Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78753
Title: การปรับปรุงการซึมผ่านของก๊าซและการลดความร้อนสะสมของยางมาสเตอร์- แบทช์ด้วยเคลย์และเถ้าแกลบ
Other Titles: The improvement in gas permeability and heat build up of rubber master batch with clay and rice husk ash
Authors: บุญฤทธิ์ ฮึ้งฮก
Advisors: ณัฐพร โทณานนท์
แคทลียา ปัทมพรหม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: ยาง
ก๊าซ -- การดูดซึมและการดูดซับ
Rubber
Gases -- Absorption and adsorption
Issue Date: 2550
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงสมบัติของยางมาสเตอร์แบทช์เพื่อลดปริมาณการซึมผ่านของก๊าซ และการลดความร้อนสะสมของยาง โดยใช้ตัวเติมชนิดต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์ โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการคอมโพสิตยางมาสเตอร์แบทช์ด้วยสารตัวเติม จำนวน 3 ชนิด คือ เคลย์ เถ้าแกลบและ ซิลิกา โดยใช้ไซเลนเป็นสารประสานคู่ควบเพื่อช่วยในการยึดเกาะกันระหว่างยางมาสเตอร์แบทช์และสารตัวเติมทำให้วัสดุทั้งสองเข้ากันได้ดียิ่งขึ้น โดยยางคอมโพสิตดังกล่าวสามารถเตรียมได้โดยการบดวัสดุทั้งสองให้เข้ากันและนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดขึ้นรูปร้อน จากการศึกษาลักษณะการวัลคาไนซ สมบัติเชิงกล สมบัติความร้อนสะสม สมบัติการซึมผ่านของก๊าซ และการวิเคราะห์โครงสร้างด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ของยางคอมโพสิตดังกล่าว พบว่าปริมาณของตัวเติมทั้งสามชนิดไม่มีผลต่อการวัลคาไนซ์ของยางคอมโพสิต และไม่ส่งผลต่อเวลาที่ใช้ในการวัลคาไนซ์ ในทางตรงกันข้ามปริมาณของสารตัวเติมที่ไม่เกิน 10 phr จะส่งผลต่อสมบัติเชิงกล โดยการเพิ่มปริมาณของสารตัวเติมจะทำให้ยางคอมโพสิตมีค่าการทนต่อแรงดึงและค่าระยะยืดเมื่อขาดลดลง แต่จะมีค่ามอดูลัสที่ระยะยืด 100% และความแข็งจะเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าสมบัติของยางคอมโพสิตจะขึ้นกับชนิดของสารตัวเติม ซึ่งเคลย์จะช่วยปรับปรุงการลดปริมาณการซึมผ่านของก๊าซ เมื่อเพิ่มปริมาณเคลย์จะทำให้ปริมาณการซึมผ่านของก๊าซลดลง ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมที่สุดของเคลย์ คือ 3 phr ส่วนเถ้าแกลบก็จะช่วยปรับปรุงสมบัติการลดความร้อนสะสมของยาง ซึ่งปริมาณที่เหมาะสมที่สุดของเถ้า-แกลบคือ 5 phr และเมื่อทำการศึกษาหาปริมาณอัตราส่วนเคลย์และเถ้าแกลบรวมกันในปริมาณ 10 phr ที่เหมาะสมสำหรับยางคอมโพสิตเพื่อให้มีสมบัติเด่นทั้งการลดความร้อนสะสมและลดการซึมผ่านของก๊าซ พบว่าปริมาณที่เหมาะสมสำหรับสารตัวเติมทั้งสองชนิดในยางคอมโพสิตคือ เคลย์ 5 phr และเถ้าแกลบ 5 phr
Other Abstract: This research aims to establish the relationship between the rubber and three types of fillers including clay, rice husk ash and silica on the vulcanization characteristic, physical properties, mechanical properties, heat build up, gas permeability and morphology of the rubber composites. The rubber composites were compatibilized by silane coupling agent and prepared by two-roll mill and Banbury close-cycle mixer. The experimental results show that the amount of fillers below 10 phr did not have significant effect on the degree of rubber vulcanization and the vulcanized time. When the amount of filler was increased, the tensile strength and elongation at break were decreased. But the modulus of elasticity and stiffness were increased. Moreover, the increment in the amount of clay led to the reduction of gas permeability, where the suitable amount of clay was 3 phr. The optimal rice husk ash of 5 phr showed the drastic decrease in the heat build up of the rubber composites. For hybrid system of clay and rice husk ash, the clay : rice husk ash ratio of 5:5 was found to significantly decrease heat build up and the gas permeability.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/78753
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
4970410021_2550.pdfวิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม (Full Text)1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.