินงานของวิทยาลัยพลศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการวิจัยดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาดัชนีบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงาน ของวิทยาลัยพลศึกษา (2) เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การจัดและดำเนินงานของวิทยาลัยพลศึกษา (3) เพื่อพัฒนารูปแบบ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงานของวิทยาลัยพลศึกษา (4) เพื่อนำเสนอนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงาน ของวิทยาลัยพลศึกษา วิทยาลัยพลศึกษาทั่วประเทศ 16 แห่ง บุคลากรของวิทยาลัยพลศึกษา และผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษาที่มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ 100% ในการดำเนินภารกิจแต่ละด้าน ผลการวิจัย พบว่า มีดัชนีที่มีความเหมาะสมกับวิทยาลัยพลศึกษา ด้านการผลิตบุคลากรหรือผลิตบัณฑิต 7 ตัว ด้านการวิจัย 5 ตัว ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม 5 ตัว ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 4 ตัว และสามารถจำแนกเป็นตัวแปรปัจจัยการผลิต 12 ตัว ตัวแปรการผลิต 7 ตัว ในการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ พบว่า มีวิทยาลัยพลศึกษาที่มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ 100% ในภารกิจการผลิตบุคลากร 2 แห่ง ด้านการวิจัย 3 แห่ง ด้านการบริการวิชาการแก่สังคม 3 แห่ง ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 5 แห่ง หากพิจารณารวมทั้ง 4 ภารกิจ พบว่า วิทยาลัยพลศึกษาที่มีค่าประสิทธิภาพสัมพัทธ์ตั้งแต่ 70% ขึ้นไป 3 ภารกิจ มีอยู่ 3 แห่ง 2 ภารกิจมีอยู่ 5 แห่ง 1 ภารกิจ มีอยู่ 7 แห่ง และจากผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิค DEA สามารถบอกได้ว่า วิทยาลัยพลศึกษาที่มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ไม่ถึง 100% ควรจะปรับตัวแปรปัจจัยการผลิตและตัวแปรผลผลิตใดบ้าง ในปริมาณเท่าไร ซึ่งจากผลการวิจัยนี้แสดงว่า เทคนิค DEA สามารถนำมาวิเคราะห์และปรับประสิทธิภาพสัมพัทธ์ ของสถาบันการศึกษาที่มีภารกิจคล้ายคลึงกันได้ตรงตามความเป็นจริง จากการวิเคราะห์ประสิทธิภาพสัมพัทธ์ และการปรับประสิทธิภาพสัมพัทธ์ โดยใช้เทคนิค DEA รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ ผู้บริหารวิทยาลัยพลศึกษาที่มีประสิทธิภาพสัมพัทธ์ 100% ในการดำเนินภารกิจแต่ละด้านทำให้ได้รูปแบบ การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงานของวิทยาลัยพลศึกษา และได้แนวทางการดำเนินงานเพื่อนำไปกำหนดนโยบาย ในการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดและดำเนินงานของวิทยาลัยพลศึกษา ซึ่งจะเป็นแนวทางให้ผู้บริหารสามารถนำไปใช้ปรับปรุง การบริหารงานและการใช้ทรัพยากรต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Other Abstract: To develop the model and the operational guideline in order to formulate policy for increasing the efficiency in managing College of Physical Education. The information were analyzed efficiency for the management of Physical Education by Data Envelopment Analysis Technique (DEA). The purposes of this study were : (1) to compare the efficiency index in managing the College of Physical Education, (2) to compare the efficiency in managing the College of Physical Education, (3) to develop the model in increasing the efficiency in managing the College of Physical Education, (4) to propose policy guideline for increasing efficiency. The subjects were the experts who concerned with the administration and policy formulation of 16 Colleges of Physical Education as well as the personnel and director general of College of Physical Education who had the relative efficiency 100% in each functions. The results showed that there were: 7 indexes regarding the production of personnel or graduate, 5 indexes regarding research, 5 indexes regarding social service and 4 indexes regarding the art and cultural maintenance. These indexes can be classified into 12 input variables and 7 output variables. By analyzing the efficiency, it was found that there were: 2 Colleges of Physical Education with 100% relative efficiency in producing the personnel, 3 Colleges of Physical Education with 100% relative efficiency in academic service to the society, and 5 Colleges of Physical Education with 100% relative efficiency in art and cultural maintenance. Considering the summation of 4 functions, it was found that there were: 3 Colleges of Physical Education with more than 70% relative efficiency in 3 functions, 5 Colleges of Physical Education with morn than 70% relative efficiency in 2 functions, 7 Colleges of Physical Education with more than 70% relative efficiency in 1 function. The information analyzed by DEA showed that in what and how many input variables which College of Physical Education with less than 100% relative efficiency showedadjust. This study showed that DEA technique can effective analyze and adjust the relative efficiency of the institution which had the similar function. Analyzing relative efficiency and relative efficiency adjustment by DEA technique including the analyzation of the interview information for the College of Physical Education's administration with relative efficiency 100% in each individual function were found to increase the efficiency of the model in managing College of Physical Education and to acquire the operational guideline in order to formulate the policy in increasing the mamagement of College of Physical Education, which interm, could be the guideline for the administration in improving the management and resources usage to better efficiency.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7638
ISBN: 9746386778
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nopparut_Po_front.pdf1.38 MBAdobe PDFView/Open
Nopparut_Po_ch1.pdf1 MBAdobe PDFView/Open
Nopparut_Po_ch2.pdf5.15 MBAdobe PDFView/Open
Nopparut_Po_ch3.pdf959.78 kBAdobe PDFView/Open
Nopparut_Po_ch4.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open
Nopparut_Po_ch5.pdf1.82 MBAdobe PDFView/Open
Nopparut_Po_back.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.