Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80202
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorประพันธ์ คูชลธารา-
dc.contributor.authorพิชชาภา จันทร์อ้น-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2022-07-23T05:25:56Z-
dc.date.available2022-07-23T05:25:56Z-
dc.date.issued2564-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/80202-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2564-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลจากชานอ้อยและเอทานอลในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งที่ความดันบรรยากาศ โดยทำการศึกษาผลของอุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา ผลของปริมาณเอทานอลในสารร่วมแกซิฟาย และผลของตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/MgO/Al2O3 ที่มีผลต่อองค์ประกอบของแก๊สสังเคราะห์ จากการทดลองพบว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิที่ 800 องศาเซลเซียส สามารถให้ผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์มากที่สุดในกรณีที่ไม่มีสารเติมแต่ง และตัวเร่งปฏิกิริยา เมื่อเพิ่มปริมาณเอทานอลในสารร่วมแกซิฟายจะพบว่าส่งผลเชิงบวกต่อผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์ โดยมีไฮโดรเจน คาร์บอนมอนอออกไซด์ และมีเทน เป็นองค์ประกอบหลักและส่งผลให้คุณภาพของแก๊สสังเคราะห์ดีขึ้น แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นทุนในการผลิตพบว่าปริมาณเอทานอลร้อยละ 10 โดยปริมาตร เหมาะสมที่สุด ดังนั้นเอทานอลจากกระบวนการหมักชีวมวลที่ไม่ผ่านกระบวนการกลั่นให้บริสุทธิ์สามารถนำมาใช้ร่วมในกระบวนการได้ นอกจากนี้พบว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา NiO/MgO/Al2O3 ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสลายตัวของทาร์และเพิ่มผลได้ของแก๊สผลิตภัณฑ์มากขึ้น-
dc.description.abstractalternativeSyngas production from catalytic co-gasification of biomass from bagasse and ethanol was investigated in a fixed-bed reactor at atmospheric pressure. The effects of the reaction temperature, ethanol content in gasifying agent and NiO/MgO/Al2O3 on gas composition were studied. The results indicated that when increasing the temperature to 800 ° C, the greatest yield of producer gas in the absence of additive and catalyst was found. It was found that the addition of ethanol in co-gasification with bagasse gave a positive effect on the yield of producer gas consisting of hydrogen, carbon monoxide and methane. From the economic point of view, addition of 10% ethanol by volume would be the most suitable. Therefore, ethanol solution before purification from biomass fermentation can be used in the co-gasification. Furthermore, the presence of NiO/MgO/Al2O3 catalyst can enhance the decomposition of tar and increase the yield of producer gas.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2021.443-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.titleการผลิตแก๊สสังเคราะห์จากแกซิฟิเคชันร่วมเชิงเร่งปฏิกิริยาของชีวมวลและเอทานอล-
dc.title.alternativeSyngas production from catalytic co-gasification of biomass and ethanol -
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2021.443-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6280043220.pdf4.77 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.