Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79569
Title: การตรวจจับโรคมะเร็งตับโดยการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสี ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ
Other Titles: Non-enhanced magnetic resonance imaging for detection of hepatocellular carcinoma in cirrhosis patients receiving hepatocellular carcinoma surveillance
Authors: หัตถกาญจน์ นวดุรงค์
Advisors: รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ
สมบัติ ตรีประเสริฐสุข
รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Subjects: ตับ -- มะเร็ง -- การวินิจฉัย
ตับแข็ง
การสร้างภาพด้วยแมกเนติกเรโซแนนซ์
Liver -- Cancer -- Diagnosis
Liver -- Cirrhosis
Magnetic resonance imaging
Issue Date: 2564
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความสามารถในการตรวจจับโรคมะเร็งตับของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีเทียบกับอัลตราซาวด์ ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคตับแข็งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับด้วยอัลตราซาวด์แล้วพบว่ามีความผิดปกติ จำนวน 465 ราย ซึ่งได้รับการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่มีสารทึบรังสี โดยรังสีแพทย์ 2 ท่านแปลผลภาพถ่ายรังสีคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสี ซึ่งประกอบด้วย T1-weighted, T2-weighted และ diffusion-weighted imaging (DWI) วินิจฉัยโรคมะเร็งตับจากการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่มีสารทึบรังสีและหรือพยาธิวิทยาของก้อนมะเร็งตับ ศึกษาความไว ความจำเพาะ ค่าการคาดหมายที่เป็นบวกและลบ ความแม่นยำของการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งสิ้น 465 ราย พบก้อนมะเร็งตับจำนวน 217 ก้อน ในผู้ป่วย 138 ราย พบว่าคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีมีความไวน้อยกว่าอัลตราซาวด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความไวต่อผู้ป่วยของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 68.8% และ 81.1%, p=0.02 ตามลำดับ และความไวต่อรอยโรคของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 49.7% และ 41.4%, p=0.1 ตามลำดับ คลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีมีความจำเพาะต่อผู้ป่วยและต่อรอยโรคมากกว่าอัลตราซาวด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โคยความจำเพาะต่อผู้ป่วยของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 92.9% และ 62%, p<0.05 ตามลำดับ และความจำเพาะต่อรอยโรคของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 94.6% และ 75.4%, p<0.05 ตามลำดับ สรุป: คลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีมีความจำเพาะมากกว่าอัลตราซาวด์ ในการตรวจจับโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยโรคตับแข็ง สามารถนำมาใช้ในตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งได้
Other Abstract: Objective: We aimed to compare the performance of non-enhanced magnetic resonance imaging (MRI) and ultrasonography for hepatocellular carcinoma (HCC) detection specifically in cirrhotic patients. Method: We enrolled 465 cirrhotic patients who underwent ultrasonography for HCC surveillance and gadoxetic acid enhanced MRI for evaluation abnormal findings on ultrasonography. HCC was diagnosed by radiologically using the dynamic contrast-enhanced MRI and/or histologically. Non-enhanced MRI images consisting of T1-weighted, T2-weighted and diffusion-weighted imaging (DWI) were independently interpreted by 2 radiologists. Sensitivity, specificity, positive predictive value (PPV), negative predictive value (NPV), and accuracy of non-enhanced MRI and ultrasonography were compared. Results: Of the 465 patients, 217 HCCs were diagnosed in 138 patients. Non-enhanced MRI and ultrasonography had per-patient sensitivities of 68.8% and 81.1%, p=0.02; with per-lesion sensitivities of 49.7% and 41.1%, for non-enhanced MRI and ultrasonography, p=0.1 Non-enhanced MRI had significantly higher per-patient and per-lesion specificities than ultrasonography (92.9% vs. 62% and 94.6% vs. 75.4%, p<0.001 both, respectively. Conclusion: Non-enhanced MRI has higher specificities than ultrasonography in detecting HCC in cirrhotic patients, but not higher in sensitivity. It has a potential to be used as a tool for HCC surveillance in cirrhotic patients.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: อายุรศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/79569
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.1164
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2021.1164
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6370114230.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.